เมย์เฮม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมย์เฮม
เมย์เฮมในคอนเสิร์ตปี 2008
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดแลงฮัส, นอร์เวย์
แนวเพลงแบล็กเมทัล
ช่วงปี1984 – 1993
1995 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงDeathlike Silence, Century Media, Misanthropy, Season of Mist, Necropolis
สมาชิกAttila
Csihar
Necrobutcher
Hellhammer
Teloch
อดีตสมาชิกEuronymous
Manheim
Maniac
Messiah
Dead
Count Grishnack
เว็บไซต์thetruemayhem.com

เมย์เฮม (อังกฤษ: Mayhem) เป็นวงแบล็กเมทัลจากออสโล, นอร์เวย์ ก่อตั้งในปี 1984 มีสมาขิกดั้งเดิมคือเอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) มือกีตาร์, ยอร์น 'เนโครบัดเชอร์' สตับเบรัด (Jørn 'Necrobutcher' Stubberud) มือเบส และเคอร์วิน แมนไฮม์ (Kjetil "Manheim") มือกลอง โดยในการอัดเสียงแรกของวง "เดธครัช" (Deathcrush) มีนักร้องนำชื่อ สเวน เอลิค คริสเตียนเซน (Sven Erik Kristiansen)[1] ก่อนจะเปลี่ยนนักร้องนำใหม่เป็นเปอร์ "เดด" โฮลิน (Per "Dead" Ohlin) ที่ทำหน้าที่ทั้งแต่งเพลงและร้องนำ โดยในปัจจุบันนักร้องนำคือ อัตติลา ไซฮาร์ (Attila Csihar) ที่ผันตัวจากวิศวกรไฟฟ้าและครูสอนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ มาเป็นนักร้องนำ โดยเขายังเคยทำงานร่วมกับ "เดด" ในอัลบั้ม De Mysteriis Dom Sathanas อีกด้วย

วงเริ่มจากการอัดเทปเสียงในรูปของ EP โดยปราศจากค่ายเพลง จนภายหลัง "ยูโรนิมัส" ไปตั้งค่ายเพลงเอง คือ เดธไลค์ ไซเลินซ์ โปรดักชันส์ (Deathlike Silence Productions)[2] เมย์แฮมสะสมชื่อเสียงจากการแสดงสดที่เล่นในรูปแบบใต้ดิน และการสร้างภาพลักษณ์ฉาวโฉดต่อกระแสแฟนเพลงด้วยการเผาโบสถ์ไม้นอร์เวย์หลายแห่ง รวมถึงการใช้ความรุนแรงกับสมาชิกในวง โดย"ยูโรนิมัส" มือกีตาร์ได้ถูกวาร์จ วิเคอร์เนสมือเบสคนใหม่และสมาชิกวงเบอร์ซัมฆาตรกรรม ในปี 1993 ก่อนออกอัลบั้มแรกของเมย์แฮมเล็กน้อย และการฆ่าตัวตายของ "เดด" ด้วยการใช้ลูกซองยิงเข้าที่ศีรษะของตน ภาพการตายของเขาถูกถ่ายโดย "ยูโรนิมัส" แล้วนำไปทำเป็นปกอัลบั้มคอนเสิร์ต Dawn of the Black Hearts ในปี 1991[3][4]

เมย์แฮมได้ออกอัลบั้มแรก De Mysteriis Dom Sathanas ในปี 1994 ซึ่งได้รับการพิจารณาให้เป็นอัลบั้มที่มีอิทธิพลต่อวงการแบล็กเมทัลมากที่สุด[5] [6] โดยมีซิงเกิล Freezing Moon เป็นเพลงหลักของอัลบั้มที่ได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในเพลงแบล็กเมทัลที่ดีที่สุด[7]

ในปี 2007 เมย์แฮมได้รับรางวัลจาก Spellemannprisen ของนอร์เวย์ ในอัลบั้มที่ 4 Ordo Ad Chao สำหรับอัลบั้มเมทัลที่ดีที่สุด

การบันทึกเสียง[แก้]

'เนโครบัดเชอร์' มือเบส มือกลองและสมาชิกร่วมก่อตั้งคนเดียวที่ยังคงอยู่

[8]

EP[แก้]

  • Deathcrush (1987)
  • Wolf's Lair Abyss (1997)

อัลบั้ม[แก้]

  • De Mysteriis Dom Sathanas (1994)
  • Grand Declaration of War (2000)
  • Chimera (2004)
  • Ordo ad Chao (2007)
  • Esoteric Warfare (2014)
  • Daemon (2019)

ไทม์ไลน์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.metal-archives.com/albums/Mayhem/Deathcrush/252
  2. Chris Campion (20 February 2005): In the Face of Death, guardian.co.uk, accessed on 21 April 2013.
  3. Once Upon a Time in Norway (motion picture). Another World Entertainment. 2007.
  4. Pure Fucking Mayhem (motion picture). Index Verlag. 2008.
  5. Ramirez, Carlos (6 January 2009). "10 Great Black Metal Albums – IGN". ign.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2012.
  6. "Terrorizer Magazine List page". http://www.terrorizer.com/.
  7. Best Black Metal Songs. 02/08/2015
  8. Huey, Steve. "Biography: Mayhem". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 9 March 2010.