แหวนนพรัตน์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แหวนนพรัตน เป็นเครื่องยศชนิดหนึ่งทำจากทองคำเนื้อสูงฝังนพรัตน์ แหวนนพรัตน์เป็นหนึ่งในเครื่องยศที่สำคัญมากและใช้สวมใส่ในงานมงคลเท่านั้น การพระราชทานแหวนนพรัตน์มายกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะได้มีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แทน
รูปแบบ
[แก้]รัชกาลที่ 4
[แก้]ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างดารานพรัตนมีเพียง 6 ดวง และทรงสร้างแหวนนพรัตน์พระราชทานแก่เจ้าพระยาชั้นหิรัญบัตรและเจ้าพระยาชั้นสุพรรณบัตรเท่านั้น (เจ้าพระยาเสนาบดี) รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานแหวนนี้ แก่พระราชวงษานุวงษ์หลายพระองค์ และเสนาบดีหลายนาย นับได้ทั้งหมด 20 วง
รัชกาลที่ 5
[แก้]ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ในครั้งแรกมีเพียง 9 สำรับรวมเครื่องต้น ส่วนแหวนคงไว้แต่การพระราชทานแก่พระบรมวงศ์ษานุวงศ์ระดับสูงเท่านั้น ต่อมากำหนดให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ 20 สำรับ ตามจำนวนแหวนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงสร้างขึ้น แบ่งเป็น สำหรับพระมหากษัตริย์ 1 สำรับ และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์อีก 19 สำรับ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ และให้มีตำแหน่งมหาสวามิศราธิบดี ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งนี้หรือทรงแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ดำรงตำแหน่งนี้ได้ รวมทั้ง พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่มีพระเกียรติยศใหญ่ โดยไม่นับรวมใน 20 สำรับข้างต้น
รัชกาลที่ 6
[แก้]เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาฯ ให้เพิ่มจำนวนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้อีก 7 สำรับ รวมเป็น 27 สำรับ เนื่องจากพระองค์ทรงดำริว่า พระสังวาลนพรัตน์ราชวราภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างขึ้นนั้น มีจำนวนเนาวรัตน์ดอกพระสังวาลสลับกัน 27 ดอก จึงสมควรกำหนดจำนวนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้เท่ากับจำนวนดอกพระสังวาลนั้น ซึ่งนับเป็นจำนวนของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
การใช้งาน
[แก้]ใช้ในงานพิธีที่เป็นมงคลก็จะนำมาสวมที่นิ้วชี้ทางขวาเพื่อประกอบกิจในงานมงคลนั้น ๆ เช่น เจิมให้แก่คู่บ่าวสาว วางศิลาฤกษ์ เป็นต้น