เหตุกากน้ำตาลท่วมครั้งใหญ่

พิกัด: 42°22′06.6″N 71°03′21.0″W / 42.368500°N 71.055833°W / 42.368500; -71.055833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบัติภัยกากน้ำตาลที่บอสตัน
ซากความเสียหายบริเวณที่เกิดเหตุกากน้ำตาลท่วม
วันที่15 มกราคม 1919; 105 ปีก่อน (1919-01-15)
เวลาราว 12:30 pm
ที่ตั้งบอสตัน รัฐแมสซาชูเสตส์
พิกัด42°22′06.6″N 71°03′21.0″W / 42.368500°N 71.055833°W / 42.368500; -71.055833
สาเหตุความเครียดทรงกระบอกล้มเหลว
เสียชีวิต21
บาดเจ็บไม่ถึงตาย150

เหตุกากน้ำตาลท่วมครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Great Molasses Flood) หรือ อุบัติภัยกากน้ำตาลที่บอสตัน (อังกฤษ: Boston Molasses Disaster)[1][2][3] เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อ 15 มกราคม 1919 ในย่านนอร์ธเอนด์ของเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสตส์ สหรัฐอเมริกา

แทงก์บรรจุของเหลวขนาดใหญ่ บรรจุกากน้ำตาลอยู่เต็มปริมาตร 2.3 ล้าน US gallon (8,700 ลูกบาศก์เมตร)*[4] น้ำหนักรวมประมาณ 13,000 short ton (12,000 ตัน) ได้แตกออก ส่งผลให้เกิดคลื่นกากน้ำตาลไหลหลากไปตามถนด้วยความเร็วประมาณ 35 mph (56 km/h) เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 21 ราย และบาดเจ็บอีก 150 คน[5] เหตุการณ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าขานในท้องถิ่น และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อ้างว่าแม้จะผ่านมาหลายทศวรรษนับจากเหตุการณ์นั้นแล้ว ก็ยังสามารถได้กลิ่นของกากน้ำตาลในช่วงอากาศร้อน ๆ ของฤดูร้อนอยู่[5][6]

เหตุการณ์[แก้]

หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The Boston Post รายงานเหตุการณ์

กากน้ำตาลสามารภนำมาหมักเพื่อผลิตเอทานอล ส่วนผสมสำคัญของเครื่องดื่มแอลกอฮลและการทำอาวุธ[7]:11 ภัยพิบัตินี้เกิดขึ้นที่โรงงานและโกดังของบริษัทกลั่นพิวริตี ตั้งอยู่ที่เลขที่ 529  ถนนคอมเมอร์เชียล ใกล้กับจัตุรัสคีแอนี (Keany Square) มีการจัดเก็บกากน้ำตาลปริมาณมากโดยโกดังอยู่ฝั่งอ่าวของถนนคอมเมอร์เชียล เพื่อให้สะดวกต่อการเทรับกากน้ำตาลจากเรือที่เข้ามาทางอ่าว เก็บไว้ในแทงก์ และส่งต่อไปตามท่อเข้าโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัทที่อยู่ในแคมบริดจ์ต่อไป แทงก์บรรจุกากน้ำตาลที่เกิดเหตุนี้มีความสูง 50 ft (15 m) และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 ft (27 m) สามารถบรรจุปริมาตรได้ 2.3 ล้าน US gallon (8.7 ล้าน ลิตร)*

