เถาคันแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เถาคันแดง
ผลของเถาคัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Vitales
วงศ์: Vitaceae
สกุล: Parthenocissus
สปีชีส์: P.  quinquefolia
ชื่อทวินาม
Parthenocissus quinquefolia
(L.) Planch.

เถาคันแดง[1] (อังกฤษ: Virginia creeper) เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวขนาดเล็ก มีมือเกาะแตกจากข้อไม่มีขน มีถิ่นกำเนิดในทางตะวันออกและตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ, ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา, ทางตะวันออกและตอนกลางของสหรัฐอเมริกา, ทางตะวันออกของประเทศเม็กซิโก, และประเทศกัวเตมาลา, ไปทางตะวันตกไกลถึงรัฐแมนิโทบา, รัฐเซาท์ดาโคตา, รัฐยูทาห์ และรัฐเท็กซัส ในประเทศไทยมีชื่อท้องถิ่นว่า เถาคัน, เถาคันแดง, เถาคันขาว, เครือหุนแป, เครือพัดสาม

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เถาคันแดงเป็นพรรณไม้เลื้อย ชอบพาดพันตามต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบย่อยประมาณ 3 ใบ แผ่นใบด้านล่ามีขนเล็กน้อย ลักษณะใบนั้นตรงริมขอบใบเป็นจักซี่ฟัน เมื่อสดอวบน้ำใบย่อยปลายสุดรูปไข่หรือรูปไข่กลับกว้าง 1–4 ซ.ม. ยาว 1.5–6 ซ.ม. ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกะตังบายหรือดอกเถาวัลย์ปูนหรือฝิ่นต้นและดอกนั้นจะออกเป็นช่อใหญ่กระจุกแบนและแน่น ออกที่ซอกใบดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดกลมโตเท่าผลมะแว้ง ผลดิบนั้นจะเป็นสีเขียวใช้กินเป็นอาหารได้ ส่วนผล เมื่อสุกจะเป็นสีดำขนาด 0.5–1 ซ.ม. ถ้าบีบจะมีน้ำออกเป็นสีม่วงแดงทำให้คันมาก

ถิ่นที่อยู่[แก้]

พบในป่าเต็งรัง, ป่าผสมผลัดใบ, ที่ชื้นไม่มีน้ำท่วมขัง ส่วนเถาคันที่เกิดขึ้นตามป่านั้นมักจะอยู่ได้จนเถามีขนาดโตเท่าข้อมือของคนและถ้าตัดออกจะเห็นเนื้อภายในเป็นวง ๆ มีสีแดงสลับกัน ลักษณะคล้ายเถาวัลย์เปรียง

การใช้ประโยชน์[แก้]

ภาคใต้ นิยมนำใบรวมทั้งผลอ่อนมาแกงส้มปลา แกงพุงปลา[2] แกงเหลือง ภาคอีสานนำส่วนใบปรุงรสในการต้มเป็ด ต้มปลา เครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคอีสาน (มหาสารคาม) มีตำรับยารักษาอาการเหน็บชาในวัยชราด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ ส้มขี้มอด, หูลิง, เครือทางควาย โดยนำเอาแก่นขอไม้ทั้งสามต้มรวมกันใช้ดื่ม ผลแก่สามารถนำไปหมักทำไวน์ (มีรสเปรี้ยวคล้ายองุ่น) ใบนำไปทำเป็นผงนัว (ปรุงรสอาหาร)[3]

สรรพคุณทางแพทย์แผนไทย[แก้]

  • เถา ใช้ปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยารักษาโรคกษัยทำให้เส้นหย่อน เป็นยาขับลมขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด ดับพิษตานซาง
  • ราก แก้อักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และต้มกินน้ำเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เป็นยาฟอกโลหิต แก้ฟกซ้ำภายใน ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลาและรักษาอาการฟกช้ำภายใน
  • ใบ นำไปอังไฟให้พอเหี่ยว ใช้ปิดฝีบ่มหนอง ถ้าฝีนั้นแตกก็จะทำให้ดูดหนองคล้ายขี้ผึ้งอิดติโยนของฝรั่ง
  • อื่น ๆ พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดที่มีต้นเขียวเรียกว่าเถาคันขาว ส่วนชนิดที่เป็นสีแดงนั้นเรียกว่าเถาคันแดง และนิยมใช้สีแดงปรุงเป็นยา[4]

คุณค่าทางโภชนาการ[แก้]

  • เถาคัน, ผล ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้คือ[5]
วิตามินเอ (Total Vitamin A (RE) ) 39 μg / 100 g
เบต้า เคโรทีน (Beta-carotene) 236 μg / 100 g
วิตามินอี (Vitamin E) 2.64 mg / 100 g
วิตามินบี 1 (Thiamin ) 0.02 mg / 100 g
วิตามินบี 2 (Riboflavin ) 0.09 mg / 100 g
ไนอะซิน (Niacin ) 1.62 mg / 100 g
วิตามินซี (Vitamin C ) 8 mg / 100 g
พลังงาน (Energy ) 27 kcal / 100 g
น้ำ (Water ) 93.4 g / 100 g
โปรตีน (Protein ) 0.4 g / 100 g
ไขมัน (Fat ) 0.4 g / 100 g
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate ) 5.5 g / 100 g
ใยอาหาร (กาก) (Crude/ Dietar ) -- g / 100 g
เถ้า (Ash ) 0.3 g / 100 g
แคลเซียม (Calcium ) -- mg / 100 g
ฟอสฟอรัส (Phosphorus ) -- mg / 100 g
ธาตุเหล็ก (Iron ) -- mg / 100 g
(retinol ) -- μg / 100 g

* หมายเหตุ -- คือ ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ / mg คือ มิลลิกรัม / μg คือ ไมโครกรัม / g คือ กรัม / kcal คือ กิโลแคลอรี

อ้างอิง[แก้]

  1. เต็ม สมิตินันทน์ (2006). "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย". สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010.
  2. อรทัย เนียมสุวรรณ; นฤมล เส้งนนท์; กรกนก ยิ่งเจริญ; พัชรินทร์ สิงห์ดำ (กรกฎาคม–กันยายน 2012). "พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา" (PDF). วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981–991. eISSN 2586-9531.
  3. "ส้มออบแอบแก้อักเสบ ลดแผลในกระเพาะ". รักบ้านเกิด. 3 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016.
  4. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม (1999). "เถาคัน". พจนานุกรมสมุนไพรไทย (5 ed.). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1977). pp. 341–342. ISBN 974-24-6373-5.
  5. "ความรู้เกี่ยวกับ เถาคัน, ผล ( treebine fruit )". Vitamin.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]