เทอุฬะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ศิขรเทอุฬะ" ที่ ลิงคราชเทวสถาน

เทอุฬะ (โอเดีย: ଦେଉଳ deuḷa) เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบกลิงคะ ที่พบได้ในโบสถ์พราหมณ์ของโอริศาในอินเดียตะวันตก[1] คำว่า "เทอุฬะ" มาจากภาษาโอริยา เป็นคำเรียกเฉพาะของสิ่งปลูกสร้างรูปแบบเฉพาะที่พบได้ในวิหารส่วนใหญ่ในโอริศา[2]

เทอุฬะสามารถแบ่งย่อยได้เป็นสามรูปแบบหลัก ๆ คือ[3] เรขเทอุฬะ (Rekha Deula) โดยมาจากคำว่า เรข ในภาษาโอริยา ซึ่งแปลว่าเส้นตรง เรขเทอุฬะมีลักษณะเทียบเท่ากับศิขร ตั้งอยู่เหนือครรภคฤห์ในสถาปัตยกรรมของอินเดียเหนือ, ปีธเทอุฬะ (Pidha Deula) มีลักษณะเป็นรูปพิรามิด คลุมสิ่งปลูกสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เทียบเท่าได้กับวิมานในวิหารแบบทราวิฑ และ กขารเทอุฬะ (Khakhara deula) มาจากคำโอริยาคำว่า กขารุ แปลว่า ผลน้ำเต้า มีลักษณะเป็นพิรามิดสูงชะลูด เทียบเท่ากับโคปุรัม

อ้างอิง[แก้]

  1. "Architecture on the Indian Subcontinent - Glossary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-01-26.
  2. Fergusson, James. "ORISSA". History of Indian and Eastern Architecture. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 92–116. doi:10.1017/cbo9781139814638.007.
  3. http://orissa.gov.in/e-magazine/Orissareview/nov2005/engpdf/Orissan_Temple_Architecture.pdf p. 45-47

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]