เทมอิมพาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทมอิมพาลา
เทมอิมพาลาขณะแสดงในเทศกาลโฟลว์ ปี 2019
เทมอิมพาลาขณะแสดงในเทศกาลโฟลว์ ปี 2019
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดเพิร์ท รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
แนวเพลง
ช่วงปี2007–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
เว็บไซต์official.tameimpala.com

เทมอิมพาลา (อังกฤษ: Tame Impala) เป็นโปรเจกต์ดนตรีแนวไซเคเดลิกสัญชาติออสเตรเลียของเควิน ปาร์กเกอร์[6] ซึ่งเป็นผู้เขียน บันทึกเสียง ทำการแสดง ตลอดจนผลิตเพลงทั้งหมดของโปรเจกต์ สมาชิกร่วมทัวร์ประกอบด้วยปาร์กเกอร์ (ร้องนำ กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง) โดมินิก ซิมเปอร์ (กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง) เจย์ วอตสัน (เครื่องสังเคราะห์เสียง ร้องเบื้องหลัง กีตาร์) แคม เอเวอรี (กีตาร์เบส ร้องเบื้องหลัง เครื่องสังเคราะห์เสียง) และจูเลียน บาร์บากัลโล (กลอง ร้องเบื้องหลัง) เทมอิมพาลามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวงดนตรีแนวไซเคเดลิกร็อกอย่าง พอนด์ ซึ่งมักมีการหมุนเวียนสมาชิกและทำงานร่วมกัน ดังเช่นนิก ออลบรุก ก็เคยเป็นสมาชิกร่วมทัวร์ แรมเริ่มวงได้เซ็นสัญญากับโมดูลาร์เรเคิดดิงส์ แต่ปัจจุบันเซ็นสัญญากับอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ในสหรัฐ[7] และฟิกชันเรเคิดส์ในสหราชอาณาจักร

ปาร์กเกอร์ก่อตั้งโปรเจกต์นี้ในเมืองเพิร์ทเมื่อปี 2007 หลังจากออกซิงเกิลและอีพีมาแล้วหลายชุด เทมอิมพาลาออกสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวชื่อ Innerspeaker ในปี 2010 อัลบั้มได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์และยังได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำในออสเตรเลีย ผลงานที่ตามมาในปี 2012 อย่างอัลบั้มชุด Lonerism ก็ได้รับคำชมเช่นเดียวกันและทำให้วงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงออลเทอร์นาทิฟยอดเยี่ยม เทมอิมพาลาออกอัลบั้มชุดที่สาม Currents วางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม 2015 อัลบั้มได้รับรางวัลอาเรียมิวสิกอะวอดส์ สาขาอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และอัลบั้มแห่งปี ปาร์กเกอร์ได้รับรางวัลเอพราอะวอดส์ สาขาเพลงแห่งปี จากเพลง "เลตอิตแฮปเพน"[8] อัลบั้มชุดที่สี่ The Slow Rush ยังทำให้เทมอิมพาลาคว้าห้ารางวัลที่งานประกาศรางวัลอาเรียมิวสิกอะวอดส์ 2020

สมาชิก[แก้]

สตูดิโอ
สมาชิกร่วมทัวร์
  • เควิน ปาร์กเกอร์ – ร้องนำ กีตาร์ (2007–ปัจจุบัน) เครื่องสังเคราะห์เสียงเป็นบางครั้ง (2019–ปัจจุบัน)
  • เจย์ วอตสัน – เครื่องสังเคราะห์เสียง คีย์บอร์ด (2012–ปัจจุบัน) ร้องเบื้องหลัง (2007–ปัจจุบัน) กลอง (2007–2012) กีตาร์ (2013–2017)
  • โดมินิก ซิมเปอร์ – กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง คีย์บอร์ด (2010–ปัจจุบัน) กีตาร์เบส (2007–2013)
  • จูเลียน บาร์บากัลโล – กลอง ร้องเบื้องหลัง (2012–ปัจจุบัน)
  • แคม เอเวอรี – กีตาร์เบส ร้องเบื้องหลัง (2013–ปัจจุบัน) เครื่องสังเคราะห์เสียง (2019–ปัจจุบัน)
  • ราฟาเอล ลาซซาโร-โกลอน – เครื่องประกอบจังหวะ (2019–ปัจจุบัน)
อดีตสมาชิกร่วมทัวร์
  • นิก ออลบรุก – กีตาร์เบส กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง (2009–2013)
  • ลอเรน ฮัมฟรีย์ – กลอง (2019; เข้ามาเล่นแทนจูเลียน บาร์บากัลโล)[9]

เส้นเวลา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gregory Heaney (8 October 2012). "Lonerism – Tame Impala | Songs, Reviews, Credits, Awards". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2014. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
  2. "Tame Impala". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
  3. Hyden, Steven (7 March 2019). "Will This Be The Year That Tame Impala Becomes One Of The World's Biggest Bands?". Uproxx. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
  4. Breihan, Tom (23 September 2020). "Watch Tame Impala Go Full Synthpop, Playing 'Borderline' on Fallon". Stereogum. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  5. Andrew Hatt (18 December 2018). "A New Trip for a New Era: The Neo-Psychedelia Explosion of the 2010s". Backyard Collusions. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  6. "Tame Impala | Biography, Albums, & Streaming Radio | AllMusic". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2016. สืบค้นเมื่อ 21 July 2016.
  7. "Tame Impala Discuss New Album 'Currents', Release Album Artwork and New Track 'Cause I'm A Man' [LISTEN] : Genres". Music Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2015. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  8. Brandle, Lars (6 April 2016). "Courtney Barnett, Tame Impala's Kevin Parker Win Big at APRA Awards". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2016. สืบค้นเมื่อ 6 December 2016.
  9. Weiner, Jonah (21 May 2019). "The Cosmic Healing of Tame Impala". Rolling Stone.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]