แมลงอุตสาหกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมลงอุตสาหกรรม
Fifth instar silkworm larvae.
สถานะการอนุรักษ์
Dom
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Lepidoptera
วงศ์: Bombycidae
สกุล: Bombyx
สปีชีส์: B.  mori
ชื่อทวินาม
Bombyx mori
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

Silkworm

แมลงอุตสาหกรรม หมายถึง แมลงที่ในช่วงของการดำเนินชีวิต มีการสร้างผลผลิตซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แมลงในกลุ่มนี้ประกอบด้วยแมลงหลายชนิดด้วยกัน เช่น ไหม ผึ้ง แมลงครั่ง รวมทั้งแมลงที่ถูกนำมาเป็นอาหารด้วย

ไหม[แก้]

ไหมที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx mori L. ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนในวงศ์ Bombycidae โดยแมลงในวงศ์นี้ในระยะตัวหนอนจะกินใบหม่อน (Morus sp.) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่มในวงศ์ Moraceae ในระยะดักแด้ตัวหนอนจะพ่นเส้นใยห่อหุ้มตัวในขณะที่พัฒนาเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งใยที่ห้อหุ้มตัวนี้ มีองค์ประกอบคือ sericin 25% และ fibroin 75% โดยที่มนุษย์สามารถนำเอาเส้นใยไหมนี้มาใช้ในการทอเป็นผืนผ้าที่ให้ความเงางามไหมที่เลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  • ไหมไทย - เป็นพันธุ์ที่มีการฟักออกเป็นตัวได้ตลอดปี (polyvoltine หรือ multivoltine) ลักษณะของรัง ยาวรี สีขาว มีขนาดเล็ก ความยาวของเส้นใยต่อรังต่ำ ไม่สามารถสาวด้วยเครื่องจักรได้ แต่มีความทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี
  • ไหมพันธุ์ต่างประเทศ - ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีการฟักออกปีละ2ครั้ง (bivoltine) เนื่องจากไข่ไหมมีการฟักตัว ลักษณะของรัง กลมหรือคอดกลางคล้ายฝักถั่วลิสง ขนาดใหญ่ รังแข็ง ส่วนใหญ่จะมีสีขาว ความยาวของเส้นใยต่อรังมาก เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงสามารถสาวเส้นด้วยเครื่องจักรได้ แต่ทนทานต่อโรค และสภาวะแวดล้อมในประเทศไทย มีน้อยกว่าพันธุ์ไทย
  • ไหมไทยลูกผสม - เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับพันธุ์ต่างประเทศ ให้ผลผลิตรังสูงกว่าพันธุ์ไทยแต่ด้อยกว่าพันธุ์ต่างประเทศ ลักษณะรัง ขนาดของรังและคุณภาพของรังจะดีขึ้นกว่าพันธุ์ไทยและลูกผสมที่ได้บางสายพันธุ์สามารถให้รังไหมที่สาวด้วยเครื่องจักรได้

ผลิตภัณฑ์จากไหม[แก้]

เส้นไหม คือเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากการดึงเส้นใยหลายๆ รังรวมกันเป็นเส้นเดียวกัน ที่เรียกว่า การสาวไหม ซึ่งกระบวนการสาวไหมทำให้เส้นใยที่มาจากแต่ละรังพันกันเป็นเกลียวและมีการยึดเกาะยึดซึ่งกันและกันมีความเหนียวทนทาน เนื้อกระชับแน่น

ผึ้ง[แก้]

ผึ้ง (honey bees) ผึ้งเป็นแมลงในวงศ์ Apidae ผึ้งที่สามารถเปลี่ยนรูปน้ำหวานจากดอกไม้ (nectar) มาเป็นน้ำผึ้ง(honey)ได้นั้นอยู่ใน genus.Apisซึ่งมีหลาย species แต่ที่นิยมนำมาเลี้ยงในหีบคือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifrea) ซึ่งเป็นผึ้งพันทางยุโรป และ แอฟริกา ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาผึ้งโพรง (Apis cerana)ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของเอเชียมาเลี้ยงในหีบบาง

การเลี้ยงผึ้ง[แก้]

