โซนีเซ็นเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โซนี่เซ็นเตอร์ คือกลุ่มอาคารที่จตุรัสพ็อทซ์ดัม ย่านสวนสัตว์เขตเทศบาลเบอร์ลินตอนกลาง อาคารหนึ่งใน 7 อาคารล้ำสมัยที่ตั้งตรงข้ามกับฟิลฮาร์โมนีที่เคมเพอร์พลัทส์เคยเป็นสำนักงานใหญ่ทวีปยุโรปของโซนี่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานที่เยอรมนี

ประวัติ[แก้]

สถาปนิก เฮลมุท ยาห์น ผู้บริหารบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์นที่เมืองชิคาโกร่วมกับโซนี่เซ็นเตอร์ออกแบบกลุ่มอาคารรวม 7 อาคาร บนที่ดินขนาดประมาณ 26,000 ตรม.ในเขตเทศบาลเบอร์ลินกลาง ใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ปำ.ศ.2543 ได้มีการเปิดตัวส่วนสันทนาการที่อยู่ตรงกลาง ส่วนอื่นๆของกลุ่มอาคารทั้งหมดเปิดตัววันที่ 14 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2543 โซนี่เซ็นเตอร์มีลักษณะตัวอาคารที่ตั้งเป็นรูป 3 เหลี่ยม เพื่อเป็นสถานที่สำหรับอาคารสำนักงาน ที่พักอาศัยและสันทนาการ ข้างกันกับอาคารสูง 3 อาคารที่จตุรัสพ็อทซ์ดัมแห่งนี้ ตรงปลายของมุมทั้งสามนี้ยังเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานบริษัทรถไฟ(Bahntower) ที่มีความสูง 103 เมตร

มูลค่าเงินลงทุนรวมของโซนี่เซ็นเตอร์ประเมินอยู่ที่ 750 ล้านยูโร ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ปีพ.ศ. 2540 จนถึง21 กุมภาพันธ์ ปีพ.ศ. 2544 มีมิวสิคบ็อกซ์(Music Box) วันที่ 31 มีนาคม ปีพ.ศ. 2550 มีการเปิดตัวเลโก้แลนด์ ดิสคัฟเวอรี่ เซ็นเตอร์(Legoland Discovery Center) วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551โซนี่เซ็นเตอร์ถูกขายด้วยมูลค่าสินเชื่อจำนวนนี้ให้กับกลุ่มลงทุนจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ในช่วงสิบปีนี้มูลค่าไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง ถึงแม้จะค่อนข้างลดลงจากภาวะเงินเฟ้อ วันที่ 21พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีการเปลี่ยนเจ้าของ กลุ่มลงทุนมอร์แกน สแตนลี(Morgan Stanley) ขายโซนี่เซ็นเตอร์ให้กับกองทุนเงินบำนาญแห่งชาติ(National Pension Service) ของเกาหลีใต้ เป็นจำนวนเงิน 570 ล้านยูโร

ในปี 2017 บริษัทเจ้าของโซนี่เซ็นเตอร์ได้ขายต่อในรูปแบบการขายหุ้นให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ประเทศแคนาดาชื่อออกซฟอร์ดพร็อพเพอร์ตี(Oxford Properties)(บริษัทลูกของกองทุนเงินบำนาญของรัฐสำหรับพนักงานท้องถิ่นจังหวัดโทรอนโต)และบริษัทจัดการลงทุนในนิวยอร์ก เมดิสัน อินเตอร์เนชันแนล เรียลตี(Madison International Realty) ในมูลค่า 1.1 พันล้านยูโร

ในส่วนที่เคยเป็นโรงแรมเอสพลานาดที่ตั้งเลขที่ 1 ถนนบูเลอวูนั้นเป็นที่พักอาศัยมีผู้ถือครองโดยมีการบริหารแยกจากส่วนอื่นๆของโซนี่เซ็นเตอร์ จึงส่งผลให้ไม่ถูกขายไปพร้อมกับส่วนอื่นๆ มีทางเข้า 3 ทางและมี 11 ชั้น แต่ละห้องมีเจ้าของถือครองส่วนตัว

สถาปัตยกรรม[แก้]

การรวมตัวกันของการก่อสร้างหลักที่เป็นเหล็กและกระจกรวมถึงสภาทรงรีที่กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เมืองที่เปิดเป็นสาธารณะและไม่ถูกแบ่งจากถนนที่ตั้งอยู่ โครงสร้างหลังคาแสดงถึงผลงานทางวิศวกรรมที่น่าประทับใจ หลังคาเต็นท์ลักษณะกระจายตัวทำจากแผ่นผ้าถูกขึงยึดให้ติดกันด้วยวงแหวนเหล็ก ที่ปกคลุมตัวอาคารต่างๆที่ตั้งอยู่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่สำคัญของญี่ปุ่นซึ่งก็คือภูเขาไฟฟูจิอันศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของญี่ปุ่นแล้วเทพเจ้า(Kami)อาศัยอยู่บนภูเขา แต่เพราะเบอร์ลินไม่มีภูเขา โซนี่เซ็นเตอร์จึงถูกสร้างให้เป็นที่อยู่อาศัยจำลองให้กับเทพเจ้า เพื่อที่จะได้คุ้มครองโซนี่ในเขตทวีปยุโรปด้วย หลังคาถูกสร้างโดยบริษัทก่อสร้างเหล็กสัญชาติออสเตรียวากเนอร์-บิโร(Waagner-Biro)

ส่วนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ของโรงแรมเอสพลานาดที่เป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์เป็นแกนกลางของโซนี่เซ็นเตอร์ ห้องโถงขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักถึง 1300 ตันได้รับการเคลื่อนย้ายด้วยขั้นตอนอันซับซ้อนออกไป 70 เมตร เพื่อขยายถนนพ็อทซ์ดัมเนื่องจากปริมาณการจราจรที่เปลี่ยนไป อีกส่วนหนึ่งที่เคยเป็นตัวอาคารของโรงแรมก็คือ ห้องรับประทานอาหารเช้าก็ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้เช่นกัน ห้องนี้ถูกจัดแบ่งเป็น 500 ส่วนและได้รับการเคลื่อนย้ายไปพร้อมกับห้องโถงไปก่อสร้างอีกครั้งที่โซนี่เซ็นเตอร์


ภาระที่ไม่ได้มีการเตรียมการล่วงหน้าในการก่อสร้างงานอนุรักษ์ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากตามมา ต้องสร้างโครงสร้างเพื่อรองรับกระจกที่มีความสูง 20 เมตร เพื่อคลุมด้านบนของส่วนอนุรักษ์ สะพานสร้างด้วยเทคนิคชั้นสูงที่ใช้งบประมาณมากถูกสร้างผ่านอาคารส่วนอนุรักษ์และนำไปสู่เอสพลานาดเรสิเดนซ์(Esplanade Residence)ที่สร้างใหม่และใช้เป็นอาคารพักอาศัยหรูหรา

ขนาด[แก้]

พื้นที่ใช้สอยในโซนี่เซ็นเตอร์ขนาดประมาณ 132,500 ตรม. แบ่งเป็นพื้นที่สำนักงานประมาณ 68,000 ตรม. ที่พักอาศัยรวมประมาณ 26,500 ตรม. โรงภาพยนตร์ประมาณ 17,500 ตรม. ศูนย์สันทนาการประมาณ 17,00 ตรม. พื้นที่สำหรับร้านค้าปลีกและร้านอาหารอีกประมาณ 8,100 ตรม.