ข้ามไปเนื้อหา

ตัวเอกปฏิลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอนตีฮีโร)
ดอนกิโฆเต้ เป็นตัวอย่างของ ตัวเอกปฏิลักษณ์ ของวรรณกรรมคลาสสิก

ในงานประพันธ์ คำว่า ตัวเอกปฏิลักษณ์[1] (อังกฤษ: antihero) มีความหมายถึง ตัวละครตัวเอกที่อย่างน้อยขาดคุณสมบัติของผู้กล้า อาจเคยเกี่ยวข้องกับด้านชั่วร้ายที่เห็นได้อย่างชัดเจนกับลักษณะบุคคลที่เป็นตัวอย่าง และในบางกรณีมีความขัดแย้งกัน คำคำนี้มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1714[2] ถึงแม้จะมีบทวิจารณ์วรรณกรรมว่า มีคำอุปมาอุปไมยในวรรณกรรมก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม[3]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ในยุคใหม่ ตัวเอกจะมีความสลับซับซ้อนด้านพฤติกรรมเพิ่มขึ้นมาก ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ผู้เขียนบทอย่าง แซมูเอล เบกเกต และทอม สตอปพาร์ด ได้แสดงให้เห็นตัวเอกปฏิลักษณ์ที่ขาดอัตลักษณ์และความมุ่งมั่น เรื่องสั้นและเรื่องราวสืบสวนแนวนัวร์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 อย่างตัวละครเช่น แซม สเปด ที่เป็นตัวละครที่ขาดความเปล่งปลั่งและรูปลักษณ์ของความเป็นวีรบุรุษ ก็เป็นที่โด่งดังขึ้นมา ในหนังสือการ์ตูนยุคแรกก็มีตัวละครในลักษณะตัวเอกปฏิลักษณ์อย่างเช่น แบทแมน (ที่มีความลึกลับ แตกต่างจากตัวเอกที่เปิดเผยอย่าง ซูเปอร์แมน) และนามอร์ (ที่ต้องการเพียงแค่ความเป็นมนุษย์)[4] ส่วนตัวละครแอนตีฮีโรที่แพร่หลายที่สุดของมาร์เวล อาจพูดได้ว่าคือ พันนิชเชอร์ ที่มีมากกว่าความตั้งใจที่จะฆ่าใครที่เขาเห็นว่าสมควรตาย

ความนิยมในตัวเอกปฏิลักษณ์ยังคงมีต่อไปในบทประพันธ์สมัยใหม่ อาจเป็นเพราะเพื่อกระตุ้นสิ่งที่เต็มไปด้วยปัญหาและความบอบบางของมนุษย์ แตกต่างจากแม่แบบของคาวบอยหมวกขาวและวีรชน และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้อ่าน ผู้ดูได้มากขึ้น ความนิยมนี้เป็นตัวชี้บอกการปฏิเสธค่านิยมล้ำหน้าหลังจากวิวัฒนาการของวัฒนธรรมต่อต้านในคริสต์ทศวรรษ 1960[5]

ในยุคใหม่ คุณลักษณะของตัวเอก เหมือนกับในรูปแบบของ "อัศวินพิทักษ์ใจ" (Knight-errant) ที่มีความกล้าหาญอย่างแท้จริงในชีวิตและมีอำนาจที่ชอบธรรม ส่วนนักฆ่าพิทักษ์กฎหมาย (อาชญากรผู้โด่งดัง) ที่ดูลึกลับ ก็เป็นต้นแบบของตัวละครอย่างแบทแมน หรือในเดอร์ตีแฮร์รี ก็ค่อย ๆ กลายมาเป็นแนวความคิดของผู้กล้าที่ได้รับความนิยม[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999489.html
  2. Merriam-Webster's Collegiate Dictionary, Tenth Edition, 1994, p. 51, and Merriam-Webster Online
  3. Specifically, Don Quixote in 1605: Carson Newman College Literary Terms and Encyclopedia Britannica
  4. "Comics Should Be Good! » 365 Reasons to Love Comics #211". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-11. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  5. Erickson, Leslie (2004). "The Search for Self: Everyday Heroes and an Integral Re-Visioning of the Heroic Journey in Postmodern Literature and Popular Culture". Ph. D Dissertation. University of Nebraska. .
  6. Lawall G, (1966). "Apollonius' Argonautica. Jason as anti-hero". Yale Classical Studies. 19: 119–169.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)