การเลี้ยงผึ้ง คือการนำเอาผึ้งเข้าไปวางในแหล่งที่มีดอกไม้บาน มีน้ำหวานและเกสรในปริมาณมาก โดยพืชควรจะมีดอกหนาแน่น และบานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การเลี้ยงผึ้งนั้นมีวิธีการจัดการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเลี้ง คือ

  1. การเลี้ยงผึ้งเพื่อผสมเกสร เป็นการประยุกต์เอาวิธีการเลี้ยงผึ้งผนวกกับความรู้ด้านชีววิทยาของดอกไม้ที่ต้องการให้ผึ้งผสมเกสร เพื่อให้ผลผลิต พืชเป้าหมายสูงขึ้น โดยการจัดการให้ผึ้งลงตอมดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย ดอกสมบูรณ์เพศของพืชเป้าหมายตามขั้นตอนหรือกระบวนการผสมเกสร
  2. การเลี้ยงผึ้งเพื่อเก็บน้ำหวานและเกสรดอกไม้ ควรเลือกที่ตั้งรังผึ้งในบริเวณที่มีพืชพันธุ์ไม้ที่ออกดอก มีน้ำหวานและเกสรในปริมาณมากตลอดปี พืชออกดอกหนาแน่น และดอกบานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง[แก้]

น้ำผึ้ง คือของเหลวรสหวาน ซึ้งผึ้งผลิตขึ้นมาจากน้ำหวานจองดอกไม้หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ แล้วกลับมาสะสมมในรังผึ้ง ทำการบ่งจนของเหลวมีการเปลียนแปลงทางกายภาพและเคมี ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดีควรมีความหนืด มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งและดอกไม้ ตามแหล่งที่ได้มา ไม่มีฟองอันเกิดจากการบูด ไม่มีไขผึ้งหรือเศษตัวผึ้งปะปน ใส มีสีเหลืองอ่อนๆจนมีสีน้ำตาล

แมลงครั่ง[แก้]

แมลงครั่ง เป็นแมลงขนาดเล็กอยู่ในวงศ์ Kerridae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Laccifer lacca แมลงครั่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชอาหารแล้วปล่อยยางหรือชัน (resin) ออกมาห่อหุ้มตัวเองไว้จนมิด ครั่งตัวเมียมีรูปร่างเป็นถุงไม่มีขา รังมีลักษณะกลม ส่วนตัวผู้จะมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก รังมีลักษณะยาว ตัวผู้จะคลานจากรังมาผสมพันธุ์กับตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์จะวางไข่ในรัง

การเลี้ยงครั่ง[แก้]

การเลี้ยงครั่งคือการนำท่อนพันธุ์ครั่งไปผูกไว้บนต้นไม้ที่เหมาะสมเพื่อให้ครั่งตัวอ่อนเพิ่มปริมาณรังครั่ง

แมลงที่เป็นอาหาร[แก้]

ในประเทศไทยการกินแมลงพบได้ทุกส่วนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีการกินแมลงกันมานาน ด้วยวิถีชีวิตของทั้งสองภาคต้องอาศัยพึ่งพาป่าและธรรมชาติ การดำรงชีวิตประจำวันจะอาศัยของจากในป่าไม่ว่าเป็นไม้ที่ใช้การสร้างบ้านเรือน อาหารที่เป็นผักรวมทั้งแมลงเป็นวัฒนธรรมชาวบ้านแบบหนึ่งของชาวเหนือและชาวอีสาน โดยวัฒนธรรมนี้เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการค้นพบว่าแมลงชนิดใดที่สามารถนำมากินได้และมีวิธีการปรุงในรูปแบบใดจึงจะมีรสชาติที่ดี เช่น แมลงกินูน, แมลงดานา, มดแดงและไข่มดแดง ดักแด้ไหม แมลงกุดจี่, แมลงเม่า,จักจั่น และแมลงตับเต่า เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  • กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์. 2542. แมลงอาหารมนุษย์ในอนาคต. สถาบันแพทย์แผนไทย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 225 น.
  • ชาญชัย ถาวรอนุกูลกิจ และวิโรจน์แก้วเรือง. 2544. เลี้ยงไหม : ปรุงเป็นอาหารได้. แก่นเกษตร 29(1):26-28