โชวะ (1312–1317)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โชวะ
เมษายน ค.ศ. 1312 – มีนาคม ค.ศ. 1317
สถานที่ประเทศญี่ปุ่น
พระมหากษัตริย์จักรพรรดิฮานาโซโนะ
← ก่อนหน้า
โอโช
ถัดไป →
บุนโพ

โชวะ (ญี่ปุ่น: 正和) เป็นศักราชของญี่ปุ่นหลังศักราชโอโชและก่อนศักราชบุนโพ ช่วงเวลานี้กินเวลาหลายปีตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1312 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1317[1] ซึ่งจักรพรรดิผู้ครองราชย์ในช่วงเวลานี้คือจักรพรรดิฮานาโซโนะ (花園天皇)[2]

นิรุกติศาสตร์[แก้]

ชื่อศักราชนี้มาจาก Old Book of Tang ซึ่งเป็นหนังสือจีนคลาสสิกที่แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 941-945 หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถัง อักษรตัวแรกคือ โช (正) หมายถึง "ถูกต้อง ตรงไปตรงมา จริง"[3] ขณะที่อักษร 和 (วะ) หมายถึง "สันติภาพ" และอาจเล่นคำกับคำว่า วะ (倭) ซึ่งเป็นชื่อสมัยโบราณของญี่ปุ่น[4] ชื่อศักราชนี้ออกเสียงเหมือนกับศักราชโชวะของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ แต่ชื่อศักราชนั้นเขียนด้วยตัวอักษร 昭 ("มีชื่อเสียง") สำหรับคำว่าโช[5][6]

การเปลี่ยนศักราช[แก้]

  • 27 เมษายน ค.ศ. 1312 โชวะปีแรก (正和元年): ชื่อศักราชใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงเหตุการณ์หรือชุดของเหตุการณ์ ศักราชก่อนหน้าสิ้นสุดลงและศักราชใหม่เริ่มขึ้นในปีโอโชที่ 2 เนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เหตุการณ์ในศักราชโชวะ[แก้]

ในขั้นต้น อดีตจักรพรรดิฟูชิมิบริหารราชสำนักตลอดระยะเวลาที่ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุ[7]

  • ค.ศ. 1313 (ปีโชวะที่ 2, เดือน 10): อดีตจักรพรรดิฟูชิมิโกนพระเกศาและพระเศียรของพระองค์ออกผนวชกลายเป็นพระภิกษุ ทำให้พระราชอำนาจในการบริหารราชสำนักของจักรพรรดิฮานาโซโนะซึ่งเป็นพระราชโอรสของอดีตจักรพรรดิฟูชิมิ ได้เปลี่ยนไปอยู่ที่พระราชโอรสของพระองค์ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของจักรพรรดิฮานาโซโนะคือ อดีตจักรพรรดิโกะ-ฟูชิมิ[8]
  • ค.ศ. 1314 (ปีโชวะที่ 3, เดือน 11): โฮโจ ซาดาอากิสิ้นสุดบทบาทของเขาในฐานะโรกูฮาระทันไดในเกียวโต; และเขากลับไปที่คามากูระ[9]
  • ค.ศ. 1315 (ปีโชวะที่ 4, เดือน 7): โฮโจ ฮิโรโตกิถึงแก่อสัญกรรมในคามากูระ; และในขั้นต้น โฮโจ ซาดาอากิ และโฮโจ โมโตโตกิใช้อำนาจร่วมกัน[9]
  • ค.ศ. 1315 (ปีโชวะที่ 4, เดือน 10): โฮโจ โทกิอัตสึดำรงตำแหน่งโรกูฮาระทันไดในเมืองหลวง[9]
  • ค.ศ. 1316 (ปีโชวะที่ 5, เดือน 7): โฮโจ โทกิอัตสึ ซึ่งเป็นบุตรชายของ โฮโจ ซาดาอากิ รับตำแหน่งชิกเก็ง; และโฮโจ โมโตโตกิออกจากตำแหน่งไปเป็นพระภิกษุ[9]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Shōwa" in Japan Encyclopedia, p. 888, p. 888, ที่ Google Books; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ archive.today.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 278-280; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 239-243.
  3. "The Stupid Way: Zazen Notes II - right posture". April 5, 2008.
  4. Guo, Rongxing (May 16, 2018). Human-Earth System Dynamics: Implications to Civilizations. Springer. ISBN 9789811305474 – โดยทาง Google Books.
  5. "Collections Online | British Museum". www.britishmuseum.org.
  6. "War Responsibility and Historical Memory: Hirohito's Apparition". The Asia-Pacific Journal: Japan Focus.
  7. Varley, p. 241.
  8. Titsingh, p. 279.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Titsingh, p. 280.

อ้างอิง[แก้]