ข้ามไปเนื้อหา

เรือหลวงวิกตอรี

พิกัด: 50°48′07″N 1°06′35″W / 50.80194°N 1.10972°W / 50.80194; -1.10972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เรือหลวงวิกตอรีที่อู่เรือประวัติศาสตร์พอร์ตสมัท, มุมมองด้านท้ายเรือ, มุมมองจากด้านบนของวิกตอรีใน ค.ศ. 2004, ระหว่างให้บริการในท่าเรือราว ค.ศ. 1900, มุมมองหัวเรือ
ประวัติ
สหราชอาณาจักร
ชื่อวิกตอรี (Victory)
Ordered14 กรกฎาคม 1758
อู่เรืออู่เรือแชทัม
ปล่อยเรือ23 กรกฎาคม 1759
เดินเรือแรก7 พฤษภาคม 1765; 259 ปีก่อน (1765-05-07)
เข้าประจำการ1778
บริการ247 ปี
ท่าจอด
เกียรติยศ
สถานะ
ลักษณะเฉพาะ [1]
ชั้น: เรือรบแนวเส้นประจัญบานชั้นเอก ปืนใหญ่ 104 กระบอก
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 3,500 ลองตัน (3,556 ตัน)[2]
เบอเตนตัน: 2,142 bm
ความยาว:
  • 186 ฟุต (57 เมตร) (ดาดฟ้าปืน),
  • 227 ฟุต 6 นิ้ว (69.34 เมตร) (โดยรวม)
ความกว้าง: 51 ฟุต 10 นิ้ว (15.80 เมตร)
กินน้ำลึก: 28 ฟุต 9 นิ้ว (8.76 เมตร)
ความลึกของระวางบรรทุก: 21 ฟุต 6 นิ้ว (6.55 เมตร)
ระบบขับเคลื่อน: ใบ—6,510 ตารางหลา (5,440 ตารางเมตร)
แผนแล่นเรือ: ใบเรือขึงเต็ม
ความเร็ว: ประมาณ 11 นอต (20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: ประมาณ 850
ยุทโธปกรณ์:
  • ตราฟัลการ์:
  • ชั้นปืนใหญ่: 30 × ปืนใหญ่ Blomefield ขนาด 32 ปอนด์ (15 กิโลกรัม) แบบยาว หนัก 2.75 ตันต่อกระบอก
  • ชั้นปืนใหญ่กลาง: 28 × ปืนใหญ่ขนาด 24 ปอนด์ (11 กิโลกรัม) แบบยาว หนัก 2.5 ตันต่อกระบอก
  • ชั้นปืนใหญ่บน: 30 × ปืนใหญ่ขนาด 12 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) แบบสั้น หนัก 1.7 ตันต่อกระบอก
  • ดาดฟ้าท้ายเรือ: 12 × ปืนใหญ่ขนาด 12 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) แบบสั้น หนัก 1.7 ตันต่อกระบอก
  • ดาดฟ้าหัวเรือ: 2 × ปืนใหญ่ขนาด 12 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) ขนาดกลาง, 2 × ปืนใหญ่ Carronade ขนาด 68 ปอนด์ (31 กิโลกรัม)
หมายเหตุ: ความสูงจากระดับน้ำถึงยอดเสากระโดงหลัก: 205 ฟุต (62.5 เมตร)

เรือหลวงวิกตอรี (อังกฤษ: HMS Victory) เป็นเรือรบแนวเส้นประจัญบานชั้นเอกติดตั้งปืน 104 กระบอก ด้วยระยะเวลาการประจำการ 247 ปี ณ ค.ศ. 2025 จึงเป็นเรือนาวีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงประจำการ[Note 1] ถูกสั่งต่อให้ราชนาวีอังกฤษใน ค.ศ. 1758 ในช่วงสงครามเจ็ดปีและเริ่มวางกระดูกงูใน ค.ศ. 1759 ในปีนั้น อังกฤษชนะศึกหลายครั้งทั้งที่เกแบ็ก, มินเดน, เลกอสและอ่าวกีเบอร็อง ชัยชนะเหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อการเลือกชื่อเรือในเดือนตุลาคมปีถัดมา โดยเฉพาะปฏิบัติการในอ่าวกีเบอร็อง ที่ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อเส้นทางของสงคราม โดยทำให้กองทัพเรือฝรั่งเศสอ่อนแอลงอย่างมากและเปลี่ยนจุดสนใจของพวกเขาไปจากทะเล ดังนั้นจึงไม่มีความเร่งด่วนที่จะต่อเรือให้เสร็จสมบูรณ์และการลงนามในสนธิสัญญาปารีสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1763 หมายความว่าเมื่อวิกตอรีถูกปล่อยลงน้ำในที่สุดใน ค.ศ. 1765 เธอจึงถูกนำไปจอดไว้เฉย ๆ (ในสถานะ ordinary) การต่อเรือลำนี้ใช้ต้นไม้ 6,000 ต้น ร้อยละ 90 เป็นต้นโอ๊ก

