ข้ามไปเนื้อหา

แอ็บบา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอ็บบ้า)
แอ็บบา (ᎪᗺᗷᎪ)
แอ็บบาในปี 1974 (จากซ้าย) เบนนี อันเดอซัน, อันนี-ฟริด ลิงสตัด (ฟรีดา), อังเนียตา เฟ็ลต์สกูก และ บยอร์น อุลเวียส
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อบยอร์น & เบนนี, อังเนียตา & อันนี-ฟริด (ฟรีดา) (1972–1973)
ที่เกิดสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ช่วงปี
  • 1972–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
เว็บไซต์abbasite.com

แอ็บบา (ABBA; /ˈæbə/ ab, ภาษาสวีเดน: [ˈâbːa]) เป็นวงดนตรีป็อปสัญชาติสวีเดน ตั้งวงขึ้นในสต็อกโฮล์มเมื่อปี 1972 โดยอังเนียตา เฟ็ลต์สกูก, บยอร์น อุลเวียส, เบนนี อันเดอร์สซัน และ อันนิ-ฟริด ลิงสคัด ชื่อวงมาจากอักษรย่อ จากอักษรแรกของชื่อสมาชิกแต่ละคน แอ็บบาเป็นวงดนตรีหนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเชิงพาณิชย์วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรีป็อป มีผลงานเพลงอยู่บนอันดับต้น ๆ ของชาร์ตมาตลอดตั้งแต่ปี 1974 ถึง 1983 ในปี 1974 แอ็บบาเป็นวงดนตรีชาวสวีเดนวงแรกที่ชนะยูโรวิชั่น ซึ่งชนะด้วยผลงานเพลง "วอเตอร์ลู" เพลงซึ่งในปี 2005 ได้รับเลือกให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันยูโรวิชั่นเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการประกวด[4]

ในช่วงปีซึ่งวงดำเนินผลงานอยู่หลัก ๆ นั้นประกอบด้วยคู่สมรสสองคู่: เฟ็ลต์สกูก กับ อุลเวียส และ ลิงสตัด กับ อันเดอร์สซัน แต่ด้วยความนิยมในวงที่สูงขึ้นอย่างมาก ชีวิตส่วนตัวของสมาชิกก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนในที่สุดทำให้ทั้งสองคู่เลิกรากัน การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์นี้ต่อมาสะท้อนผ่านในผลงานเพลงที่เปลี่ยนในยุคหลัง ๆ ซึ่งมีเนื้อร้องที่มืดแและออกไปทางการใคร่ครวญตนเอง[5] หลังการยุบวง อันเดอร์สซันและอุลเวียสประสบความสำเร็จในสายงานแต่วดนตรีสำหรับการแสดงบนเวที[6][7] ส่วนลิงสตัดกับเฟ็ลต์สกูกยังคงดำเนินหน้าสายงานแสดงเดี่ยว[8][9]

สิบปีหลังการยุบวง อัลบัมรวมเพลง แอ็บบาโกลด์ ได้ถูกปล่อยออกมาและกลายเป็นอัลบัมขายดีทั่วโลก ในปี 1999 ดนตรีของแอ็บบาถูกนำไปใช้ในละครดนตรีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงไปทั่วโลก มามามิอา! และภาพยนตร์ปี 2008 ในชื่อเดียวกัน ก็เป็นภาพยนตร์ที่มีรายได้สูงสุดในสหราชอาณาจักรประจำปี ภาพยนตร์ภาคต่อ มามามิอา เฮียร์วีโกอะเกน ปล่อยในอีก 10 ปีให้หลังในปี 2018 ที่ซึ่งปีเดียวกันวงแอ็บบามีรายงานว่ากำลังอัดเพลงใหม่จำนวนสองเพลงหลังขาดการเคลื่อนไหวมาเป็นเวลากว่า 35 ปี[10][11]

แอ็บบาเป็นศิลปินดนตรีที่ขายดีที่สุดในโลกวงหนึ่ง ด้วยผลงานเพลงถูกจำหน่ายไปประมาณ 200 ล้านฉบับทั่วโลก[12] ในปี 2012 แอ็บบาได้รับการจัดอันดับอยู่ที่แปดสำหรับศิลปินที่ขายดีที่สุดในสหราชอาณาจักรด้วยยอดจำหน่ายซิงเกิลสูงถึง 11.2 ล้านแผ่น[13] และได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลในปี 2010 และในปี 2015 เพลง "Dancing Queen" ได้รับการยอมรับโดยเรเคิดดิงอะคาเดมีให้เป็นเพลงในหอเกียรติยศแกรมมี[14]

