ข้ามไปเนื้อหา

เพลย์โดว์

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลย์โดว์ (แป้งโดว์) คือ ของที่เด็ก ๆ ใช้ปั้นขึ้นมาเป็นรูปร่างต่าง ๆ สร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นงานศิลปะ ปั้นเล่นสนุก ๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ปั้นส่งงานที่โรงเรียน แป้งโดว์ทำมาจากแป้ง, น้ำ, เกลือ, กรดบอริก, และ น้ำมันแร่ (มิเนอรัล ออยล์) ในยุค 1930 มีการผลิตสินค้าในเมืองซินซินเนติ, โอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา จุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดผนัง[1] ต่อมาช่วงยุค 1950 ตามโรงเรียนเริ่มเอาสินค้านี้มาให้เด็ก ๆ ปั้นเล่น ทำให้มีการปรับปรุงสินค้าใหม่ในช่วงกลางของยุค 1950 และกลายเป็นที่นิยมมากตามโรงเรียนต่างๆในซินซินเนติ ในปี 1956 มีการสาธิตวิธีการใช้เพลย์โดว์ในงานประชุมทางการศึกษา และเริ่มเปิดร้านขายตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ[2] ในปี 1957 มีการทำโฆษณาเพลย์โดว์ตามรายการโทรทัศน์ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ ซึ่งเพิ่มยอดขายได้เป็นจำนวนมาก[1] ตั้งแต่ช่วงกลางของยุค 1950 เพลย์โดว์ได้เข้าสู่ตลาดของเล่นเด็ก และได้เพิ่มยอดจำนวนสินค้าอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เพลย์โดว์ชุดโรงงานแสนสนุก (ฟัน แฟคทอรี่)[3] ในปี 2003 สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นได้ยกให้เพลย์โดว์นี้เป็นหนึ่งใน "ของเล่นแห่งศตวรรษ"[4]

ประวัติ

[แก้]

จุดเรื่มต้น

[แก้]
วัตถุสร้างจากเพลย์โดว์

เพลย์ โดว์ หรือแป้งโดว์ เป็นที่รู้จักกันว่าไร้สารพิษ ไม่มีการย้อมสี สามารถนำมาใช้ปั้นให้เป็นรูปร่างใหม่ ๆ ได้อีก แต่แท้จริงแล้วเพลย์โดว์เป็นสารที่ยืดหยุ่นง่าย คล้ายๆกับพวกปูนที่ใช้อุดรอยรั่ว คิดค้นโดย โนอาห์ แมควิคเกอร์ ซึ่งทำงานอยู่ที่บริษัท คูตอล โปรดักส์ ผลิตสารตั้งต้นของสบู่ ในเมืองซินซินเนติ เริ่มต้นจากโครเจอร์ โกรเซอรีมาขอให้ผลิตสินค้าที่ใช้สำหรับทำความสะอาดคราบตกค้างของถ่านที่ติดที่ผนังห้อง[5] แต่ในช่วงหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สองมีการใช้แก๊สธรรมชาติมาแทนการเผาถ่านหินเพื่อให้ความอบอุ่นในบ้าน ทำให้เขม่าควันที่เกิดขึ้นในบ้านลดลง ประกอบกับมีการใช้ผนังห้องแบบไวนิลที่สามารถล้างออกได้ง่ายเข้ามาแทนผนังแบบเก่า ทำให้ตลาดธุรกิจของสินค้าที่ใช้ทำความสะอาดผนังซบเซาลงอย่างมาก โจ แมควิคเกอร์ (หลายชายของแมควิคเกอร์) ร่วมงานกับคูตอล พยายามประคองไม่ให้บริษัทล้มละลาย เขาพบว่า มีการใช้สินค้าทำความสะอาดคราบผนังนี้ไปประดับต้นคริสมาสต์ตามโรงเรียนเด็กเล็กต่าง ๆ[1]

การนำเสนอสินค้า

[แก้]

โจ แมควิคเกอร์ ได้นำเสนอสินค้าเพลย์โดว์ในงานประชุมทางการศึกษากับบริษัทที่คอยหาสินค้าให้กับโรงเรียนต่าง ๆ[1] และห้างชื่อดังวู้ดเวิด แอนด์ โลธอปในเมืองวอชิงตัน, ดีซี เริ่มวางขายสินค้าเพลย์โดว์[6] ในปี 1956 ตระกูลแมควิคเกอร์ได้ก่อตั้งบริษัทเรนโบว์ คราฟท์เพื่อผลิตและจำหน่ายเพลย์โดว์[7] และในปีเดียวกันนี้ มีการเพิ่มไลน์การผลิตของเพลย์โดว์แบบแพ็คสามกระป๋อง (กระป๋องละ 7 ออนซ์) และมีการสาธิตตามร้านค้าต่าง ๆ ต่อมามีการเปิดร้านขายในห้างเมซี่ในนิวยอร์ก และห้างมาร์แชล ฟิลด์ในชิคาโก เมื่อปี 1957 ด็อกเตอร์เทียน หลิว (นักเคมีวิทยา)ได้ลดปริมาณของเกลือในเพลย์โดว์(เพื่อให้แป้งโดว์แห้งโดยที่สีไม่ซีด) มีการโฆษณาเพลย์โดว์ทางโทรทัศน์ตามรายการเด็กต่าง ๆ กัปตันจิงโจ้, โรงเรียนดิงดอง, และ ห้องรอมเปอร์ ในปี 1958เพลย์โดว์มียอดขายเกือบ 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ.[1]

