เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกา
เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกา | |
---|---|
ตัวผู้ | |
ตัวเมีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Falconiformes |
วงศ์: | Falconidae |
สกุล: | Falco |
สปีชีส์: | F. sparverius |
ชื่อทวินาม | |
Falco sparverius Linnaeus, 1758 | |
การกระจายพันธุ์
ตลอดปี
ฤดูร้อน (ผสมพันธุ์วางไข่)
ฤดูหนาว
|
เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกา (อังกฤษ: American Kestrel) หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า Sparrow Hawk (เหยี่ยวนกกระจอก) เป็นเหยี่ยวปีกแหลมขนาดเล็ก และเป็นเหยี่ยวเคสเตรลชนิดเดียวที่พบในทวีปอเมริกา เป็นเหยี่ยวปีกแหลมที่พบมากในทวีปอเมริกาเหนือและพบในถิ่นอาศัยหลากหลายรูปแบบ ด้วยความยาว 19 - 21 เซนติเมตร มันจึงเป็นเหยี่ยวปีกแหลมขนาดเล็กที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกามีลักษณะต่างกันในสองเพศ ทั้งขนาดและชุดขน แม้ว่าทั้งสองเพศจะมีสีขนค่อนข้างแดงที่หลังที่เห็นได้ชัด นกวัยอ่อนมีชุดขนคล้ายนกโตเต็มวัย
เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกาล่าเหยื่อโดยการบินร่อนกลางอากาศด้วยการกระพือปีกอย่างรวดเร็ว และสอดส่ายสายตาพบพื้นเพื่อหาเหยื่อ ปกติจะกินตั๊กแตน, กิ้งก่า, หนู, และนกขนาดเล็กเป็นอาหาร เหยี่ยวทำรังในโพรงบนต้นไม้ หน้าผา อาคาร และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ตัวเมียวางไข่ครั้งละสามถึงเจ็ดใบ พ่อและแม่ช่วยกันกกไข่ เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกาเป็นนกที่ใช้ในกีฬาล่าเหยื่อด้วยนกตระกูลเหยี่ยว โดยเฉพาะผู้เริ่มต้น
พิสัยการผสมพันธุ์วางไข่เริ่มจากตอนกลางและตะวันตกของรัฐอะแลสกาข้ามไปยังตอนเหนือของประเทศแคนาดาถึงรัฐโนวาสโกเชีย และลงไปทางใต้ตลอดทวีปอเมริกาเหนือ ในตอนกลางประเทศเม็กซิโกและแคริบเบียน มันเป็นนกประจำถิ่นในอเมริกากลางและตลอดทั่วทวีปอเมริกาใต้ นกส่วนมากที่ผสมพันธุ์วางไข่ในประเทศแคนาดาและตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาจะอพยพลงใต้เมื่อฤดูหนาว พบนกอพยพหลงบางครั้งในทางตะวันตกของยุโรป
ลักษณะ
[แก้]เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกาเป็นเหยี่ยวปีกแหลมขนาดเล็กที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ[2] สองเพศมีลักษณะต่างกัน แม้ว่าชุดขนจะมีลักษณะคล้ายกันไปบ้าง นกเหยี่ยวยาว 19 - 21 เซนติเมตร ปีกกว้าง 50 - 60 เซนติเมตร ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวผู้หนัก 103 - 120 กรัม และตัวเมียหนัก 126 - 166 กรัม[3]
มันแตกต่างจากนักล่าชนิดอื่นอีกหลายชนิด สองเพศมีลักษณะต่างกันที่ชุดขนมากกว่าขนาด ตัวผู้มีปีกสีเทา-ฟ้า มีลายจุดสีดำ ปีกด้านล่างขาวมีลายดำ หลังสีน้ำตาลแดงมีลายแถบที่ช่วงล่าง ท้องและตะโพกขาว มีลายจุดสีดำ หางสีน้ำตาลแดง ปลายมีสีน้ำตาลแดงหรือสีขาว มีลายแถบสีดำที่เกือบสุดปลายหาง[4] ตัวเมียหลังและปีกมีสีน้ำตาลแดง มีลายแถบสีน้ำตาลดำ ด้านล่างมีสีครีมถึงสีแทน มีลายเส้นสีน้ำตาลเข้ม หางแตกต่างจากตัวผู้อย่างชัดเจน มีสีน้ำตาลแดงและมีลายแถบสีดำจำนวนมาก นกวัยอ่อนมีชุดขนคล้ายนกโตเต็มวัย[4] ทั้งสองเพศ หัวมีสีขาว ด้านบนมีสีเทาออกฟ้า มีเส้นสีดำแคบๆ บนหน้า ด้านละสองเส้น ขณะที่เหยี่ยวเคสเตรลชนิดอื่นมีข้างละเส้น[5] มีจุดสีดำ (ตา, ocelli) ในแต่ละข้างของคอที่มีสีขาวหรือส้ม[6] ประโยชน์ของจุดทั้งสองนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียง แต่ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ เป็น "ตาหลอก" ซึ่งจะช่วยปกป้องนกจากการโจมตีของศัตรูที่อาจเกิดขึ้นได้[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2009.0). "Falco sparvarius"[ลิงก์เสีย]. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4. International Union for Conservation of Nature. Retrieved 2010-08-08.
- ↑ Wauer (2005), pp. 6–7
- ↑ McCollough. "American Kestrel Falco sparverius". University of Michigan Museum of Geology. สืบค้นเมื่อ September 13, 2010.
- ↑ 4.0 4.1 "American Kestrel, Falco sparverius". Cornell Lab of Ornithology. สืบค้นเมื่อ September 13, 2010.
- ↑ Tveten & Tveten (2004), p. 210
- ↑ Clark & Wheeler (2001), p. 252
- ↑ Negro, Juan José; Bortolotti, Gary R.; Sarasola, José Hernán (2007). "Deceptive plumage signals in birds: manipulation of predators or prey?". Biological Journal of the Linnean Society. Linnean Society of London. 90 (3): 467–477. doi:10.1111/j.1095-8312.2007.00735.x.
บรรณานุกรม
[แก้]- Clark, William S.; Wheeler, Brian K. (2001). A field guide to hawks of North America. New York, NY: Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 0-395-67067-5.
- Fjeldså, Jon; Krabbe, Niels (1990). Birds of the High Andes: A Manual to the Birds of the Temperate Zone of the Andes and Patagonia, South America. Svendborg, Denmark: Apollo Books. ISBN 87-88757-16-1.
- L. Tveten, John; Tveten, Gloria (2004). "Our Smallest Falcon—American Kestrel: 198/1996". Our life with birds: a nature trails book. College Station, TX: Texas A&M University Press. ISBN 1-58544-380-8.
- Wauer, Roland H. (2005). The American kestrel: falcon of many names. Boulder, CO: Johnson Books. ISBN 1-55566-353-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Internet Bird Collection Videos
- South Dakota Birds and Birding Information and photographs
- USGS Patuxent Bird Identification InfoCenter
- VIREO photo gallery
- American Kestrel เก็บถาวร 2011-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Birds of Nova Scotia.