เลนี โรเบรโด
เลนี โรเบรโด | |
---|---|
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการของเธอเมื่อปี พ.ศ. 2559 | |
รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 14 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – 30 มิถุนายน 2565 | |
ประธานาธิบดี | โรดรีโก ดูแตร์เต |
ก่อนหน้า | เจโจมาร์ บินาย |
ถัดไป | ซารา ดูแตร์เต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มาเรีย เลออนอร์ ซานโต โทมัส เจโรนา 23 เมษายน พ.ศ. 2508 นางา, คามารีเนสซูร์, ประเทศฟิลิปปินส์ |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีนิยม |
คู่สมรส | เจสซี โรเบรโด (เสียชีวิตแล้ว) |
บุตร | 3 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (ศิลปศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนูเอวา การ์เซอเรส (นิติศาสตรบัณฑิต) |
อาชีพ | นักกฎหมาย นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักการกุศล |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | Campaign website |
มาเรีย เลออนอร์ "เลนี" โรเบรโด (ตากาล็อก: Maria Leonor "Leni" Robredo; 23 เมษายน พ.ศ. 2508 –) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึง พ.ศ. 2565 ทั้งนี้เธอเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดคามารีเนสซูร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2559
เธอชนะบองบอง มาร์กอสบุตรชายของอดีตประธานาธิบดีและเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ในการเลือกตั้งรองประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2556 ส่งผลให้เธอเป็นสตรีคนที่สองของฟิลิปปินส์ที่ดำรงตำแหน่งนี้ นอกจากนี้เธอยังดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในรัฐบาลของโรดรีโก ดูแตร์เต
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เธอคือจุดเริ่มต้นของโครงการ อันงัดบูฮาย ที่เน้นขจัดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการพัฒนาชนบท รวมถึงสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ[1] ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนจากหลายองค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ[2]
ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของเธอที่มีจุดยืนเสรีนิยม ทำให้เธอมีความขัดแย้งกับดูแตร์แตและวิพากษ์วิจารณ์การบริหารของดูแตร์แตในหลายโอกาส ทั้งการรับมือสถานการณ์โควิด 19ที่ผิดพลาด[3] สงครามยาเสพติด[4] การปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบ[5] และเธอยังเป็นแกนนำคนสำคัญที่คัดค้านการทำพิธีศพของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสในสุสานวีรชน[6] ส่งผลให้เธอถูกจับกุมในปี พ.ศ. 2563[7] รวมทั้งยังถูกเป็นเป้าโจมตีของผู้เห็นต่างทางการเมืองจากเธอทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง[8]
เธอเคยวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนจากการที่จีนรุกล้ำพื้นที่ในทะเลจีนใต้ด้วยการตั้งขีปนาวุธ[9] ซึ่งเป็นการละเมิดคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรว่าด้วยเรื่องข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายทางการทูตของดูแตร์เตที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับประเทศจีนมากกว่า[10]
ในปี พ.ศ. 2565 เธอประกาศลงสมัครประธานาธิบดีโดยจับคู่กับฟรานซิส ปางงิลินัน อดีตวุฒิสมาชิกของฟิลิปปินส์ที่ลงสมัครรองประธานาธิบดี แต่เธอได้พ่ายแพ้ให้กับบองบองซึ่งชนะเธอด้วยคะแนนที่ถล่มทลาย[11][12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "COA gives OVP highest audit rating for third successive year". June 29, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2021. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
- ↑ Robredo honored as ‘outstanding woman’ in Southeast Asia
- ↑ Cepeda, Mara (September 3, 2021). "Robredo tempted to tell Duterte: Just let me handle pandemic response". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
- ↑ Cepeda, Mara (January 6, 2020). "'1 over 100': Robredo calls Duterte's drug war a 'failure'". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
- ↑ Cepeda, Mara (November 9, 2021). "Robredo wants to abolish Duterte's notorious anti-insurgency group". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
- ↑ "Robredo chides Marcos family: Why hide burial like a shameful criminal deed?". GMA News Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
- ↑ DOJ clears Robredo, charges Trillanes in sedition case
- ↑ Cepeda, Mara. "Here's how Robredo debunks 'fake news' vs her". Rappler (ภาษาอังกฤษ). Rappler Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
- ↑ "Robredo slams Beijing 'missiles' in West PH Sea". ABS-CBN News. ABS-CBN Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
- ↑ Cruz, Moises (January 21, 2022). "Robredo: China must recognize arbitral rule first before any joint exploration deal". The Manila Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2022. สืบค้นเมื่อ April 26, 2022.
- ↑ "Final, official tally: Marcos, Duterte on top with over 31M votes each". Manila Bulletin. May 25, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2022. สืบค้นเมื่อ May 26, 2022.
- ↑ "Marcos Jr. officially proclaimed president-elect". CNN Philippines. May 25, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2022. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.