แอกาธา บาร์บารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอกะธา บาร์บารา
ประธานาธิบดีมอลตาคนที่สาม
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ 1982 – 15 กุมภาพันธ์ 1987
นายกรัฐมนตรีดอม มินท็อฟ
คาร์เมนู มีฟซูด บอนนีชี
ก่อนหน้าแอลเบิร์ต ฮิซเลอร์ (รักษาการณ์); อันตอน บูททีเกียก
ถัดไปพอล ซูเรบ (รักษาการณ์); เกนซู ทาโบเน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม ค.ศ. 1923(1923-03-11)
ฮัซซับบาร์ อาณานิคมมอลตา
เสียชีวิต4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002(2002-02-04) (78 ปี)
ฮัซซับบาร์ ประเทศมอลตา
ที่ไว้ศพสุสานฮัซซับบาร์
พรรคการเมืองพรรคแรงงาน
รางวัล เครื่องราชแห่งชาติ
เหรียญฉลองเจ็ดสิบห้าปีการปกครองตนเองอีกครั้งของมอลตา
เหรียญฉลองสิบห้าปีเอกราชมอลตา
เครื่องราชเทือกเขาบอลข่านชั้นหนึ่ง
เครื่องราชธงชาติชั้นหนึ่ง
นีชาเนปากีสถาน

แอกาธา บาร์บารา (อังกฤษ: Agatha Barbara, KUOM, 11 มีนาคม 1923 – 4 กุมภาพันธ์ 2002)[1] เป็นนักการเมืองมอลตาจากพรรคแรงงาน อดีตผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมอลตา, อดีตสมาชิกรัฐสภามอลตาและอดีตรัฐมนตรี เธอเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมอลตา และยังเป็นสตรีที่เป็นสมาชิกรัฐสภายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองมอลตา

ก่อนจะเข้าสู่วงการการเมือง เธอเคยเป็นครูมาก่อน และต่อมาจึงเข้าร่วมกับพรรคแรงงานมอลตา โดยมีบทบาทอย่างมากในกิจกรรมของพรรค จนเธอขึ้นมาเป็นคณะกรรมการบริหารของพรรค นำฟากสตรีของพรรค รวมถึงยังสถาปนาขบวนการการเมืองของสตรีในมอลตาขึ้น[2]

เธอเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีของมอลตาคนแรกที่เป็นผู้หญิง และเป็นสตรีคนเดียวในคณะรัฐมนตรีจนถึงปลายทศวรรษ 1990 ที่ซึ่งโจวันนา เดโบโน เข้าสู่ตำแหน่ง เมื่อพรรคแรงงานก้าวเข้าสู่อำนาจในปี 1955 บาร์บาราได้รับมอบหมายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาโดยดอม มินท็อฟ ระหว่างปี 1955 ถึง 1958 ในตำแหน่งนี้ เธอได้ทำการปฏิรูปมากมาย เช่น กำหนดการศึกษาเต็มเวลาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กเป็นภาคบังคับ จัดตั้งสถาบันฝึกสอนครู โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ทำให้การศึกษาระดับมัธยมศึกษาสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่าย ตลอดจนจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์แก่เด็ก ๆ เมื่อปี 1958 ที่ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างมอลตากับสหราชอาณาจักรระหองระแหงลง มีการประท้วงเกิดขึ้นไปทั่วที่ซึ่งบาร์บาราก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย ความวุ่นวายจบลงที่การลาออกของมินท็อฟ ส่วนบาร์บาราถูกตัดสินลงโทษใช้แรงงานหนัก 43 วัน ต่อมาหลังรัฐบาลของมินท็อฟกลับสู่อำนาจอีกครั้งในปี 1971 เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีศึกษาอีกครั้ง ในวาระนี้เธอได้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากอายุ 14 ไปเป็น 16, มีการสถาปนาโรงเรียนช่าง และมีการกำหนดให้ยกเลิกค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย ต่อมาในปี 1974 เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแรงงาน วัฒยธรรม และสวัสดิการ ในตำแหน่งนี้เธอสามารถลดอัตราการว่างงาน ปรับเพิ่มค่าจ้างและปรับสภาพการทำงานให้ดีขึ้นสำหรับแรงงาน ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม กำหนดกฎหมายบังคับค่าจ้างเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง การให้ลาหยุดสำหรับคลอดลูกโดยได้รับค่าจเาง การกำหนดชั่วโมงทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสวัสดิการสำหรับผู้ว่างงานและเกษียณ รวมถึงยังตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขึ้นจำนวนหนึ่ง[3]

บาร์บาราไม่ได้สมรส นักเขียนชาวมอลตา-ออสเตรเลีย ยอเซฟ เชตชูที (Joseph Chetcuti) อ้างว่าบาร์บาราเป็นหญิงรักร่วมเพศในหนังสือปี 2009 ที่เขาเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบุคคลเพศหลากหลายในมอลตา คำกล่าวอ้างนี้วิเคราะห์จากบทสัมภาษณ์ในอดีตของเธอ[4] ส่วนในปี 2014 มีการเปิดเผยจดหมายที่กล่าวอ้างว่ามีเนื้อาห “โรแมนติก” ที่เธอส่งให้เดเร็ก บาร์นนิส (Derek Barnes) คนให้สัญญาณของราชนาวีที่ประจำการในมอลตาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จดหมายนี้ถูกนำมาเปิดเผยโดยพี่/น้องสาวของบาร์นนิส[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Profile of Agatha Barbara
  2. Torild Skard (2014) 'Agatha Barbara' 'Women of power - half a century of female presidents and prime ministers worldwide. Bristol: Policy Press ISBN 978-1-44731-578-0
  3. Torild Skard (2014) 'Agatha Barbara'
  4. Chetcuti, Joseph Carmel (2009). Queer Mediterranean Memories: Penetrating the secret history and silence of gay and lesbian disguise in the Maltese Archipelago. Carlton North, VIC, Australia: Lygon Street Legal Services. ISBN 9780646512792.
  5. Calleja, Claudia (3 August 2014). "Agatha Barbara and romantic Navy letters". Times of Malta. สืบค้นเมื่อ 11 March 2016.