เหรียญประจำการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีนของไทย ถือเป็นเหรียญประจำการ

เหรียญประจำการ (อังกฤษ: service medal) เป็นรางวัลสำหรับบุคคลที่เข้าร่วมในสงคราม, การทัพ หรือการรบนอกประเทศ หรือผู้ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดการประจำการเฉพาะ เหรียญประจำการบางครั้งก็เป็นเหรียญการทัพ

ตัวอย่างเหรียญประจำการ[แก้]

ไทย[แก้]

สำหรับประเทศไทยจะอยู่ในส่วนของ เหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ (Medals for service to the nation) เช่น เหรียญราชการชายแดน (Border Service Medal) คือเหรียญสำหรับทหาร, ตำรวจ และข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำการในพื้นที่ชายแดนไม่น้อยกว่า 6 เดือน ยกเว้นเหตุสู้รบพิเศษเพื่อป้องกันราชอาณาจักรตามจุดประสงค์ของทางราชการ และมีความประพฤติอันดี และเหรียญช่วยราชการเขตภายใน (Medal for Service Rendered in the Interior) มอบให้กับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือราชการ ทหาร และตำรวจในการทำการรบในสงครามอินโดจีน และสงครามมหาเอเชียบูรพา[1]

สหรัฐ[แก้]

เหรียญประจำการสองเหรียญที่ออกโดยกองทัพสหรัฐ ได้แก่ เหรียญประจำการป้องกันอาณาจักร (ซึ่งจะมีการระงับการแจกเมื่อปลายปี 2022) และเหรียญประจำการสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก โดยปกติแล้วเหรียญประจำการป้องกันอาณาจักรจะออกให้กับใครก็ตามที่ถูกเรียกให้เข้าประจำการในช่วงเวลาที่กำหนด[2] เหรียญประจำการสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลกจะมอบให้กับสมาชิกประจำการของกองทัพสหรัฐที่ให้การสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นเวลา 30 วันติดต่อกันหรือ 60 วันติดต่อกัน เว้นแต่จะมีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บในการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่คำจำกัดความของคำว่า "สนับสนุน" มีการตีความที่กว้างมาก[3][4]

อินเดีย[แก้]

เหรียญประจำการพิเศษ เป็นเหรียญรับรัฐการทหารของกองทัพอินเดีย เหรียญประจำพิเศษจะมอบให้ภายใต้เงื่อนไขการประจำการที่อยู่ในการปฏิบัติการย่อยหรือการปฏิบัติการในระยะเวลาอันสั้น เข็มที่ได้มาพร้อมกับเหรียญตราจะระบุพื้นที่ปฏิบัติการที่ได้รับ หากการปฏิบัติการต่อไปด้รับการอนุมัติ จะได้รับเฉพาะเข็มที่แสดงถึงปฏิบัติการเฉพาะกิจเท่านั้น โดยบนเข็มจะระบุถึงปฏิบัติการครั้งต่อมาเพื่อประดับบนแพรแถบของเหรียญ[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เหรียญราชอิสริยาภรณ์ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์". decor.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "National Defense Service Medal". The Institute of Heraldry. Office of the Administrative Assistant to the Secretary of the Army. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  3. "Global War on Terrorism Service Medal". afpc.af.mil. US Air Force Personnel Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2012. สืบค้นเมื่อ 30 April 2012.
  4. "§ 578.32 Global War on Terrorism Service Medal". Code of Federal Regulations Title 32 - National Defense. US Government Printing Office. สืบค้นเมื่อ 30 April 2012.
  5. "Special Service Medal". Official Website of the Indian Army. สืบค้นเมื่อ 27 April 2022.