แมกซ์เวลล์ เทรเวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมกซ์เวลล์ เทรเวอร์
แมกซ์เวลล์ เทรเวอร์ ในพิธีมอบรางวัลของการแข่งท้องถิ่นในเจนไน ประเทศอินเดีย
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นแมกซี
วันเกิด (1963-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1963 (60 ปี)
ไฮเดอราบาด รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย
ข้อมูลทีม
ทีมปัจจุบันเกษียณ
ประเภทไทม์ไทรอัล 1,000 เมตร
บทบาทนักจักรยาน
ประเภทนักจักรยานสปรินเตอร์
ทีมอาชีพ
ค.ศ. 1980-90ประเทศอินเดีย
รัฐอานธรประเทศ
ชัยชนะครั้งสำคัญ
แชมป์จักรยานลู่ของประเทศสิบเอ็ดสมัย[1]

แมกซ์เวลล์ เทรเวอร์ (อังกฤษ: Maxwell Trevor) เป็นนักจักรยานชาวอินเดีย ซึ่งถือเป็นนักจักรยานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศอินเดีย เทรเวอร์เป็นผู้ครองสถิติของประเทศ โดยชนะเหรียญรางวัลกว่า 250 เหรียญและเป็นแชมป์จักรยานลู่ของประเทศสิบเอ็ดสมัย[1][2]

ประวัติ[แก้]

แมกซ์เวลล์ เทรเวอร์ เกิดในครอบครัวเชื้อสายแองโกลอินเดีย โดยเขาเป็นหนึ่งในพี่น้องที่มีอยู่ทั้งหมดหกคน สี่คนเอาดีทางกีฬาจักรยานซึ่งได้เป็นตัวแทนรัฐอานธรประเทศและเป็นตัวแทนของประเทศหลายต่อหลายครั้ง นอกจากนี้ยังได้รับแรงบันดาลใจโดยเพรสตัน ทัลลี ซึ่งเป็นนักจักรยานระดับนานาชาติ ความสนใจในกีฬาของเทรเวอร์ได้รับการจุดประกายโดยพี่ชายของเขาที่มีชื่อว่า เกล็น ซึ่งเป็นนักจักรยานระดับนานาชาติในคริสต์ทศวรรษ 1970 ด้วยการฝึกฝนร่วม 8–10 ชั่วโมงของทุกวัน และได้รับการฝึกสอนโดยมุมตัซ อาเหม็ด ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนในระดับรัฐ ผู้ใช้ชีวิตในช่วงท้ายที่สหรัฐอเมริกา[3] เทรเวอร์มีภรรยาและลูกทั้งหมดสามคน โดยลูกคนหนึ่งที่ได้รับการฝึกสอนจากเขา ได้ชนะการแข่งขันในระดับเยาวชนของประเทศและชนะอันดับสามในการแข่งขันชิงชนะเลิศของภาคใต้[4]

การรุกของเทรเวอร์สู่การแข่งจักรยานได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1980 โดยในปีนั้น เขาได้ชนะการแข่งทั้งในระดับเยาวชนรวมถึงในรุ่นใหญ่ เขาได้เป็นตัวแทนของอินเดียในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่เดลี (ค.ศ. 1982) และโซล (ค.ศ. 1986), จักรยานชิงแชมป์เอเชีย, ชิงแชมป์โลก และเฟรนด์ชิพเกมส์[3]

หลังจากอำลาจากการเล่นกีฬา เทรเวอร์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนทีมจักรยานรัฐอานธรประเทศและเป็นเลขานุการแห่งสมาคมจักรยานของรัฐ[5][6] นอกจากนี้ เขายังมีส่วนร่วมในหลายกิจกรรม ดังเช่น การสนับสนุนวัฒนธรรมแองโกลอินเดีย และการรณรงค์ทางสังคม เช่น 'จักรยานในการทำงาน'[7][8] หลังจากได้รับการไล่ตามโดยนักจักรยานรุ่นเยาว์ เทรเวอร์ก็ได้เริ่มการฝีกสอน และมีแผนที่จะเริ่มมีสถานศึกษาเป็นของตัวเอง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Koshie, Nihal (18 November 2005). "Tour de Ghat is about more than a bike too". Daily News and Analysis. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  2. Gupta, Abhijit Sen (25 November 2004). "Declining interest". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-09. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  3. 3.0 3.1 Akki, Dinesh (18 November 2003). "Pedal power". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  4. 4.0 4.1 "Pedal-ling hope". Deccan Chronicle. 27 February 2013.
  5. Gupta, Abhijit Sen (21 December 2002). "Nijappa gives AP its first gold". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-09. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  6. "Mountain bike National meet from tomorrow". The Hindu. 20 July 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-09. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  7. "Chief Minister promises houses for poor Anglo-Indians in 4 years". The Hindu. 3 August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-30. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  8. "World Environment Day 2013 Celebrations by APIIC and Hyderabad Bike Club". India Noon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]