วิกตอรีขึ้นระวางประจำการครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1778 ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกา โดยได้เข้าร่วมการรบในยุทธนาวีที่อูชองต์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1778 หลังฝรั่งเศสประกาศสนับสนุนอาณานิคมกบฏของอังกฤษในอเมริกาเหนืออย่างเปิดเผย และยังเข้าร่วมยุทธนาวีที่อูชองต์ครั้งที่สองใน ค.ศ. 1781 หลังเข้าร่วมในการช่วยเหลือยิบรอลตาร์ใน ค.ศ. 1782 วิกตอรีและกองเรือที่เดินทางไปด้วยกันเผชิญหน้ากับกำลังผสมสเปนและฝรั่งเศสในยุทธนาวีที่แหลมสปาร์เทล กระสุนส่วนใหญ่ที่ยิงมาจากเรือฝ่ายพันธมิตรไปไม่ถึงเป้าและเรือฝ่ายอังกฤษซึ่งได้รับคำสั่งให้กลับไปช่องแคบอังกฤษก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะตอบโต้ นี่เป็นการปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของเธอในสงคราม การสู้รบสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1783 และวิกตอรีถูกปลดประจำการอีกครั้ง

ใน ค.ศ. 1787 วิกตอรีได้รับคำสั่งให้เตรียมพร้อมออกทะเลเนื่องจากการก่อจลาจลในเนเธอร์แลนด์แต่ภัยคุกคามนั้นลดลงก่อนงานเตรียมการจะเสร็จสิ้น เธอพร้อมสำหรับการเผชิญหน้าในวิกฤตการณ์นูทกาและการเสริมกำลังทหารของรัสเซียใน ค.ศ. 1790 แต่ทั้งสองเหตุการณ์คลี่คลายลงก่อนเธอจะถูกเรียกใช้งานจริง ในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส วิกตอรีประจำการอยู่ในทัพเรือเมดิเตอร์เรเนียน โดยร่วมมือในการเข้ายึดครองตูลงในเดือนสิงหาคมและการบุกครองคอร์ซิกาในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1794 เธอเข้าร่วมยุทธนาวีที่เกาะอิแยร์ใน ค.ศ. 1795 และยุทธนาวีที่แหลมเซนต์วินเซนต์ใน ค.ศ. 1797 เมื่อพลเรือเอกโฮราชิโอ เนลสันได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทัพเรือเมดิเตอร์เรเนียนใน ค.ศ. 1803 เขาชักธงของเขาขึ้นบนเรือหลวงวิกตอรี และใน ค.ศ. 1805 เขานำเรือลำนั้นเข้าสู่การรบในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ เธอทำหน้าที่เป็นเรือจอดตั้งแต่ ค.ศ. 182 จนถึง ค.ศ. 1922 เมื่อเธอถูกนำเข้าอู่แห้งที่พอร์ตสมัท ประเทศอังกฤษ ที่นี่เธอได้รับการซ่อมแซมและปัจจุบันได้รับการดูแลรักษาในฐานะพิพิธภัณฑ์เรือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 วิกตอรีได้ทำหน้าที่เป็นเรือธงของสมุหราชนาวี

อ้างอิง

[แก้]
  • Best, Nicholas (2005). Trafalgar – The Untold Story of the Greatest Sea Battle in History. London: The Orion Publishing Group Ltd. ISBN 0-297-84622-1.
  • Christopher, John (2010). The HMS Victory Story. Stroud: The History Press. ISBN 978-0-7524-5605-8.
  • Dull, Jonathan R. (2009). The Age of the Ship of the Line. Barnsley: Seaforth Publishing. ISBN 978-1-84832-549-4.
  • Eastland, Jonathan; Ballantyne, Iain (2011). HMS Victory – First Rate 1765. Barnsley: Seaforth Publishing, Pen and Sword Books. ISBN 978-1-84832-094-9.
  • Lavery, Brian (2003). The Ship of the Line Volume 1: The development of the battlefleet 1650–1850. Conway Maritime Press. ISBN 0-85177-252-8..
  • Longridge, Charles. N (1981). The Anatomy of Nelson's Ships. Naval Institute Press. ISBN 0-87021-077-7.
  • MacDougall, Philip (1987). The Chatham Dockyard Story. Meresborough Books. ISBN 0-948193-30-1.
  • McKay, John (2000). The 100-Gun Ship Victory. Anova Books Ltd. ISBN 978-1-84486-223-8.
  • Rodger, N.A.M (2005). The Command of the Ocean. London: Penguin Books. ISBN 0-14-028896-1.
  • Stilwell, Alexander (2005). The Trafalgar Companion. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 1-84176-835-9.
  • Vincent, Edgar (2003). Nelson: Love & Fame. London: Yale University Press. ISBN 0-300-10260-7.
  • Warwick, Peter (2005). Voices from the Battle of Trafalgar. David & Charles. ISBN 0-7153-2000-9.
  • Willis, Sam (2013). In the Hour of Victory – The Royal Navy at War in the Age of Nelson. London: Atlantic Books Ltd. ISBN 978-0-85789-570-7.
  • Wilson, Ben (2013). Empire of the Deep. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-0-297-86408-0.
  • Winfield, Rif (2007). British Warships in the Age of Sail 1714–1792: Design, Construction, Careers and Fates. Seaforth Publishing. ISBN 978-1-84415-700-6..

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. Lavery (1983) p. 175
  2. "HMS Victory". Royal Navy. สืบค้นเมื่อ 8 April 2023.
  3. Eastland and Ballantyne (2011) p. 9


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "Note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="Note"/> ที่สอดคล้องกัน