ข้ามไปเนื้อหา

เหล็กเส้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหล็กข้ออ้อย

เหล็กเส้น หรือ เหล็กเสริม สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้าง

ชนิด

[แก้]

โดยปกติจะแบ่งเหล็กเสริมเป็นสองประเภท คือ

  1. เหล็กกลมผิวเรียบ SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc.(กก./ตร.ซม.) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ เช่น RB6 (หมายถึง Round Bar ขนาด ศก.6 มม.), RB9, RB12, RB15, RB19, RB25 เนื่องจากผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบจึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น

การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้น ความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ เหล็กข้ออ้อย SD40 DB12 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.

เหล็กข้ออ้อย SD40 DB16 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. หนัก 1.580 กก./ม.

เหล็กข้ออ้อย SD40 DB20 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. หนัก 2.470 กก./ม.

เหล็กข้ออ้อย SD40 DB25 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ม.อ.ก.)

[แก้]

ลวดผูกเหล็ก-มีสีดำ ขนาดเดียว คือเบอร์18 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.24 mm. ต้านทานแรงดึงสูงสุด 3000ksc ทนการบิดได้อย่างน้อย 75 รอบ

อ้างอิง

[แก้]