ข้ามไปเนื้อหา

แบร์รี มาร์แชลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แยร์รี มาร์แชลล์

มาร์แชลล์เมื่อปี 2021
เกิดแบร์รี เจมส์ มาร์แชลล์
(1951-09-30) 30 กันยายน ค.ศ. 1951 (73 ปี)[1]
แคลกูรี ประเทศออสเตรเลีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก (MBBS)[1]
มีชื่อเสียงจากHelicobacter pylori
คู่สมรสAdrienne Joyce Feldman (สมรส 1972)[1]
บุตร4 คน[1]
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
เว็บไซต์www.uwa.edu.au/marshall-centre

แบร์รี เจมส์ มาร์แชลล์ (อังกฤษ: Barry James Marshall AC FRACP FRS FAA,[1][2] เกิด 30 กันยายน 1951) เป็แพทย์ชาวออสเตรเลีย ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยา, ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาคลินิก และผู้อำนวยการร่สมของศูนย์มาร์แชลล์[4] มหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก[5] มาร์แชลล์ ร่วมกับรอบิน วอร์เรน ได้สาธิตให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียม Helicobacter pylori (หรือ H. pylori) มีบทบาทสำคัญในการก่อแผลเปื่อยเพปติกหลายชนิด ซึ่งท้าทายความเชื่อในโลกการแพทย์ที่ว่าแผลเปื่อยเพปติกเกิดจากความเครียด อาหารรสเผ็ด และกรดเกินเป็นหลัก การค้นพบนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเชิงเหตุผลระหว่างการติดเชื้อ Helicobacter pylori กับมะเร็งกระเพาะอาหาร[6][7][8]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

มาร์แชลล์เกิดที่เมืองแคลเกอร์ลีในออสเตรเลีย เขาอาศัยอยู่ที่นั่นกับที่คาร์แนร์วอน ก่อนจะโยกย้ายไปเพิร์ธเมื่ออายุแปดปี บิดาของเขาประกอบหลายอาชีพ ส่วนมารดาเป็นพยาบาล เขาเป็นลูกคนโตสุดของบ้าน มาร์แชลล์จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยนิวแมน และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก จบการศึกษาด้วยวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิต, ศัลยศาสตรบัณฑิต (MBBS) ในปี 1974[1] เขาสมรสกับภรรยา แอเดรียน (Adrienne) ในปี 1972 ทั้งคู่มีลูกด้วยกันรวมสี่คน[9][10][11]

อาขีพการงานและงานวิจัย

[แก้]

ในปี 1979 มาร์แขลล์ได้แต่งตั้งเรียนต่อเฉพาะทาง (Registrar in Medicine; เป็นคำในระบบแพทยศาสตร์ศึกษาของออสเตรเลีย) ประจำที่โรงพยาบาลรอยัลเพิร์ธ ต่อมาในปี 1981 เขาได้พบกับแพทย์รอบิน วอร์เรน แพทย์พยาธิวิทยาซึ่งมีความสนใจในโรคกระเพาะอักเสบ ขณะมาร์แขลล์กำลังฝึกเป็นแพทย์เฉพาะทางต่อยอด (fellowship training) ในสาขาอายุรศาสตร์ที่โรงพยาบาลรอยัลเพิร์ธ ทั้งคู่ได้ร่วมกันศึกษาการพบแบคเรียทรงเกลียวที่เกี่ยวข้องกับโรคกระเพาะอักเสบ ในปี 1982 ทั้งคู่ได้ทำการเพาะเชื้อ H. pylori เบื้องต้น และตั้งสมมติฐานว่าแบคทีเรียนี้ก่อให้เกิดแผลเปื่อยเพปติกและมะเร็งกระเพาะอาหาร[9] ว่ากันว่าทฤษฎี H. pylori ก่อโรคในกระเพาะอาหารนี้ถูกเยาะเย้ยโดยทั้งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีตำแหน่งและหม่เชื่อว่าแบคทีเรียใด ๆ จะดำรงอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดของกระเพาะอาหาร มาร์แชลล์เมื่อปี 1998 เคยกล่าวไว้ว่า "ทุกคนต่อต้านผม แต่ผมรู้ว่าผม[คิด]ถูก"[12] อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่าบรรดานักวิจัยทางการแพทย์ได้แต่เพียงตั้งข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์ต่อสมมติฐานเรื่อง H. pylori จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์เท่านั้น[13]

