โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ
หน้าตา
สำหรับจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ (อังกฤษ: Large-scale structure) หมายถึงคุณลักษณะการกระจายตัวที่สังเกตได้ของสสารและแสงในจักรวาลในระดับมหภาค (โดยมากในระดับที่วัดกันเป็นหน่วย พันล้านของปีแสง) การสำรวจท้องฟ้าและการจัดทำแผนที่โดยอาศัยช่วงคลื่นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่าง ๆ กันช่วยทำให้เราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะของโครงสร้างเอกภพ หากจะจัดลำดับชั้นของโครงสร้าง ระดับที่สูงที่สุดได้แก่ ซูเปอร์คลัสเตอร์ และ ใยเอกภพ ในระดับที่สูงกว่านี้ดูจะไม่มีโครงสร้างต่อเนื่องที่แน่ชัด ลักษณะเช่นนี้เรียกชื่อกันว่า จุดสิ้นสุดของความยิ่งใหญ่ (End of Greatness)[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Robert P Kirshner (2002). The Extravagant Universe: Exploding Stars, Dark Energy and the Accelerating Cosmos. Princeton University Press. p. 71. ISBN 978-0-691-05862-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แบบจำลองการก่อตัวของโครงสร้าง จาก Max Planck Institute of Astrophysics, Garching, Germany
- ภาพการรวมกลุ่มของดาราจักรในเอกภพยุคเริ่มแรก เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกล้องฮับเบิล VLT และกล้องสปิตเซอร์