แฟลนเนอรี โอคอนเนอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟลนเนอรี โอคอนเนอร์
เกิดแมรี แฟลนเนอรี โอคอนเนอร์
25 มีนาคม ค.ศ. 1925(1925-03-25)
ซาวานนาห์, รัฐจอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต3 สิงหาคม ค.ศ. 1964(1964-08-03) (39 ปี)
มิลเลดจ์วิลล์, รัฐจอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา
อาชีพนักเขียน
สัญชาติอเมริกัน
ช่วงเวลาค.ศ. 1946–64
แนวเซาเทิร์นกอทิก
แนวร่วมในทางวรรณคดีสัจนิยมศาสนาคริสต์

แมรี แฟลนเนอรี โอคอนเนอร์ (อังกฤษ: Mary Flannery O'Connor; 25 มีนาคม ค.ศ. 1925 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1964) เป็นนักเขียนแนวเซาเทิร์นกอทิกชาวอเมริกัน ผลงานของเธอมักมีฉากในชนบท มีตัวละครที่แปลกประหลาดและสะท้อนถึงศรัทธาในคริสตจักรโรมันคาทอลิก รวมถึงการตั้งคำถามในด้านศีลธรรมและจริยธรรม[1]

ประวัติ[แก้]

แฟลนเนอรี โอคอนเนอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1925 ที่เมืองซาวานนาห์ในรัฐจอร์เจีย เป็นบุตรสาวคนเดียวของเอ็ดเวิร์ด ฟรานซิส โอคอนเนอร์กับเรจินา ไคลน์[2] ในปี ค.ศ. 1940 ครอบครัวของโอคอนเนอร์ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลเลดจ์วิลล์ เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมพีบอดีและเป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ของหนังสือพิมพ์โรงเรียน ก่อนจะเรียนต่อที่วิทยาลัยสตรีรัฐจอร์เจีย (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจอร์เจีย) ขณะเรียนอยู่ที่นั่น เธอวาดภาพการ์ตูนให้กับหนังสือพิมพ์ของนักศึกษา[3] โอคอนเนอร์เรียนจบด้านสังคมวิทยาในปี ค.ศ. 1945

ปีต่อมา เธอเรียนต่อหลักสูตรการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยไอโอวา ที่นั่นเธอได้เริ่มร่างนิยายเรื่อง Wise Blood ซึ่งต่อมาเป็นนิยายเรื่องแรกของเธอ โอคอนเนอร์เรียนจบในปี ค.ศ. 1947[4] ต่อมาในปี ค.ศ. 1949 เธอตอบรับคำเชิญให้มาอาศัยอยู่กับรอเบิร์ต ฟิตซ์เจอรัลด์และแซลลี ภรรยาของเขาที่เมืองริดจ์ฟิลด์ รัฐคอนเนตทิคัต[5] ในปี ค.ศ. 1952 เธอตีพิมพ์นิยายเรื่อง Wise Blood ซึ่งภายหลังหนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน จัดให้อยู่ในอันดับที่ 62 ของนิยาย 100 เรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[6] โอคอนเนอร์ยังมีผลงานอื่น ๆ เช่น นิยายเรื่อง The Violent Bear It Away (ค.ศ. 1960), รวมเรื่องสั้น A Good Man Is Hard to Find and Other Stories (ค.ศ. 1955), Everything That Rises Must Converge (ค.ศ. 1965) และ The Complete Stories (ค.ศ. 1971) โดย The Complete Stories เป็นการรวมเรื่องสั้นสองเรื่องก่อนหน้าและต่อมาได้รับรางวัลหนังสือแห่งชาติ สาขานวนิยายในปี ค.ศ. 1972[7]

นอกจากจะเป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนแล้ว โอคอนเนอร์ยังเป็นที่รู้จักจากจดหมายที่เธอติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ [8] เช่น รอเบิร์ต โลเวลล์และเอลิซาเบธ บิชอป กวีชาวอเมริกัน[9], ซามูเอล แอชลีย์ บราวน์ ศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีแห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนา[9], มาร์ยาต ลี นักเขียนบทละครชาวอเมริกัน[10] และเบตตี เฮสเทอร์ เสมียนจากเมืองแอตแลนตา[11] หลังโอคอนเนอร์เสียชีวิต แซลลี ฟิตซ์เจอรัลด์ได้รวบรวมจดหมายแล้วตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ The Habit of Being[12][9]

ในปี ค.ศ. 1952 โอคอนเนอร์พบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง[13] ซึ่งเป็นโรคเดียวกับที่คร่าชีวิตบิดาของเธอ[14] โอคอนเนอร์เสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคลูปัสขณะผ่าตัดเนื้องอกในปี ค.ศ. 1964[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Flannery O'Connor - American writer". Britannica. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  2. O'Connor 1979, p. 3; O'Connor 1979, p. 233: "My papa was a real-estate man" (letter to Elizabeth Fenwick Way, August 4, 1957); Gooch 2009, p. 29.
  3. "A fresh look at Flannery O'Connor". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  4. Fitzgerald 1965, p. xii.
  5. O'Connor 1979, p. 4.
  6. McCrum, Robert (2003-10-12). "The 100 greatest novels of all time: The list". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2014-03-24.
  7. "National Book Awards – 1972". National Book Foundation. Retrieved 2012-03-30.
    (With essays by Alice Elliott Dark and others (five) from the Awards 60-year anniversary blog.)
  8. O'Connor 1979, pp. xiixiv, xvi, xvii.
  9. 9.0 9.1 9.2 O'Connor 1979 passim.
  10. O'Connor 1979, p. 193: "There are no other letters among Flannery's like those to Maryat Lee, none so playful and so often slambang."
  11. "Flannery O'Connor's Private Life Revealed in Letters". NPR. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  12. "Emory unseals letters from O'Connor to longtime correspondent Betty Hester". Emory University. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  13. O'Connor 1979, p. 40 (letter to Sally Fitzgerald, undated, summer 1952)
  14. Giannone 2012, p. 23.
  15. "Flannery O'Connor (1925-1964)". New Georgia Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]