เอเรียนา มิยาโมโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเรียนา มิยาโมโตะ
เกิด (1994-05-12) 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี)
จังหวัดนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสูง1.73 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว)[1]
เป็นที่รู้จักจากมิสยูนิเวิร์สเจแพน 2015
ผู้ดำรงตำแหน่งการประกวดความงาม
สีผมดำ
สีตาน้ำตาล
รางวัลมิสยูนิเวิร์สเจแพน 2015
(ผู้ชนะ)
มิสยูนิเวิร์ส 2015
(รอบ 10 คน)

เอเรียนา มามิโกะ มิยาโมโตะ (ญี่ปุ่น: 宮本・エリアナ・磨美子โรมาจิMiyamoto Eriana Mamiko; เกิด 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1994) เป็นนางแบบชาวญี่ปุ่น เป็นผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สเจแพน 2015 และเป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นในการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2015[2] ถือเป็นสุภาพสตรีลูกครึ่งหรือที่เรียกในสังคมญี่ปุ่นว่าฮาฟุ (ハーフ hāfu) คนแรกของประเทศที่ได้รับตำแหน่งผู้ชนะเลิศการประกวดนางงาม ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยในสื่อสังคมออนไลน์ของญี่ปุ่นที่บางส่วนที่มองว่าเธอผิดแผกไปจากชาวญี่ปุ่นทั่วไป[3][4]

ประวัติ[แก้]

มิยาโมโตะมีมารดาเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนบิดาชื่อไบรอันต์ สแตนฟิลด์ (Bryant Stanfield) เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่ประจำการ ณ ฐานทัพเรือสหรัฐในซาเซโบะ[5] บิดามารดาหย่าร้างกันขณะเธออายุเพียงขวบเดียว[6] เธอจบการศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ครั้นอายุได้ 13 ปี จึงย้ายไปอยู่กับบิดาที่สหรัฐในเมืองแจ็กสันวิลล์ รัฐอาร์คันซอ เธอศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแจ็กสันวิลล์เพียงสองปีก็ย้ายกลับประเทศญี่ปุ่น และไม่เรียนต่อให้จบมัธยมปลาย ก่อนเริ่มทำงานแปลก ๆ อันรวมไปถึงบาร์เทนเดอร์[7][8][9][10][11]

ค.ศ. 2015 เธอชนะเลิศการประกวดนางงามนางาซากิ และเป็นตัวแทนของจังหวัดในการประกวดมิสยูนิเวิร์สเจแพน 2015[12][13]

การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ[แก้]

ในวัยเด็กเธอร่ำเรียนในโรงเรียนประจำเมืองซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ ณ ที่นั่นเธอเป็นเด็กคนเดียวที่เป็นลูกครึ่งผิวสี เธอโดนเพื่อน ๆ เรียกว่า "อีดำ" และโดนคนปาขยะใส่[14] มิยาโมโตะกล่าวว่า "เวลาที่ครูให้นักเรียนจับมือกัน เพื่อน ๆ ก็เกรงว่าสีผิวของฉันไปเปรอะตัวเขา เพื่อนก็เลยพูดกับฉันว่า 'อย่ามาแตะตัวฉัน'"[15] นอกจากนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนก็กล่าวด้วยวาจาเดียวกันว่า "อย่ามาว่ายน้ำสระเดียวกันกับฉันนะ เดี๋ยวสีผิวเธอจะมาเปื้อนตัวฉัน"[16] ในช่วงที่เธออยู่ในญี่ปุ่น เธอถูกตั้งแง่รังเกียจเรื่องสีผิวและผมหยิกหย็อง[17] ทั้งผู้ปกครองและเพื่อนร่วมชั้นต่างเรียกว่า "อีดำ" หรือ "คูรมโบะ" (黒んぼ) เวลากล่าวถึงเธอ[17]

มิยาโมโตะตัดสินใจที่จะใช้ชื่อเสียงที่มีของเธอในการต่อต้านอคติด้านเชื้อชาติ เธอเคยกล่าวไว้เมื่อ ค.ศ. 2015 ว่า "ฉันอยากจะเริ่มการปฏิวัติ ฉันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ในชั่วข้ามคืนได้ แต่อีก 100 ถึง 200 ปี จะมีคนญี่ปุ่นแท้ ๆ หลงเหลืออยู่น้อยแล้ว ดังนั้นพวกเราควรเริ่มเปลี่ยนแปลงวิธีคิด"[18]