หลังความล้มเหลวหลายครั้งในการพยายามเพาะเชื้อในลูกหมูในปี 1984 แซม แวง (Sam Wang) รายงานว่าหลังมาร์แชลล์ทำการตรวจส่องกล้องภายในเพื่อเป็นค่าฐาน (baseline) เสร็จ เขาได้ดื่มน้ำเชื้อที่มีเชื้อ H. pylori เพาะอยู่ ด้วยหวังว่าจะก่อแผลเปื่อยเพปติกในปีให้หลัง[14] เขากลับต้องฉงนเมื่อสามวันต่อมา เขาเกิดอาการอาเจียนและกลิ่นปากอันเนื่องมาจากอะคลอรัยเดีย ภรรยาของเขาสังเกตว่าเนื่องจากไม่มีกรดในกระเพาะอาหารไปฆ่าแบคทีเรีย ของเสียที่ได้จากแบคทีเรียเหล่านี้ส่งออกมาในรูปของกลิ่นปาก[15] ในวันที่ 5–8 ให้หลัง เขาได้อาเจียนออกมาโดยอาเจียนมีลักษณะไม่เป็นกรด ในวันที่แปด เขาทำการส่องกล้องภายในอีกครั้ง และพบการอักเสบในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจเพาะเชื้อ H. pylori ขึ้น และเชื้อนี้ได้ทำการรุกรานกระเพาะของเขาแล้ว ในวันที่สิบสี่ เขาทำการส่องกล้องเป็นครั้งที่สาม และเริ่มทานยาฆ่าเชื้อ[16] มาร์อชลล์ไม่ได้พัฒนายาฆ่าเชื้อสำหรับ H. pylori และเสนอว่าภูมิคุ้มกันเดิมในบางครั้งสามารถฆ่าล้างการติดเชื้อ H. pylori ฉับพลันได้ การเจ็บป่วยและการฟื้นฟูจากโรคของมาร์แชลล์บนพื้นฐานของเชื้อที่ได้มาจากผู้ป่วยคนหนึ่ง เข้าได้กันกับเงื่อนไขของค็อกว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง H. pylori กับการเกิดลำไส้อักเสบ แต่ไม่ใช่สำหรับแผลเปื่อยเพปติก การทดลองนี้ได้ตีพิมพ์ในปี 1985 ใน วารสารการแพทย์ออสเตรเลีย[17] ชิ้นงานของเขาเป็นหนึ่งในชิ้นงานที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดของวารสารหัวนี้[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ,. ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. Closed access doi:10.1093/ww/9780199540884.013.U26713
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ frs
  3. "U.Va. Top News Daily". Virginia.edu. 4 ตุลาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2010.
  4. "The Marshall Centre". The Marshall Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
  5. "The University of Western Australia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2008.
  6. Marshall BJ, Warren JR (June 1983). "Unidentified curved bacilli on gastric epithelium in active chronic gastritis". The Lancet. 321 (8336): 1273–5. doi:10.1016/S0140-6736(83)92719-8. PMID 6134060.
  7. Marshall BJ, Warren JR (June 1984). "Unidentified curved bacilli in the stomach of patients with gastritis and peptic ulceration". The Lancet. 323 (8390): 1311–5. doi:10.1016/S0140-6736(84)91816-6. PMID 6145023. S2CID 10066001.
  8. Sweet, Melissa (2 August 1997). "Smug as a bug". The Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 28 January 2007.
  9. 9.0 9.1 Barry, Marshall (2005). "Autobiography". Nobel Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2007. สืบค้นเมื่อ 28 January 2007.
  10. ในปี 1972 เขาเป็นผู้ชนะการแข่งขันโยโย่ระดับรัฐ
  11. "Sydney Morning Herald Features Barry Marshall Helicobacter pylori". Vianet.net.au. 2 August 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2 March 2010.
  12. "Barry Marshall Interview, H. Pylori and the Making of a Myth". Academy of Achievement. 23 May 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2013. สืบค้นเมื่อ 28 January 2007.
  13. Atwood, Kimball C. (November 2004). "Bacteria, Ulcers, and Ostracism?". Skeptical Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 July 2007.
  14. "The Doctor Who Drank Infectious Broth, Gave Himself an Ulcer, and Solved a Medical Mystery". Discover Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
  15. https://www.nobelprize.org/uploads/2018/06/marshall-lecture.pdf
  16. This story is related by Marshall in his Nobel acceptance lecture 8 December 2005, available for viewing on the Nobel website. "Barry J. Marshall – Biographical". Nobelprize.org. Nobel Media AB. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  17. Marshall BJ, Armstrong JA, McGechie DB, Glancy RJ (1985). "Attempt to fulfil Koch's postulates for pyloric Campylobacter". Medical Journal of Australia. 142 (8): 436–9. doi:10.5694/j.1326-5377.1985.tb113443.x. PMID 3982345. S2CID 42243517.
  18. Van Der Weyden, Martin B; Armstrong, Ruth M; Gregory, Ann T (2005). "The 2005 Nobel Prize in Physiology or Medicine". Medical Journal of Australia. 183 (11/12): 612–4. PMID 16336147.