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

[แก้]

ในปี 1964 เพลย์โดว์ส่งออกไปประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี[1] ช่วงยุค 1980 ได้เลิกใช้กระดาษแปะข้างกระป๋อง (รวมถึงฝาข้างใต้ที่ทำจากเหล็กทำให้เกิดสนิม) มาใช้กระป๋องพลาสติกซึ่งเก็บได้ดีกว่าแทน[8] ก่อนนั้นในปี 1965 บริษัทเรนโบว์ คราฟท์จดสิทธิบัตรเพลย์โดว์ไว้[9] แต่ต่อมาในปีเดียวกันนั้น เจอเนรัล มิลส์ ซื้อเรนโบว์ คราฟท์ ทั้งหมดรวมถึงเพลย์โดว์ ในราคา 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และได้ใช้สารประกอบของเคนเนอร์ โปรดักส์เองแทนสารประกอบเดิม.[1][6] ในปี 1971 ได้รวมบริษัทเรนโบว์ คราฟท์ และ เคนเนอร์ โปรดักส์ เข้าด้วยกันและในปี 1987 ตันก้า คอร์ปอเรชั่น ได้ซื้อขึ้นมาทั้งหมด ต่อมาปี 1991แฮสโบร กลายมาเป็นเจ้าของสินค้าเพลย์โดว์ และผลิตจำหน่ายมาจนถึงทุกวันนี้ ผ่านบริษัทลูกชื่อว่า เพลย์สคูล[1] ในปี 1996 เพลย์โดว์เพิ่มสีทอง และสีเงินเพื่อฉลองที่ครบรอบ 40 ปี

สัญลักษณ์

[แก้]

กลางปี 1950 ข้างกระป๋องเพลย์โดว์จะเป็นรูปวาดของเด็กๆ ต่อมาในปี 1960 ได้เปลี่ยนมาใช้สัญลักษณ์รูปภูตเอลฟ์ แต่ภายหลังก็เปลี่ยนมาใช้รูปเพลย์โดว์พีท เป็นการ์ตูนเด็กผู้ชายสวมเสื้อสม็อคและหมวกบาเรตต์[1] เมื่อปี 2002 ได้เปลี่ยนหมวกบาเรตต์ของพีทมาเป็นหมวกเบสบอลแทน[1] ตั้งแต่นั้นจะได้เห็นเพลย์โดว์พีทมีชีวิตร่าเริงในโฆษณาเรื่อยมา จากนั้นมีน้องใหม่ชื่อ ทับบี้ ในช่วงพบปะพูดคุยที่งานมหกรรมของเล่น ปี 2012

ส่วนประกอบ

[แก้]

ผู้ผลิตเพลย์โดว์ แฮสโบร เผยส่วนประกอบของเพลย์โดว์ ดังนี้ น้ำ, เกลือ, และ แป้ง,[2] ซึ่งในปี 2004 สิทธิบัตรสหรัฐอเมริการะบุว่า เพลย์โดว์ประกอบไปด้วย น้ำ, สารยึดเกาะตั้งต้นของแป้ง, สารยับยั้งการคืนตัว, เกลือ, สารหล่อลื่น, สารลดแรงตึงผิว, วัตถุกันเสีย, ตัวทำให้แข็ง, สารดูดความชื้น, น้ำหอม, และสี[10] เติมปิโตรเลียม เพื่อให้สัมผัสที่นุ่มลื่น ส่วนบอแร็กซ์ช่วยไม่ให้ขึ้นรา[3] ส่วนแป้งโดว์ที่ทำกันเองตามบ้านนั้นมักจะผสมจากเกลือ, แป้งสาลีหรือแป้งข้าวโพด, น้ำมันพืช (อย่างเช่นน้ำมันคาโนล่า หรือน้ำมันมะกอก) และ ครีมออฟทาร์ทาร์[11]

