ข้ามไปเนื้อหา

โดมเกลือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลักษณะทางธรณีวิทยาของโดมเกลือ (สีน้ำเงิน) ทางตอนเหนือของเยอรมนี

โดมเกลือ คือลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นเกลือหิน ที่เกิดจากการที่ชั้นเกลือมีความหนาแน่นต่ำ (1.8 - 2.1 ตันต่อลูกบาศก์เมตร) ในขณะที่ชั้นหินที่ปิดทับมีความหนาแน่นสูงกว่า (2.5 - 2.7 ตันต่อลูกบาศก์เมตร) จึงเกิดความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่างมวลทั้งสองขึ้น ดังนั้นมวลเกลือจึงสามารถดันตัวเองให้ลอยขึ้นมา ชั้นเกลือหินมีแรงมากระทำ ทำให้มีการไหลของเกลือและปูดขึ้นตามแนวแตกของชั้นหินที่กดทับเกิดเป็น “เนินเกลือ” , “โดมเกลือ” หรือ “แท่งเกลือ” ขนาดต่างๆ ได้ในหลากหลายพื้นที่ และจากการเจาะสำรวจพบว่าแท่งเกลือบางแห่งทางตอนกลางแอ่งโคราชมีความสูงถึง 1 กิโลเมตรจากระดับชั้นเกลือเดิม