เดอะไคโร

พิกัด: 38°54′41″N 77°02′15″W / 38.911326°N 77.037546°W / 38.911326; -77.037546
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไคโรอะพาร์ตเมนต์บิลดิง
เดอะไคโรตั้งอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี.
เดอะไคโร
ที่ตั้งวอชิงตัน ดี.ซี.
พิกัด38°54′41″N 77°02′15″W / 38.911326°N 77.037546°W / 38.911326; -77.037546
สร้างเมื่อ1894
สถาปนิกธอมัส แฟรงคลิน ชไนเดอร์
รูปแบสถาปัตยกรรมมัวร์ และ โรมาเนสก์ฟื้นฟู
เลขอ้างอิง NRHP94001033 [1]
ขึ้นทะเบียน NRHP9 กันยายน 1994

เดอะไคโร (อังกฤษ: The Cairo) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1615 ถนนคิว นอร์ตเวสต์ (Q Street NW) ในวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นตึกสำคัญในย่านดูพอนต์เซอร์เคิล และเป็นตึกที่อยู่อาศัยที่สูงที่สุดในเขตโคลัมเบีย ผลงานออกแบบโดยสถาปนิก ทอมัส แฟรงคลิน ชไนเดอร์ สร้างเสร็จในปี 1894 และถือเป็น "ตึกระฟ้าสำหรับการอยู่อาศัยแห่งแรกของนคร" เดอะไคโรมีความสูง 164-ฟุต (50-เมตร) สร้างขึ้นจากอิฐ และมีส่วนผลักดันให้เกิดข้อบังคับและกฎหมายระดับประเทศที่กำหนดความสูงของสิ่งปลูกสร้างในเมือง กฎระเบียบเหล่านี้ยังคงมีอิทธิพลต่อทิวนครของวอชิงตันมาถึงปัจจุบัน[1][2]

ในปัจจุบัน เดอะไคโรเป็นคอนโดมิเนียม มีห้องอะพาร์ตเมนต์ที่มีผู้อยู่อาศัยทั้งเช่าอยู่และซื้อขาด มีขนาดห้องเล็กไปจนถึงสูงหลายชั้นและมีมากถึงสามห้องนอน

ประวัติศาสตร์[แก้]

เดอะไคโรมีความสูง 12 ชั้น ทำให้สูงเหนืออาคารโดยรอบทั้งหมด นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1894 ความสูงของตึกนี้ทำให้ชาวเมืองไม่พอใจอย่างมากจนเรียกตึกนี้ว่าเป็น "เรื่องโง่เง่าของไชนเดอร์" (Schneider's Folly) และทำการล็อบบี้ให้สภาคองเกรสทำการออกกฎจำกัดความสูงของตึกที่อยู่อาศัยในเขตโคลัมเบีย รัฐบัญญัติความสูงอาคาร ปี 1899 ยังคงมีบทชาทในการกำหนดความสูงของตึกสูงในวอชิงตันดีซีถึงปัจจุบัน[2]

ในราวปี 1900 มีการเปลี่ยนชื่ออาคารเป็นไคโรโฮเท็ล ในยุคนั้น ไคโรโฮเท็ลกลายมาเป็นศูนย์กลางของชีวิตสังคมในดีซี ห้องเต้นรำ (ballroom) เป็นสถานที่พบปะทางสังคมและทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง ผู้อยู่อาศัยและแขกของไคโรในยุคนี้รวมถึงสก็อต ฟิตซ์เจอรอลด์, ทอมัส เอดิสัน และบุคคลที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองอีกจำนวนมาก[3]

ในวันที่ 15 มีนาคม 1897 ราชินีแห่งอาณาจักรฮาวายที่ถูกโค่นล้มบัลลังก์ Liliuokalani เสด็จมาพำนักที่เดอะไคโร[4] ในระหว่างที่ทรงทำการล็อบบี้ให้ประธานาธิบดี กรัฟเวอร์ คลีฟแลนด์ จ่ายเงินชดเชยกรณีการล้มล้างราชาธิปไตยในฮาวายเมื่อมกราคม 1893 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1905 เดอะไคโรกลายเป็นเป้าของกลุ่มแรงงานหลังระหว่างการนัดประท้วงหยุดงานของแรงงาน คนงานทาสี เจ แฟรงก์ แอนบี (J. Frank Hanby) ร่วงลงมาเสียชีวิตเนื่องจากเชือกที่ผูกตัวขาด[5] มีผู้ค้นพบว่าเชือกดังกล่าวเป็นไปได้ว่าถูกตัดโดยใช้กรด นำไปสู่การตรวจสอบหาสาเหตุการตายครั้งใหญ่ซึ่งมีรายงานอยู่ใน The Washington Post สมาชิกชนชั้นสูงในวอชิงตันนิยมจัดงานพบปะที่ไคโรโฮเท็ล ซึ่งรวมถึงที่สโมสรสตรีประชาธิปไตยแห่งชาติ (Woman's National Democratic League)[6] พบปะกับผู้แทนรัฐจากรัฐนิวเม็กซิโกในปี 1913

ในปี 1906 สมาชิกรัฐสภา รูฟัส เอ เลสเตอร์ จากพรรคเดโมแครตในรัฐจอร์เจีย ร่วงผ่านสกายไลต์บนดาดฟ้าของเดอะไคโรลงมาถึงแก่ชีวิต ในเวลานั้นเลสเตอร์อาศัยอยู่ที่เดอะไคโร และปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าเพื่อตามหาหลานสองคน ก่อนที่จะก้าวเท้าพลาดและร่วงลงมาจากความสูง 30 ฟุตผ่านสกายไลต์และกระแทกลงที่พื้นของชั้นสิบเอ็ดของตึก ผลการตรวจสอบพบว่าขาเขาหักทั้งสองข้างและอวัยวะภายในบาดเจ็บอย่างหนักจนถึงแก่ชีวิต[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "National Register of Historical Places - DISTRICT OF COLUMBIA (DC), County". National Register of Historic Places. National Park Service. 2007-02-24.
  2. 2.0 2.1 "Vantage Point: The Curse of (Certain) Tall Buildings". 2009-01-02. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  3. Shulman, Randy. "Features Archives". Metro Weekly. สืบค้นเมื่อ 2016-07-29.
  4. "Explore Historical Newspaper Archives Online | NewspaperArchive®" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-02-22.[ลิงก์เสีย]
  5. "No Acid on Rope: District Chemist's Report on Death of Painter Hamby". The Washington Post. 1905-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  6. "Calls T.R. Democrat: Fergusson Says the Colonel, however, will not admit it". 1913-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  7. "Fell through a skylight" (PDF). The Home Daily Sentinel. June 16, 1906. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.