ข้ามไปเนื้อหา

โชติมาตรปรากฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โชติมาตรปรากฏ หรือ ความส่องสว่างปรากฏ (อังกฤษ: apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดระดับความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้โชติมาตรปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าโชติมาตรปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2)

ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นโชติมาตรปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าโชติมาตรปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น

ระดับของโชติมาตรปรากฏ
โชติมาตรปรากฏ วัตถุท้องฟ้า
-28.256 ดวงอาทิตย์
−12.6 ดวงจันทร์เต็มดวง
−4.4 ความสว่างสูงสุดของ ดาวศุกร์
−2.8 ความสว่างสูงสุดของ ดาวอังคาร
−1.5 ดวงดาวที่สว่างที่สุดในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น: ดาวซิริอุส
−0.7 ดวงดาวที่สว่างเป็นอันดับสอง: ดาวคาโนปัส
0 ค่าศูนย์ เดิมเคยนิยามให้ใช้ค่าความสว่างของดาวเวกา
3.0 ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ในเมือง
6.0 ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
12.6 เควซาร์ที่สว่างที่สุด
27 ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 เมตรในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
30 ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
38 ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ OWL (อนาคตปี ค.ศ. 2020) ในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น

ดูเพิ่ม

[แก้]