เอสทีเอส-51-แอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
STS-51-L
ตราสัญลักษณ์ภารกิจ
สถิติภารกิจ
ชื่อภารกิจSTS-51-L
ชื่อยานอวกาศกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
เริ่มต้นแผ่นรอง39B
เริ่มต้นวันที่28 มกราคม ค.ศ. 1986, 16:38:00 UTC
ลงจอดSpacecraft lost
(February 3, 1986, 17:12 UTC planned)
ระยะเวลาภารกิจ73 วินาที
(6 วัน 34 นาทีการวางแผน)
จำนวนของวงโคจรล้มเหลวในการบรรลุวงโคจร
(96 แผน)
วงสูง150 ไมล์ทะเล (280 กิโลเมตร; 170 ไมล์) (แผน)
ระยะทางที่เดินทาง29 กิโลเมตร (18 ไมล์)
ภาพถ่ายของลูกเรือ
Back row (L-R): Ellison Onizuka, Christa McAuliffe, Gregory Jarvis, Judith Resnik. Front row (L-R): Michael J. Smith, Francis "Dick" Scobee, Ronald McNair.
ภารกิจที่เกี่ยวข้อง
ก่อนหน้า ต่อมา
STS-61-C STS-61-C STS-26 STS-26

STS-51-L เป็นโครงการเที่ยวบินของกระสวยอวกาศครั้งที่ 25 โดยใช้กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ซึ่งยกออกจาก Launch Complex 39-B เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1986 จากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา เที่ยวบินนี้เป็นครั้งแรกที่พลเรือนที่ไม่ใช่รัฐบาล อาจารย์ Christa McAuliffe ได้ทำการบินบนกระสวยอวกาศ ภารกิจสิ้นสุดในภัยพิบัติด้วยการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์หลังจากขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เพียง 73 วินาที ทำให้ลูกเรือในภารกิจนี้ทั้ง 7 คนเสียชีวิตทั้งหมด คณะกรรมการโรเจอร์ส (Rogers Commission) ขึ้นสอบสวนอุบัติเหตุในครั้งนี้ คณะกรรมการพบว่าวัฒนธรรมองค์กรของนาซาและกระบวนการในการตัดสินใจ เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้จัดการทุกคนของนาซาต่างรู้กันมานาน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1977) ว่าการออกแบบ SRB ของผู้รับเหมามอร์ตัน ทิโอโคล มีจุดอ่อนอย่างร้ายแรงที่โอริง แต่พวกเขาไม่สามารถระบุปัญหาลงไปให้ชัดเจนได้ พวกเขายังละเลยคำเตือนจากวิศวกรเกี่ยวกับอันตรายในการปล่อยยานในวันที่มีอากาศเย็น และยังล้มเหลวในการสรุปรายงานทางเทคนิคเพื่อเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการโรเจอร์ให้คำแนะนำ 9 ข้อแก่องค์การนาซาเพื่อแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนจะเริ่มดำเนินโครงการทางอวกาศต่อไปได้

ลูกเรือ[แก้]

ตำแหน่ง นักบินอวกาศ
ผู้บัญชาการ Francis R. Scobee
ขึ้นสู่อวกาศSecond
นักบิน Michael J. Smith
ขึ้นสู่อวกาศOnly
ผู้ชำนัญพิเศษภารกิจคนที่ 1 Ellison S. Onizuka
ขึ้นสู่อวกาศSecond
ผู้ชำนัญพิเศษภารกิจคนที่ 2 Judith A. Resnik
ขึ้นสู่อวกาศSecond
ผู้ชำนัญพิเศษภารกิจคนที่ 3 Ronald E. McNair
ขึ้นสู่อวกาศSecond
ผู้ชำนัญพิเศษน้ำหนักบรรทุกคนที่ 1 Gregory B.Jarvis
ขึ้นสู่อวกาศOnly
ผู้ชำนัญพิเศษน้ำหนักบรรทุกคนที่ 2 S. Christa McAuliffe
ขึ้นสู่อวกาศOnly
ผู้ได้รับการคัดเลือกจากโครงการTeacher in Space

ลูกเรือสำรอง[แก้]

ตำแหน่ง นักบินอวกาศ
ผู้ชำนัญพิเศษน้ำหนักบรรทุกคนที่ 1 L. William Butterworth
Hughes Space and Communications
ผู้ชำนัญพิเศษน้ำหนักบรรทุกคนที่ 2[1] Barbara R. Morgan
Teacher in Space
มอร์แกน ถูกเลือกเป็นนักบินอวกาศนาซ่าในปี 1998
และเที่ยวบินSTS-118 ในปี 2007 เป็นภารกิจพิเศษ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

 บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ

  1. "S. Christa Corrigan McAuliffe". Biographical Data. NASA. April 2007. สืบค้นเมื่อ June 13, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]