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
เพลย์โดว์ ฟัน แฟคตอรี่

ในปี 1960 บ๊อบ บ๊อคไกลด์และบิลล์ เดลได้คิดค้นเพลย์โดว์ชุดโรงงานแสนสนุก (ฟัน แฟคทอรี่) (เป็นอุปกรณ์กดแป้งโดว์ให้ออกมาเป็นรูปร่างหลาย ๆ แบบ)[1] ต่อมาปี 1977 มีเพลย์โดว์ชุดร้านทำผมสวย ๆ ชุดชิค (ฟัซซี่ ปั้มเปอร์ บาร์เบอร์แอนด์บิวตี้ ช็อป) ประกอบไปด้วยตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ ที่มีรูสามารถดันแป้งโดว์ออกมาเป็นผมได้ ในปี 1996 มีการเปิดตัว เพลย์โดว์ ครีเอชั่น, เป็นซีดีซอฟแวร์เพื่อการศึกษา ในปี 2003 มีการจำหน่ายเพลย์โดว์โต๊ะสร้างสรรค์พาสนุก (ครีเอทิวิตี้ เทเบิ้ล) ช่วงครบรอบในปี 2007 มีสินค้าออกมาอีกมากมาย เพลย์โดว์ชุดวันเกิด (เบิร์ดเดย์ บัคเก็ต), เพลย์โดว์แพ็ครวมห้าสิบสี (ฟิฟตี้ คัลเลอร์ส แพ็ค), ชุดร้านตัดผมแสนสนุก(ฟัซซี่ ปั้มเปอร์ เครซี่ คัทส์) (เป็นการปรับปรุงมาจากชุดร้านทำผมรุ่นเก่าของปี 1977), และเพลย์โดว์สุดสร้างสรรค์ (ครีเอทิวิตี้ เซ็นเตอร์)[3] ในปี 2013 มีการเปิดตัว "เพลย์โดว์พลัส" จะน้ำหนักเบากว่า ยืดหยุ่นกว่า และนุ่มกว่า เพลย์โดว์แบบธรรมดา

ผลทางวัฒนธรรม

[แก้]

ยอดจำหน่ายของเพลย์โดว์ในช่วงปี 1955-2005 มีมากกว่า 2 พันล้านกระป๋อง[1] และในปี 2005 เริ่มมีการจำหน่ายเพลย์โดว์ใน 75 ประเทศทั่วโลก รวมแล้วประมาณ 95 ล้านกระป๋องต่อปี[1] ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีมากกว่า 6,000 ร้านค้าที่จำหน่ายเพลย์โดว์[12]

ในคราวที่เพลย์โดว์ครบรอบ 15 ปี ดีมีเทอร์ ฟราแกรนซ์ ไลบรารี่ คิดค้นน้ำหอมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกลิ่นของเพลย์โดว์ในจำนวนจำกัด นิยามกลิ่นนี้ว่า "สำหรับผู้ที่ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ผู้ที่ตามหากลิ่นพิเศษซึ่งเตือนให้ระลึกถึงวัยเด็ก"[2]

เมื่อปี 1998 เพลย์โดว์ ได้เป็นหนึ่งในของเล่นที่นิยมแห่งชาติ โดยเดอะสตรอง ในเมืองโรเชสเตอร์, นิวยอร์ก

เมื่อปี 2003 สมาคมอุตสาหกรรมของเล่น ได้เพิ่มเพลย์โดว์ใน "ของเล่นแห่งศตวรรษ" ในรายการของเล่น 100 ชิ้นที่เป็นที่จดจำและเป็นผลงานชิ้นสร้างสรรค์ที่สุดในยุคศตวรรษที่ 20[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 Walsh, Tim (2005). "Play-doh". Timeless Toys: Classic Toys and the Playmakers Who Created Them. Kansas City: Andrews McMeel Publishing. pp. 115–120. ISBN 978-0-7407-5571-2.
  2. 2.0 2.1 2.2 Wilson, Tracy V. "How Play-Doh Modeling Compound Works". How Stuff Works. สืบค้นเมื่อ 19 February 2009.
  3. 3.0 3.1 3.2 Sobey, Edwin J.C. Woody Sobey (2008). The Way Toys Work: The Science Behind the Magic 8 Ball, Etch A Sketch, Boomerang, and More. Chicago Review Press. p. 96. ISBN 978-1-55652-745-6.
  4. 4.0 4.1 "Toy Industry Association Announces Its Century of Toys List". Business Wire. 21 January 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-09. สืบค้นเมื่อ 19 February 2009.
  5. "Accidental Brands", from Under the Influence, by Terry O'Reilly, on CBC.ca; first broadcast March 17, 2012
  6. 6.0 6.1 "Rainbow Crafts Company, Inc". Ohio History Central. 28 July 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-12. สืบค้นเมื่อ 30 October 2008.
  7. Phil Ament. "Play-Doh History - Invention of Play-Doh". Ideafinder.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
  8. "The 50 Year History of Play-Doh". 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-15. สืบค้นเมื่อ 19 February 2009.
  9. Noah W. McVicker and Joseph S. McVicker, "Plastic modeling composition of a soft, pliable working consistency," เก็บถาวร 2017-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. patent no. 3,167,440 (filed: May 17, 1960; issued: January 26, 1965).
  10. "Patent Storm". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 19 February 2009.
  11. How to Make Playdough เก็บถาวร 2015-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, How to Make Playdough Dot Net
  12. HowStuffWorks "How Play-Doh Modeling Compound Works"

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Hasbro