โดโรเทอา แอคส์เลเบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโรเทอา แอคส์เลเบิน
เกิดโดโรเทอา คริสทีอาเนอ เลโพรีน (Dorothea Christiane Leporin)
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715(1715-11-13)
เควดลินบวร์ค ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เสียชีวิต13 มิถุนายน ค.ศ. 1762(1762-06-13) (46 ปี)
เควดลินบวร์ค ราชอาณาจักรปรัสเซีย
การศึกษามหาวิทยาลัยฮัลเลอ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาแพทยศาสตร์
มีอิทธิพลต่อเลารา บัสซี

โดโดรเทอา คริสทีอาเนอ แอคส์เลเบิน (เยอรมัน: Dorothea Christiane Erxleben; 13 พฤศจิกายน 1715 – 13 มิถุนายน 1762) เป็นแพทย์ชาวเยอรมัน ผู้ถือปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตที่เป็นสตรีคนแรกในเยอรมนี

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

โดโรเทอาเกิดเมื่อ 13 พฤศจิกายน 1715 ในเมืองเควดลินบวร์ค เยอรมนี บิดาคือคริสทีอัน โพลีคาร์พ เลโพรีน (Christian Polycarp Leporin) เป็นแพทย์หัวก้าวหน้าในเมือง[1][2] บิดาของเธอสังเกตว่าเธอมีความโดดเด่นในโรงเรียนมาตั้งแต่แรกเริ่มและส่งเธอเข้าเรียนวิชาภาษาละติน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ คู่กับพี่/น้องชาย โทบีอัส (Tobias) บิดาของเขาเคยกล่าวเกี่ยวกับผลการเรียนของเธอว่า ความสามารถของสตรีที่มีพรสวรรค์นั้นต้องมาสูญเปล่าในครัว แนวคิดใหม่ ๆ ของยุคแห่งการตื่นรู้ได้รับการยอมรับในครอบครัวของเธอ ทำให้โดโรเทอาได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดเทียบเท่ากับพี่/น้องชายของเธอ โทบิอัสวางแผนจะเข้าเรียนแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮัลเลอ โดโรเทอาจึงตามไปศึกษาเช่นกัน ในเวลานั้น สตรีจะต้องได้รับคำอนุญาตเป็นพิเศษเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย บิดาของเธอได้ยื่นถวายฎีกาแด่พระเจ้าฟรีดริชมหาราชและได้รับพระราชานุญาตให้เธอเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฮัลเลอได้

การเรียนแพทย์และแต่งงาน[แก้]

โดโรเทอาได้รับทั้งคำชื่นชมและเสียงวิจารณ์ โยฮัน เรทิอุส (Johann Rhetius) นักเขียนจุลสาร กล่าวอ้างว่าสตรีไม่สามารถประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้นการเข้ามาเรียนเพื่อได้รับปริญญาในสาขานี้จึงเป็นการเสียเวลาเป็นอันมาก โดโรเทอาได้เขียนข้อเขียนต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกรวบรวมมาตีพิมพ์ในปี 1742 เป็นหนังสือชื่อ "การตรวจสอบโดยละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุซึ่งป้องกันมิให้เพศสตรีได้เรียนหนังสือ" (A Thorough Inquiry into the Causes Preventing the Female Sex from Studying) ซึ่งระบุว่าเยอรมนีควรจะได้รับประโยชน์จากความสามารถของประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศ

แม้จะได้รับเข้าศึกษา แต่โดโรเทอาได้เลื่อนการศึกษาออกไปด้วยวัย 26 ปี เพื่อแต่งงานกีบโยฮัน คริสทีอัน แอคส์เลเบิน (Johann Christian Erxleben) พ่อหม้ายลูกห้าคน การแต่งงานเป็นไปโดยราบรื่น และโดโรเทอายังมีลูกกับโยฮันเพิ่มอีกสี่คน แม้จะมีภาระในการดูแลลูกรวมเก้าคน แต่เธอก็ยังคงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ต่อด้วยความเร็วที่ช้ากว่าคนอื่น

เลารา บัสซี แพทย์และนักวิชาการชาวอิตาลี มีอิทธิพลอย่างมากต่อเธอ บัสซีเป็นสตรีคนแรกของโลกที่ได้เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งคือมหาวิทยาลัยโบโลญญา

