แซตเทิร์นสวาปามบุตรของตน
แซตเทิร์นสวาปามบุตรของตน | |
---|---|
สเปน: Saturno devorando a su hijo | |
ศิลปิน | ฟรังซิสโก โกยา |
ปี | ป. 1820–1823 |
สื่อ | สื่อผสมบนฝาผนัง, เคลื่อนย้ายไปอยู่บนผ้าใบ |
ขบวนการ | โรแมนติก |
มิติ | 143.5 cm × 81.4 cm (56.5 นิ้ว × 32.0 นิ้ว) |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์ปราโด มาดริด |
แซตเทิร์นสวาปามบุตรของตน (อังกฤษ: Saturn Devouring His Son; สเปน: Saturno devorando a su hijo) เป็นจิตรกรรมโดยศิลปินชาวสเปน ฟรังซิสโก โกยา ตามธรรมเนียมแล้ว ภาพนี้ถูกตีความว่าเป็นภาพของปรัมปรากรีกแสดงตอนที่ยักษ์โครนุส (หรือในปรัมปราโรมันเรียก แซตเทิร์น) กำลังกินลูกของตัวเองคนหนึ่ง ตามปรัมปราในตอนนี้เล่าว่า หลังแซตเทิร์นรับทราบคำพยากรณ์ของเกอาว่าตนจะถูกโค่นล้มโดยลูกคนหนึ่งของตนเอง แซตเทิร์นจึงกินลูกแต่ละคนตั้งแต่แรกเกิด[a] ภาพเขียนนี้เป็นหนึ่งสิบสี่ ภาพดำ ที่โกยาเขียนขึ้นบนผนังของบ้านตนเองโดยตรงในปี 1820-1823[2] ต่อมาภาพเขียนนี้ได้ถูกเคลื่อนย้ายออกมาไว้บนผ้าใบหลังโกยาเสียชีวิต ปัจจุบันเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ปราโดในมาดริด
ภาพเขียนนี้เป็นหนึ่งในหกชิ้นงานที่โกยาสร้างขึ้นในห้องอาหาร กระนั้น โกยาไม่เคยตั้งชื่อชิ้นงานที่เขาวาดไว้ในบ้านตนเอง ชื่อชิ้นงานนี้ถูกตั้งขึ้นให้หลังโกยาเสียชีวิต[3] การตีความภาพนี้เป็นการคาดเดาจากภาพเขียนเท่านั้น นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องราวของโกยา เฟร็ด ลิตช์ (Fred Licht) ได้แสดงความไม่วางใจในชื่อของชิ้นงานที่ถูกตั้งให้หลังโกยาเสียชีวิต โดยระบุว่าชื่อนี้อาจ "ชักนำไปในทางที่ผิดอย่างมาก"[3] เขาชี้ให้เห็นว่าประติมานวิทยาโดยธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับแซตเทิร์น (เช่น เคียวยาว หรือ นาฬิกาทราย) ไม่มีปรากฏในภาพ และร่างของมนุษย์ตัวเล็กดูแล้วไม่ได้คล้ายกันกับเด็กทารก หรือไม่แม้แต่เหมือนกายวิภาคของมนุษย์ด้วยซ้ำ เขาระบุว่า "ต้องเข้าใจชื่อเหล่านี้เป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ของชิ้นงานเท่านั้น" เช่นเดียวกับชิ้นงานภาพเขียนดำอื่น ๆ ของโกยา[3] คำอธิบายแทนที่ของลิตช์เสนอว่าภาพเขียนนี้เป็นการตีกลับกระแสการต่อต้านยิวที่แสดงภาพชาวยิวกินเด็ก (ซึ่งเป็นการอ้างถึงเหตุการณ์บลัดไลเบิล)[4] เมื่อตีความเช่นนี้แล้ว มนุษย์ตัวใหญ่กว่าในภาพกลับเป็นตัวแทนของความหวาดกลัวต่อชาวยิวแสดงออกมาในรูปของความรุนแรงแท้จริงต่อพวกต้านยิว ดังที่ว่า "ความกระหายแบบสัตว์ป่าแท้จริงเกิดขึ้นมาจากความกระหายแบบสัตว์ป่าที่จินตนาการขึ้น" ("bestiality is born of imagined bestiality") กระนั้น เขายังเสริมต่อว่าการตีความนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยัน และเช่นเดียวกันกับการตีความว่าเป็นแซตเทิร์น แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันหลากหลายของโกยาในการจัดวางองค์ประกอบของภาพ[4]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "These great Cronos swallowed as each came forth from the womb to his mother's knees with this intent, that no other of the proud sons of Heaven should hold the kingly office amongst the deathless gods. For he learned from Earth and starry Heaven that he was destined to be overcome by his own son, strong though he was, through the contriving of great Zeus."[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hesiod "Theogony". Sacred-Texts.com. 1914. สืบค้นเมื่อ December 19, 2023.
- ↑ "Saturn - Goya y Lucientes, Francisco de - Museo del Prado". Museo Del Prado. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-26. สืบค้นเมื่อ 2024-02-13.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Licht, 168
- ↑ 4.0 4.1 Licht, 170
บรรณานุกรม
[แก้]- Connell, Evan (2004). Francisco Goya: A Life. Counterpoint. p. 256. ISBN 978-1-58243-307-3.
- Licht, Fred (1983). Goya: The Origins of the Modern Temper in Art. Icon. p. 288. ISBN 0-06-430123-0.
- Morden, Karen & Pulimood, Stephen (2006). Stephen Farthing (บ.ก.). 1001 Paintings You Must See Before You Die. London: Quintet Publishing Ltd. ISBN 1-84403-563-8.
- "Saturn Devouring One of His Sons". Museo del Prado. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- E. Weems. "The Black Paintings: Saturn". สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- Jay Scott Morgan. "The Mystery of Goya's Saturn". New England Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2006. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- "Goya's Black Paintings". theartworlf. June 12, 2006. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- Milko A. García Torres. "Francisco José Goya". Pinacoteca Universal Multimedia (ภาษาสเปน). Madrid: F & G Editores. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
- Hesiod, translated by Hugh G. Evelyn-White. "Theogony". สืบค้นเมื่อ August 25, 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Saturno devorando a su hijo