เอ็มทีวี
ประเทศ | สหรัฐ |
---|---|
สำนักงานใหญ่ | MTV Studios, One Astor Plaza, 1515 Broadway, Times Square, Manhattan, New York City, New York 10036, United States |
แบบรายการ | |
ภาษา | อังกฤษ |
ระบบภาพ | 1080i HDTV (downscaled to letterboxed 480i for the SDTV feed) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | ไวอาคอมซีบีเอสโดเมสติกมีเดียเน็ตเวิร์ค |
บุคลากรหลัก | Philippe Dauman (CEO) |
ช่องรอง | |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1977 (ในชื่อ ไซท์ออนซาวด์) 1 สิงหาคม ค.ศ. 1981 (ในชื่อ เอ็มทีวี) |
ชื่อเดิม | มิวสิคเทเลวิชัน (ค.ศ. 1981–ค.ศ. 2010)[1] |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | mtv.com |
ออกอากาศ | |
เคเบิลทีวี | |
Available on most cable providers | Channel slots vary on each service |
ทีวีดาวเทียม | |
Orby TV | Channel 270 (HD) |
Dish Network | Channel 160 (HD) |
DirecTV |
|
ไอพีทีวี เครือข่าย เอดีเอสแอล | |
Verizon Fios | Channel 210 (SD) Channel 710 (HD) |
AT&T U-verse | Channel 502 (SD) Channel 1502 (HD) |
สื่อสตรีมมิง | |
FuboTV | Internet Protocol television |
Philo | Internet Protocol television |
Sling TV | Internet Protocol television |
AT&T TV | Internet Protocol television |
YouTube TV | Internet Protocol television |
เอ็มทีวี (อังกฤษ: MTV) ย่อมาจาก Music Television เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับวัยรุ่น โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่นิวยอร์ก แรกเดิมจะเน้นเปิดมิวสิกวีดีโอ ต่อมาเพิ่มความหลากหลาย สร้างเรียลลิตี้โชว์จำนวนมาก และงานอวอร์ดสต่างๆ โดยเอ็มทีวีได้กลายเป็น Pop Culture ของวัยรุ่นอเมริกัน และทั่วโลกในเวลาต่อมา
เอ็มทีวีออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1981 ตั้งแต่ที่เอ็มทีวีได้ออกอากาศ มีสโลแกน "I want my MTV" ที่เป็นที่จดจำ, คอนเซ็บของวีเจเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย,การแนะนำเพลงผ่านมิวสิกวิดีโอ, เป็นศูนย์กลางระหว่างแฟนเพลงและตัวศิลปิน รวมถึงเป็นศูนย์กลางของข่าวสารดนตรี เทศกาลดนตรี การประชาสัมพันธ์ เอ็มทีวีได้มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมดนตรีเป็นอย่างมาก
เอ็มทีวีถือเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลที่สุดจากบทสรุปของ BusinessWeek กลับยกให้ MTV ด้วยจำนวนผู้ชมสูงถึงกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก[2]
ประวัติ
[แก้]เอ็มทีวีได้ออกอากาศตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา และได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อผู้ชมรายการเคเบิลทีวีโดยเฉพาะที่เป็นวัยรุ่น เอ็มทีวีมีชื่อเสียงในการผลิตรายการเรียลลิตี้โชว์ รายการอดีตที่ดังเช่น Real World ยังคงดึงดูดผู้ชมได้อยู่ขณะที่รายการใหม่ๆ อย่าง Cribs, Flipped, Diary and Dismissed ได้สร้างความสนใจให้แก่ผู้ชมในยุคปัจจุบัน
นอกจากจะเป็นรายการที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วยังมีรายการเช่น Total Request Live, MTV Jammed และ mtvICON ซึ่งผูกติดผู้ชมเข้ากับเพลงและศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบ ขณะนี้ สิ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลามไม่แพ้เอ็มทีวีก็คือสถานีเอ็มทีวี 2[3]
อิทธิพล
[แก้]ปีเตอร์ ริชาร์ดสัน นักวิเคราะห์วัฒนธรรมของอเมริกันบอกว่า "Culture ตัวหนึ่งที่มีพลังมากในการเจาะ ทะลวงเอเชีย ได้ดีก็คือ เอ็มทีวี และในนิตยสาร culture club ของฝรั่งเศส มีการตั้งข้อสังเกตว่า ระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ชุดแต่งกายที่เคยเป็นทั้งประจำชาติ ไม่ว่าของจีน ญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง ค่อย ๆ ถูกละลายด้วยภาพที่เห็นทางเอ็มทีวี และสื่อสะดวกอย่างยูทูบ"[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "MTV drops 'Music Television' from the network logo". Los Angeles Times. February 8, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-06-21.
- ↑ แจ๊ค มินทร์ อิงธเนศ MTV มีดีกว่าที่คิด เก็บถาวร 2007-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ businessthai.co.th
- ↑ "เอ็มทีวี เคเบิลทรงอิทธิพลต่อวัยรุ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-05-25.
- ↑ นันทขว้าง สิรสุนทร และพันทิพย์ อศินธรรม. "คอลัมน์จุดประกาย". หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551