ผลงานเพลง

[แก้]
สตูดิโออัลบัม

ทัวร์การแสดงดนตรี

[แก้]
  • 1973: สวีดิชโฟล์กพาร์คทัวร์
  • 1974–1975: ทัวร์ยุโรป
  • 1977: ทัวร์ยุโรปและออสเตรเลีย
  • 1979–1980: แอ็บบา: เดอะทัวร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "An Aussie / ABBA Love Doc is a Case Study in 'How Local Can Trump Global.' PLUS: Screen Australia's $15+ Million for Docs - DocumentaryTelevision.com". Documentarytelevision.com. 27 March 2013. สืบค้นเมื่อ 2016-08-29.
  2. We're still thinking ABBA for the music, 40 years after Eurovision Telegraph
  3. Moskowitz, David V. (31 October 2015). The 100 Greatest Bands of All Time: A Guide to the Legends Who Rocked the World. GREENWOOD Publishing Group Incorporated. p. 1. ISBN 978-1440803390.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 50th
  5. Comments about this period start around time 1:10. YouTube.com (30 July 2013). Retrieved 19 April 2014.
  6. "Benny Andersson". Biography.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
  7. "Björn Ulvaeus". Biography.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
  8. "Agnetha Fältskog". Biography.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
  9. "Anni-Frid Lyngstad". Biography.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
  10. "ABBA Reunite, Announce New Songs". pitchfork.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-27. สืบค้นเมื่อ 29 April 2018.
  11. "@abbaofficial on Instagram: #abbaofficial #abba". Instagram. สืบค้นเมื่อ 29 April 2018.
  12. Trauth, Beti (28 February 2012). "ABBA music enhances 'Mamma Mia!' at the Van Duzer". Times-Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
  13. Lauren, Kreisler (4 June 2012). "The Official Singles Charts' biggest selling artists of all time revealed!". Official Charts Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  14. "GRAMMY Hall Of Fame Class Of 2015". 16 December 2014.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Palm, Carl Magnus (2001). Bright Lights, Dark Shadows: The Real Story of ABBA. London: Omnibus. ISBN 978-0-7119-8389-2.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • "ABBA – 5 Years". Billboard. 8 September 1979. pp. 23–46.
  • Benny Andersson, Björn Ulvaeus, Judy Craymer: Mamma Mia! How Can I Resist You?: The Inside Story of Mamma Mia! and the Songs of ABBA. Weidenfeld & Nicolson, 2006
  • Carl Magnus Palm. ABBA – The Complete Recording Sessions (1994)
  • Carl Magnus Palm (2000). From "ABBA" to "Mamma Mia!" ISBN 1-85227-864-1
  • Elisabeth Vincentelli: ABBA Treasures: A Celebration of the Ultimate Pop Group. Omnibus Press, 2010, ISBN 9781849386463
  • Oldham, Andrew, Calder, Tony & Irvin, Colin (1995) "ABBA: The Name of the Game", ISBN 0-283-06232-0
  • Potiez, Jean-Marie (2000). ABBA – The Book ISBN 1-85410-928-6
  • Simon Sheridan: The Complete ABBA. Titan Books, 2012, ISBN 9781781164983
  • Anna Henker (ed.), Astrid Heyde (ed.): Abba – Das Lexikon. Northern Europe Institut, Humboldt-University Berlin, 2015 (German)
  • Steve Harnell (ed.): Classic Pop Presents Abba: A Celebration. Classic Pop Magazine (special edition), November 2016

สารคดี

[แก้]
  • A for ABBA. BBC, 20 July 1993
  • Thierry Lecuyer, Jean-Marie Potiez: Thank You ABBA. Willow Wil Studios/A2C Video, 1993
  • Barry Barnes: ABBA − The History. Polar Music International AB, 1999
  • Chris Hunt: The Winner Takes it All − The ABBA Story. Littlestar Services/lambic Productions, 1999
  • Steve Cole, Chris Hunt: Super Troupers − Thirty Years of ABBA. BBC, 2004
  • The Joy of ABBA. BBC 4, 27 December 2013 (BBC page)
  • Carl Magnus Palm, Roger Backlund: ABBA – When Four Became One. SVT, 2 January 2012
  • Carl Magnus Palm, Roger Backlund: ABBA – Absolute Image. SVT, 2 January 2012
  • ABBA – Bang a boomerang. ABC 1, 30. Januar 2013 (ABC page)
  • ABBA: When All Is Said and Done, 2017
  • Thank you for the music . Sunday Night (7 News), 1 October 2019

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Commons+cat