ข้ามไปเนื้อหา

เลนส์รวมแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบบจำลองกระจกรวมแสง ในห้องทดลองของ โจเซฟ เพรสต์ลีย์

เลนส์รวมแสง (อังกฤษ: burning glass หรือ burning lens) คือเลนส์นูนขนาดใหญ่ที่ใช้ในการรวมแสงอาทิตย์ให้ตกกระทบลงในพื้นที่เล็กๆ ทำให้พื้นที่นั้นมีความร้อนสูงขึ้นจนกระทั่งทำให้พื้นผิวสามารถจุดติดไฟได้ กระจกรวมแสง ก็ทำให้เกิดผลลัพธ์ในทำนองเดียวกันโดยใช้พื้นผิวกระจกสะท้อนแสงให้ไปรวมยังจุดเดียวกัน มีการศึกษาด้านเคมีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพื่อเผาไหม้วัตถุที่อยู่ภายในภาชนะใสแบบปิด เพื่อดูผลที่ได้จากการเผาไหม้ และนำสิ่งที่ได้ไปวิเคราะห์ เลนส์รวมแสงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์มากในยุคสมัยที่การจุดประกายไฟด้วยไฟฟ้ายังไม่สามารถทำได้

กล่าวกันว่า อาร์คิมิดีส นักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ได้ใช้กระจกรวมแสงนี้ (หรืออาจเป็นกระจกหกแฉกจำนวนมากๆ) เพื่อเป็นอาวุธในช่วง 212 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อครั้งที่เมืองซีราคิวส์ถูกทัพเรือโรมันปิดล้อม และสามารถเผากองเรือโรมันได้เป็นจำนวนมาก แม้ว่าสุดท้ายแล้วทัพโรมันสามารถยึดเมืองได้ และอาร์คิมิดีสถูกสังหาร[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Meijer, Fik (1986), A History of Seafaring in the Classical World, Routledge, ISBN 978-0709935650