ข้ามไปเนื้อหา

เรือหลวงพระร่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงพระร่วง
ประวัติ
สยาม
ชื่อ เอชเอ็มเอส เรเดียนท์ (HMS Radiant) เรือหลวงพระร่วง (HTMS Pra Ruang)
อู่เรืออู่เรือบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.,) ประเทศอังกฤษ
ความเป็นไปปลดระวางประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือพิฆาต
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 1,046 ตัน
ความยาว: 83.57 เมตร
ความกว้าง: 8.34 เมตร
กินน้ำลึก: 4 เมตร
ระบบพลังงาน: เครื่องจักรไอน้ำแบบ บี.ซี. เกียร์ เทอร์ไบน์ 2 เครื่อง ใบจักรคู่ กำลัง 29,000 แรงม้า
ความเร็ว: 35 นอต (ความเร็วมัธยัสถ์ 14 นอต)
พิสัยเชื้อเพลิง: 1,896 ไมล์ทะเล (ที่ความเร็วมัธยัสถ์)
ลูกเรือ: 135 นาย
ยุทโธปกรณ์: (ติดตั้งเมื่อแรกเข้าประจำการ)
• ปืน 102 ม.ม. 3 กระบอก
• ปืน 76 ม.ม. 1 กระบอก
(ติดตั้งเพิ่มเติมในภายหลัง)
• ปืน 40 ม.ม. 2 กระบอก
• ปืน 20 ม.ม. 2 กระบอก
• ตอร์ปิโด 21 นิ้ว 4 ท่อ
• รางปล่อยระเบิดลึก
• แท่นยิงปืนระเบิดลึก 2 แท่น

เรือหลวงพระร่วง เป็นเรือหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งข้าราชการและประชาชนผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรี่ยไรทุนทรัพย์ซื้อเรือรบถวายเป็นราชพลี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการจัดตั้งจัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Navy League of Siam) ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความยินดีและเห็นชอบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเรือนี้ว่า "พระร่วง" อันเป็นสิริมงคลตามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของชาวไทยทั่วไป

รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวน 80,000 บาท และพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้พร้อมใจกันออกทุนเรี่ยไรถวาย เมื่อครั้งจัดงานพระราชพิธีทวีธาภิเษกในรัชกาลที่ 5 ซึ่งยังเหลือจากการใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 116,324 บาท ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานทรัพย์อีกเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท เมื่อรวมกับเงินที่เรี่ยไรทั่วพระราชอาณาจักร ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 3,514,604 บาท 1 สตางค์ ในปี พ.ศ. 2463

นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปพร้อมด้วยนายทหารอีก 5 นาย คณะข้าหลวงพิเศษตรวจการซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปชุดนี้โดยได้คัดเลือกเรือพิฆาต "เอชเอ็มเอส เรเดียนท์" (HMS Radiant) ของบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.) สร้างที่ เมืองเซาแธมป์ตัน สหราชอาณาจักร ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมแก่ความต้องการของกองทัพเรือและเป็นเรือที่ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้นสงครามยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2461 อังกฤษจึงยินดีขาย คณะข้าหลวงพิเศษได้ตกลงซื้อเรือลำนี้เป็นเงิน 200,000 ปอนด์ ส่วนเงินที่เหลือจากการซื้อเรือนั้นได้พระราชทานให้แก่กองทัพเรือไว้สำหรับใช้สอย เรือลำนี้เดินทางจากสหราชอาณาจักรเข้ามาถึงประเทศสยามเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2463[1]

สมรรถนะของเรือหลวงพระร่วง

[แก้]

สมรรถนะของเรือหลวงพระร่วงมีดังนี้ คือ มีระวางขับน้ำ 1,046 ตัน ความยาวตลอดลำ 83.57 เมตร ความกว้างสุด 8.34 เมตร กินน้ำลึก 4 เมตร อาวุธปืน 102 ม.ม. 3 กระบอก ปืน 76 ม.ม. 1 กระบอก ต่อมาติดปืน 40 ม.ม. 2 กระบอก ปืน 20 ม.ม. 2 กระบอก มีตอร์ปิโด 21 นิ้ว 4 ท่อ มีรางปล่อยระเบิดลึก และมีแท่นยิงปืนระเบิดลึก 2 แท่น เครื่องจักรเป็นแบบไอน้ำแบบ บี.ซี. เกียร์ เทอร์ไบน์ จำนวน 2 เครื่อง ใบจักรคู่ กำลัง 29, 000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 35 น นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 14 นอต รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์ 1,896 ไมล์ ทหารประจำเรือ 135 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การฉลองเรือ "พระร่วง"" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 ตุลาคม 1920.