ข้ามไปเนื้อหา

แมงมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมงมัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Hymenoptera
วงศ์: Formicidae
สกุล: Carebara
สปีชีส์: C.  castanea
ชื่อทวินาม
Carebara castanea
(Smith, 1858)
ภาพแมงมันคั่วเกลือ

แมงมัน (อังกฤษ: subterranean ants) เป็นชื่อเรียกของมดชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นมดราชินีสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ และมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Carebara sp. 1 of AMK

วรรณะ

[แก้]

มดในตระกูลนี้มีการแบ่งวรรณะเป็น 6 วรรณะคือ

  1. วรรณะราชินีที่เรียกว่าแมงมันแม่หรือแม่เพ้อ
  2. วรรณะเจ้าหญิงทายาทที่เรียกว่าเต้งใหญ่
  3. วรรณะสวามีที่เรียกว่าเต้งรอง
  4. วรรณะมดงานเรียกว่าแย็บ
  5. วรรณะทหารเรียกว่าแย็บใหญ่
  6. วรรณะสร้างรังเรียกว่ามดแม่หมัน

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

แมงมันตัวเมีย มีสีแดงคล้ำ ตัวใหญ่ มีรสมันนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร เรียกกันทั่วไปว่า "แมงมันแม่"

แมงมันตัวผู้ มีสีเหลือง ตัวเล็กกว่าแมงมันตัวเมีย ไม่นิยมรับประทานเพราะมีรสขม เรียกกันทั่วไปว่า "แมงมันปู๊" หรือ "แมงมันคา"

ประโยชน์/โทษ

[แก้]

แมงมัน เป็นอาหารตามฤดูกาลที่หาได้ไม่ง่ายนักจึงเป็นที่ต้องการของชุมชน ที่นิยมรับประทานทั้งไข่ และลูกแมงมัน เฉพาะตัวเมีย ดังนั้นแมงมันจึงมีราคาดีพอสมควรเพราะนอกจากจะมีน้อยแล้วปีหนึ่งๆ จะมีให้รับประทานเพียงครั้งเดียว ไข่แมงมันที่ เรียกว่า "แมงมันจ่อม" ขายเป็นช้อน (คาว) ๆละ 20 บาท ลูกแมงมันที่คั่วแล้วใส่ถ้วยน้ำจิ้มเล็กๆ เป็นถ้วยตวงถ้วยละ 60 บาท ถ้าเป็น ขีดๆละ 100 บาท ส่วนแมงมันตัวผู้จะใช้เป็นเหยื่อตกเบ็ดปลาช่อน,ปลาสลิด

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

แมงมันชอบอาศัยอยู่ตามที่ดินที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ชอบดินแข็งและชอบอยู่ใกล้รากไม้ใหญ่ๆ คล้ายปลวก แต่ไม่ก่อดิน หรือพูนดินขึ้นเป็นจอมปลวก ในรอบหนึ่งปีแมงมันจะออกจากรูเฉพาะเดือนพฤษภาคม คือฤดูฝน เพราะน้ำฝนที่ซึมลงดินทำให้ แมงมันอยู่ไม่ได้จะออกจากรูขึ้นมาอยู่บนผิวดิน แมงมันจะไม่ย้ายรังถ้าไม่ถูกรบกวนจากคน ก่อนที่ลูกแมงมันจะออกมาแม่จะออกมา ก่อนเพื่อขยายรูให้กว้างขึ้น เพราะลูกแมงมันตัวโตกว่า แม่แมงมันจะใช้เวลาขยายรูประมาณ 3 ชั่วโมง ลูกแมงมันถึงจะต้องออกมา

อ้างอิง

[แก้]