ในวันที่ 15 มกราคม 1919 อุณหภูมิในบอสตันสูงขึ้นกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ (4 องศาเซลเซียส) และสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว[7]: 91, 95  เมื่อเทียบกับวันก่อน ๆ ประกอบกับเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า แทงก์ของโรงงานเพิ่งรับกากน้ำตาลซึ่งอุ่นมาแล้วเพื่อลดความหนืดให้ง่ายต่อการขนส่ง[8] เป็นไปได้ว่าด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากจากทั้งอากาศและจากกากน้ำตาลอุ่นนี้ ประกอบกับกากน้ำตาลอุ่นที่ว่านี้ต้องเผชิญกับกากน้ำตาลเดิมในแทงก์ที่เย็นตัวแล้ว แทงก์เกิดการขยายจากอุณหภูมิและแตกออกเมื่อเวลาประมาณ 12:30 p.m. ผู้เห็นเหตุการณ์รายงายว่าแทงก์หล่นลงกับพื้นเกิดแรงสั่นสะเทือนและเสียงดังไปทั่ว คล้ายกับเสียงของรถไฟแอตแลนติแแอเวนูววิ่งผ่านเข้าเร็ว ๆ บ้างรายงานว่าได้ยินเสียงเหมือนฟ้าผ่า ไปจนถึงปืนกลที่ยิงออกมาจากรถถัง[7]: 92–95 

ความหนาแน่นของกากน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 1.4 ตัน ต่อ ลูกบาศก์เมตร (12 ปอนด์ต่อแกลลอนสหรัฐ) หรือ 40% มากกว่าน้ำ ส่งผลให้กากน้ำตาลมีพลังงานศักย์เยอะกว่ามาก กากถล่มทำให้พลังงานถ่ายโอนออกมาในรูปคลื่นกากน้ำตาลที่สูงสุดถึง 25 ft (8 m)[9] ทะลักด้วยความเร็ว 35 mph (56 km/h)[5][6] ความแรงของคลื่นกากน้ำตาลนี้มากพอที่จะทะลุคานยาวของโครงสร้างแอตแลนติกแอเวนูวของรถไฟบอสตันที่อยู่ติดกัน[10] สตีเฟิน พูเอโบล (Stephen Puleo) บรรยายว่าอาคารสิ่งก่อสร้างโดยรอบถูกทำลายและพัดหลุดจากฐาน

อ้างอิง[แก้]

  1. Hinrichsen, Erik (8 September 2010). "The Boston Molasses Disaster: Causes of the Molasses Tank Explosion". Bright Hub (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 5, 2019.
  2. "'Molasses Disaster' Featured at Evening at 74 – Beacon Hill Times". beaconhilltimes.com. สืบค้นเมื่อ March 5, 2019.
  3. And more recently as the "Boston Molassacre." Kelly, Kate (January 8, 2012). "The "Boston Molassacre"". America Comes Alive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 3, 2021.
  4. "Great Molasses Flood: US marks 100 years since deadly wave of treacle trashed part of Boston". Associated Press. South China Morning Post. January 14, 2019. สืบค้นเมื่อ March 18, 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 Sohn, Emily (January 15, 2019). "Why the Great Molasses Flood Was So Deadly". The History Channel (ภาษาอังกฤษ). A&E Television Networks. สืบค้นเมื่อ January 16, 2019.
  6. 6.0 6.1 Park, Edwards (November 1983). "Without Warning, Molasses in January Surged Over Boston". Smithsonian. 14 (8): 213–230. สืบค้นเมื่อ March 24, 2013. Reprinted at Eric Postpischil's Domain, "Eric Postpischil's Molasses Disaster Pages, Smithsonian Article", June 14, 2009.
  7. 7.0 7.1 7.2 Puleo, Stephen (2004). Dark Tide: The Great Boston Molasses Flood of 1919. Beacon Press. ISBN 0-8070-5021-0.
  8. "100 Years Later: Lessons From Boston's Molasses Flood Of 1919". www.wbur.org.
  9. Jabr, Ferris (July 17, 2013). "The Science of the Great Molasses Flood". Scientific American. สืบค้นเมื่อ October 16, 2013.
  10. Park, Edwards (December 19, 2018). "Without Warning, Molasses in January Surged Over Boston". edp.org. edp.org. สืบค้นเมื่อ March 24, 2019. ...imagine an estimated 14,000 tons of the thick, sticky fluid running wild. It left the ruptured tank in a choking brown wave, 15 feet high, wiping out everything that stood in its way. One steel section of the tank was hurled across Commercial Street, neatly knocking out one of the uprights supporting the El.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]