อ้างอิงและเชิงอรรถ[แก้]

  1. "Miss Universe 2015: Ariana Miyamoto". missuniverse.com. IMG Universe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 24 December 2017.
  2. "The First Multiracial Miss Universe Japan Has Been Crowned". NBC News. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  3. "Miss Japan's Ariana Miyamoto abused for 'not being Japanese enough' - Daily Mail Online". Mail Online. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  4. "Multiracial Miss Japan hopes to change homeland's thinking on identity". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  5. Kirk Spitzer (May 30, 2015). "Beauty queen fights racial bias in Japan". USA Today. สืบค้นเมื่อ May 31, 2015.
  6. Wofford, Taylor. (2015). A half-black Japanese beauty queen is raising eyebrows - but will she change minds? Newsweek. Retrieved June 25, 2017, from link.
  7. Peter Holley (March 20, 2015). "Why some critics think Japan's Miss Universe contestant isn't Japanese enough". Washington Post. สืบค้นเมื่อ March 24, 2015. มิยาโมโตะเติบโตในญี่ปุ่น แต่ย้ายไปเรียนมัธยมที่สหรัฐ มารายห์ แครีเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ของเธอ เพราะเป็นนักร้องที่มีปูมหลังเป็นลูกผสม... (Miyamoto, who grew up in Japan but moved to the United States for high school, has cited Mariah Carey as a major inspiration because of the singer’s multiracial background...)
  8. Audrey Akcasu (March 15, 2015). "Half-Japanese beauty chosen to represent Japan at Miss Universe 2015". RocketNews24. สืบค้นเมื่อ March 24, 2015. หลังจบมัธยมต้นที่ซาเซโบะ เธอใช้เวลาในการเรียนต่อมัธยมปลายในสหรัฐเป็นปี เธอจึงเริ่มหางานนางแบบหลังย้ายกลับไปญี่ปุ่นในช่วงวัยรุ่น (After junior high graduation in Sasebo, she spent her high school years studying in the US. Upon returning to Japan as a young adult she set her sights on becoming a model.)
  9. "Miss Japan Ariana Miyamoto hits out at racial abuse - Daily Mail Online". Mail Online. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  10. Martin Fackler (May 29, 2015). "Biracial Beauty Queen Challenges Japan's Self-Image". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 31, 2015. เธอกล่าวว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปขณะอายุ 13 ปี เมื่อเธอย้ายไปอยู่กับพ่อตามคำเชิญ บ้านของพ่ออยู่ในแจ็กสันวิลล์ รัฐอาร์คันซอ (She said everything changed at age 13 when she decided to reach out to her father, who invited her to his home in Jacksonville, Ark.)
  11. "Arkansas Times - April 16, 2015 by Arkansas Times". issuu. 2015-04-16. สืบค้นเมื่อ 2016-04-13.
  12. "Ariana Miyamoto, first biracial Miss Japan, brings light to racial issues in her country". cbsnews.com. 13 April 2015. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  13. "Multiracial Miss Universe Japan Symbolizes The Country's Transformation". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
  14. Fitzpatrick, Michael & MacFarlan, Tim. (2015). 'I've been called n****r and had trash thrown at me': First mixed race Miss Japan hits out at the 'spasmodic vomit of racial abuse' she's suffered because father is African-American. Daily Mail. Retrieved June 25, 2017, from link.
  15. Beauty queen brings light to Japan's racial issues. (2015). CBS This Morning. Retrieved June 25, 2017, from link.
  16. Nagata, Masatoshi. (2015). Not Japanese Enough? Miss Universe Japan looks to fight prejudice. Nichi Bei. Retrieved June 25, 2017, from link.
  17. 17.0 17.1 Wesby, Maya. (2015). Japan's problem with race. Newsweek. Retrieved July 25, 2017, from link.
  18. Morgan, Maybelle. (2015). Not Japanese enough? I BOW when I answer the phone! Miss Universe Japan who faced abuse for being mixed-race hits back at critics. Daily Mail. Retrieved July 25, 2017, from link.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]