เบญจางคประดิษฐ์
ส่วนหนึ่งของ |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน · เซน | |
สังคมศาสนาพุทธ | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
พุทธสังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ |
|
ดูเพิ่มเติม | |
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า คือการกราบโดยให้อวัยวะ 5 ส่วนจดลงให้ติดกับพื้น คือเข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และหน้าผาก เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การกราบที่ใช้สำหรับกราบพระ เรียกว่า กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
การกราบแบบนี้ผู้ชายให้นั่งคุกเข่า เรียกว่านั่งท่าพรหมหรือท่าเทพบุตร ผู้หญิงให้นั่งคุกเข่าราบ คือนั่งทับฝ่าเท้าทั้งสอง เรียกว่านั่งท่าเทพธิดา ประนมมือไหว้ที่หน้าอกแล้วยกมือขึ้นไหว้โดยให้หัวแม่มืออยู่ระดับหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้อยู่ระดับตีนผม แล้วหมอบลง ทอดฝ่ามือไว้บนพื้น ให้ฝ่ามือทั้งสองห่างกันเล็กน้อย วางหน้าผากลงจดพื้นระหว่างฝ่ามือ เมื่อหน้าผากถึงพื้นแล้วเงยหน้า ตั้งตัวตรงแล้วเริ่มกราบใหม่ครั้งที่สอง ครั้งที่สามก็เหมือนกัน
อ้างอิง[แก้]
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ : วัดราชโอรสาราม, พ.ศ. 2548.