อาชีพการงาน[แก้]

บ้านของโดโรเทอาในเควดลินบวร์คที่เธออาศัยและทำงาน

ในปี 1747 บิดาของเธอเสียชีวิต และสุขภาพของสามีเริ่มเสื่อมถอย ทำให้ครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สิน โดโรเทอาจึงเริ่มประกอบวิชาชีพแพทย์ในเควดลินบวร์คแม้จะยังไม่มีวุฒิ เธอได้รับความเคารพอย่างสูงในเควดลินบวร์ค กระนั้น แพทย์ในเมืองบางคนรู้สึกว่าสถานะครองตลาดของตนถูกคุกคามจึงทำการฟ้องร้องโดโรเทอาในข้อหาว่าเธอเป็นหมอเถื่อน ข้อฟ้องร้องนี้ถูกส่งผ่านศาลต่าง ๆ และไปถึงกษัตริย์เฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียในเดือนมกราคม 1754 ผู้ตัดสินว่าโดโรเทอาจะต้องผ่านการสอบและยื่นวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยฮัลเลอให้เสร็จสิ้นก่อน เธอจึงยอมรับและปฏิบัติตามนั้น

วิทยานิพนธ์จบการศึกษาของเธอชื่อว่า ว่าด้วยการรักษาที่รวดเร็วและเป็นสุข แต่เป็นผลให้การรักษาไม่เต็มกำลัง (Concerning the Swift and Pleasant but for that Reason less than Full Cure of Illnesses) ซึ่งเธอระบุว่าแพทย์ทำการรักษาเร็วเกินไป นำไปสู่การให้การรักษาที่ไม่จำเป็น และเสนอแนะให้มีการใช้ยาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และให้มีการใช้ยาด้วยขนาดที่ถูกต้อง วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ของเธอแพร่หลายไปทั่วเยอรมนีโดยเฉาพะในบรรดาสตรีที่มีปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้เธอยังให้แปลวิทยานิพนธ์นี้จากภาษาละตินเป็นเยอรมนัเพื่อให้เข้าถึงคนที่ยากไร้ด้วย

โดโรเทอาได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตในวันที่ 12 มิถุนายน 1754[3] เป็นสตรีคนแรกของเยอรมนีที่ได้รับปริญญานี้ เธอกลับมาประกอบวิชาชีพแพทย์ในเควดลินบวร์คจนวาระสุดท้าย เธอเสียชีวิตในวันที่ 13 มิถุนายน 1762[4]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

เป็นเวลาเกือบ 150 ปี ไม่มีสตรีคนไหนอีกในเยอรมนีที่เป็นแพทย์ กระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเริ่มมีสตรีเข้าเรียนแพทย์อีกครั้ง นอกจากนี้ โดโรเทอายังเป็นคนแรก ๆ ในแง่ของแนวคิดการใช้ยาระงับปวดและการใช้ยาอย่างเหมาะสม มีการตั้งคลินิกและมูนิธิภายใต้ชื่อของเฌอในปี 1987 และไปรษณีย์เยอรมนีได้ออกดวงตราไปรษณียากรราคา 60 เฟ็นนิช (pfennig) รูปเธอในฐานะส่วนหนึ่งของชุดสตรีในประวัติศาสตร์เยอรมนี

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2015 กูเกิลฉลองวันเกิด 500 ปีของเธอด้วยกูเกิลดูเดิล

อ้างอิง[แก้]

  1. Weishaupt, Marina (7 March 2022). "Deutschlands erste Ärztin: Wer war Dorothea Christiana Erxleben?". National Geographic Deutschland (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-26.
  2. Markau 2006, p. 10.
  3. Rückert, Ulrike (13 November 2015). "Dorothea Erxleben: Deutschlands erste Ärztin". Deutschlandfunk Kultur (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-26.
  4. Markau 2006, p. 35.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Ludwig, H. (September 2012). "Dorothea Christiana Erxleben (1715–1762): Erste promovierte Ärztin in Deutschland". Der Gynäkologe. 45 (9): 732–734. doi:10.1007/s00129-012-3031-8.
  • Bolter, Christina (December 2002). Dorothea Erxleben: Eighteenth-Century Role Model for Today's Working Parent (วิทยานิพนธ์). hdl:10125/7060.