ข้ามไปเนื้อหา

เรือนจำอาบาชิริ

พิกัด: 44°0′59.7″N 144°13′51.8″E / 44.016583°N 144.231056°E / 44.016583; 144.231056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือนจำอาบาชิริ
แผนที่
ที่ตั้งนครอาบาชิริ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์44°0′59.7″N 144°13′51.8″E / 44.016583°N 144.231056°E / 44.016583; 144.231056
สถานะดำเนินการ
เปิดให้บริการค.ศ. 1890
บริหารโดยกระทรวงยุติธรรม

เรือนจำอาบาชิริ (ญี่ปุ่น: 網走刑務所โรมาจิAbashiri Keimusho) เป็นเรือนจำในนครอาบาชิริ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ที่เปิดในปี ค.ศ. 1890 เป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดในประเทศญี่ปุ่น ใกล้กับแม่น้ำอาบาชิริและอยู่ทางตะวันออกของภูเขาเท็นโตะ เป็นที่คุมขังนักโทษที่มีโทษจำคุกน้อยกว่าสิบปี[1] ส่วนเก่าของเรือนจำถูกย้ายไปยังเชิงเขาของภูเขาเท็นโตะในปี ค.ศ. 1983 ซึ่งถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เรือนจำแห่งเดียวในประเทศ

พิพิธภัณฑ์

[แก้]
ภายในอาคารเรือนจำดั้งเดิม เป็นหนึ่งในทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์เรือนจำอาบาชิริ
ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนจำ ค.ศ. 2565

ในปี ค.ศ. 1983 ส่วนเก่าของเรือนจำถูกย้ายไปยังเชิงเขาของภูเขาเท็นโตะและเปิดทำการในฐานะพิพิธภัณฑ์เรียกว่า พิพิธภัณฑ์เรือนจำอาบาชิริ (博物館網走監獄) เป็นพิพิธภัณฑ์เรือนจำเพียงแห่งเดียวในประเทศ[2] ในปี ค.ศ. 2016 อาคารแปดหลังที่ได้รับการอนุรักษ์ที่พิพิธภัณฑ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญโดยทบวงวัฒนธรรม[3][4] โดยมีสองหลังที่ได้ขึ้นทะเบียนในฐานะทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้

ผู้ต้องขังที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ในบันเทิงคดี

[แก้]

ในซีรีส์มังงะในปี พ.ศ. 2557 เรื่องโกลเดนคามุยซึ่งเป็นเรื่องราวภายหลังสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น มีเหตุการณ์เกี่ยวกับการโจมตีเรือนจำอาบาชิริซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งของเนื้อเรื่อง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Inmates in Hokkaido raise beef cattle to learn about value of life". The Japan Times. 2015-06-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  2. Kosaka, Kris (2013-03-24). "Abashiri astounds with its ice and convict connections". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  3. "道内の文化財を訪ねて 旧網走監獄 静かに光差す舎房 /北海道" (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Shimbun. 2016-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-08. สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  4. "国の重要文化財指定へ!事務局長に聞く「博物館網走監獄」の楽しみ方" (ภาษาญี่ปุ่น). Hokkaido Relations, Inc. 2015-12-29. สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  5. Schreiber, Mark (2018-05-05). "News outlets quick to fall in love with prison break coverage". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  6. Mitchell, Richard H. (1992). Janus-Faced Justice: Political Criminals in Imperial Japan. University of Hawaii Press. p. 93. ISBN 9780824814106. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  7. 7.0 7.1 Ishikawa, Machiko. "Writing the Sense of Loss in the Inner Self: A Narrative of Nakagami Kenji and Nagayama Norioin Late 1960s Tokyo" (PDF). Australian National University. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-20. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  8. Simonović, B. (2016-04-26). "Pol i Hiroši, braća po ocu Ličaninu" (ภาษาบอสเนีย). Vesti. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]