เทรซี เอมิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทรซี เอมิน
CBE, RA
เอมินเมื่อปี 2007
เกิดเทรซี เอมิน
(1963-07-03) 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 (60 ปี)
ครอยเดิน ประเทศอังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
การศึกษา
ผลงานเด่นEveryone I Have Ever Slept With 1963–1995, My Bed
ขบวนการศิลปินบริเตนเยาวชน
เว็บไซต์traceyeminstudio.com

เทรซี เอมิน (อังกฤษ: Tracey Emin, CBE, RA (/ˈɛmɪn/; เกิด 3 กรกฎาคม 1963)[1] เป็นศิลปินชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักจากงานศิลปะแนวอัตชีวประวัติและสารภาพ (confessional) เธอใช้สื่อในการสร้างสรรค์ศิลปะมากมาย ทั้งลายเส้น, ภาพเขียน, ประติมากรรม, ภาพยนตร์, ภาพถ่าย, อักษรนีออน และ การเย็บอัพพลีเค[2] เธอเคยเป็น "ออนฟอนต์เทอรีเบิล" ของกลุ่มศิลปินบิรเตนเยาวชนในทศวรรษ 1980s แต่ในปัจจุบันเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศิลปะ[3]

ในปี 1997 ผลงานชื่อ Everyone I Have Ever Slept With 1963–1995 ซึ่งเป็นเต็นต์ปักเย็บอัพพลีเคแสดงรายชื่อของทุกคนที่ศิลปินเคยร่วมหลับนอนด้วย ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการ เซนเซชั่น โดยชาร์ลส์ ซาทชี ที่ราชวิทยาลัยศิลปะในลอนดอน[4] ในปีเดียวกัน เธอยังเป็นที่พูดถึงโดยสื่อจำนวนมากหลังเธอพูดคำหยาบหลาย ๆ ครั้งขณะกำลังเมาออกรายการพูดคุยสด The Death of Painting บนโทรทัศน์ของอังกฤษ[5]

ในปี 1999 เอมินจัดนิทรรศการเดี่ยวของตนครั้งแรกที่เลห์มันน์ มาวพิน ในชื่อ Every Part of Me's Bleeding และในปีเดียวกันเธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลเทิร์นเนอร์ และได้จัดแสดงผลงานติดตั้งสำเร็จรูปในชื่อ My Bed ซึ่งประกอบด้วยเตียงนอนสกปรกของเธอเอง ชุดชั้นในเปลื้อนเลือด และถุงยางอนามัย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. (n.d.). Tracey Emin. The Perfect Place to Grow, (2001). Tate website. Retrieved 15 April 2020.
  2. Ltd, Hymns Ancient & Modern (1 December 2006). ThirdWay (ภาษาอังกฤษ). Hymns Ancient & Modern Ltd.
  3. Geneviève, Roberts. "Tracey Emin is made Royal Academician". สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
  4. (12 September 1997). Sensation at the Royal Academy of Arts, London (press release mentioning Emin). artdesigncafe. Retrieved 15 April 2020.
  5. (18 March 2005). Tracey Emin – Artist. The Hitchhiker's Guide to the Galaxy (website). Retrieved 15 April 2020.
  6. Jones, Jonathan. (16 September 2016). Tracey Emin makes her own crumpled bed and lies in it, on Merseyside. The Guardian. Retrieved 15 April 2020.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Elliot, Patrick and Schnabel, Julian. Tracey Emin: Twenty Years (National Galleries of Scotland, 2008); ISBN 978-1-906270-08-7.
  • Brown, Neal. Tracey Emin (Tate's Modern Artists Series) (London: Tate, 2006); ISBN 1-85437-542-3.
  • Doyle, Jennifer. Sex Objects: Art and the Dialectics of Desire (Minneapolis: University of Minnesota Press, 2006); ISBN 0-8166-4526-4.
  • Merck, Mandy and Townsend, Chris (eds). The Art of Tracey Emin (London: Thames & Hudson, 2002); ISBN 0-500-28385-0
  • Remes, Outi. "After Bad Taste: Tracey Emin’s Work on Abortion and Other Confessions" in Harris, Jonathan (ed.), Inside the Death Drive Excess and Apocalypse in the World of the Chapman Brothers (Liverpool: Liverpool University Press and Tate Liverpool, 2010), pp. 119–43; ISBN 978-1-84631-192-5.
  • Remes, Outi. "Replaying the Old Stereotypes into an Artistic Role: the case of Tracey Emin" in Women’s History Review (Vol. 18, No. 4, September 2009), pp. 561–77.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]