เดอะแบ็กรูมส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เดอะแบ็กรูม)
ความนิยมของ Backrooms ได้รับแรงบันดาลใจจากกระแสบนอินเทอร์เน็ตของพื้นที่ที่ชวนให้อึดอัดจนบอกไม่ถูก "ภาพของพื้นที่ที่น่าขนลุกและไม่มีคนอาศัยอยู่" อาทิ โถงทางเดินของโรงเรียนมัธยมที่ว่างเปล่านี้

เดอะแบ็กรูมส์ (อังกฤษ: The Backrooms) เป็นคริปปี้พาสต้าที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเขาวงกตในมิติที่ซ้อนทับกับโลกโดยไม่มีสิ้นสุด เดอะแบ็กรูมส์ส์มีลักษณะที่ประกอบด้วยกลิ่นเหม็นอับพรมชื้น ผนังโทนสีเหลืองขาวดำ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่กระพริบสลัว ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้ขยายแนวคิดออกจนมี "ระดับ" และ "สิ่งมีชีวิต" ในเดอะแบ็กรูมส์ส์ เดอะแบ็กรูมส์ส์ดั้งเดิมมีจุดเริ่มต้นมาจากภาพถ่ายสองภาพที่ปรากฏในความคิดเห็นบนเว็บบอร์ดโฟร์แชน[1] ในโพสต์ที่ถามหา "ภาพที่ดูแล้วไม่สบายใจ" ตามมาด้วยเรื่องที่แต่งขึ้นจากภาพโดยผู้ใช้นิรนามรายหนึ่ง เดอะแบ็กรูมส์ส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสและสื่อสยองขวัญและนำไปเกี่ยวโยงกับลิมินัลสเปซส์ สถาบันเอสซีพี และอัลบั้มเพลง เอฟรีแวร์แอทดิเอนด์ออฟไทม์

เดอะแบ็กรูมส์มีที่มาจากกระทู้บนบอร์ด /x/ ของโฟร์แชน ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ที่ซึ่งผู้ใช้นิรนามรายหนึ่งโพสต์ขอ "ภาพที่ทำให้รู้สึกอึดอัดที่ให้ความรู้สึก 'มันไม่ใช่'" ในส่วนความเห็นได้มีผู้ส่งภาพของโถงสีเหลืองสองภาพ ประกอบเรื่องราวของเดอะแบ็กรูมส์ส์เป็นครั้งแรก ระบุว่าการเข้าไปในเดอะแบ็กรูมส์ส์ได้จะต้องใช้การ "โนคลิปออกจากความเป็นจริงในที่ที่ไม่ถูกต้อง" คำว่าโนคลิปเป็นคำในวงการวิดีโอเกมใช้เรียกกรณีที่ผู้เล่นออกจากอาณาเขตที่เกมกำหนดหรือกั้นไว้[2][3]ตำแหน่งที่ถ่ายภาพต้นฉบับของเดอะแบ็กรูมส์ส์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีการเสนอสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ไปจนถึงมีผู้เสนอว่าเป็นภาพที่สร้างขึ้นด้วยวิธีทางดิจิทัล[4]

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ขยายเรื่องราวของแบ็กรูมออกไปอย่างมากในรูปของ "ระดับ" ซึ่งมีหลายพันระดับ[1] บันทึกอยู่บนวิกิที่เกี่ยวข้องกับเดอะแบ็กรูมส์ส์[3][5] ภาพของเดอะแบ็กรูมส์ส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสภาพถ่ายของลิมินัลสเปซบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีการอธิบายไว้ว่าคือภาพที่กระตุ้นให้เกิด "ความรู้สึกหวนคะนึงถึงอดีต หลงทาง และความไม่แน่นอน"[6] บนสื่อสังคมติ๊กต็อกมีแฮชแท็ก #liminalspaces ที่มียอดเข้าชมรวมมากกว่า 100 ล้านครั้ง[7]

ความสยองขวัญของเดอะแบ็กรูมส์ถูกนำไปเปรียบกับเรื่องลวงเกี่ยวกับยูเอฟโอในแอเรีย 51 ภาพยนตร์ เดอะไชนิง โรงแรมผีนรก ของสแตนลีย์ คูบริก ตำนาน "ฮีโรบรายน์" ในเกม ไมน์คราฟต์ และภาพยนตร์ ค.ศ. 2019 เรื่อง หลอน ลวง เรา[3] รวมถึงมีผู้ชี้ให้เห็นว่าความงงงวยของเดอะแบ็กรูมส์ส์เข้ากันและเกี่ยวพันกับเรื่องของสถาบันเอสซีพี และสิ่งก่อสร้างประหลาด ๆ ในเกม คอนโทรล (2019)[8] ไปจนถึงการเทียบกับอัลบั้มเพลง เอฟรีแวร์แอทดิเอนด์ออฟไทม์ (2016–2019) ซึ่งแสดงอาการของสมองเสื่อมที่ใช้แซมเปิลเพลงจากยุคคริสต์ทศวรรษ 1920 มาร์ตา แฟร์โร ระบุบนเว็บข่าว Antropia ของอิตาลีว่าห้องโถงของเดอะแบ็กรูมส์ส์คล้ายคลึงอย่างมากกับโถงของโรงแรมโอเวอร์ลุก ในภาพยนตร์ เดอะไชนิง โรงแรมผีนรก[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ชวนดู 'The Backrooms (Found Footage)' คลิปฟุตเทจอิงจากเรื่องเล่ามิติลึกลับที่หลอกหลอนชาวเน็ตมาตั้งแต่ปี 2019". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 มกราคม 2022.
  2. "unsettling images". 4chan (4plebs). 12 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 Patston, Manning (3 สิงหาคม 2021). "The Backrooms: an eerie phenomenon lies behind these familiar hallways". Happy Mag. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2022.
  4. "The Magnet 0018: The quiet horror of procedural generation". The Magnet. 13 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2022.
  5. 5.0 5.1 Ferro, Marta (26 สิงหาคม 2021). "A JOURNEY INTO THE BACKROOMS". Antropia. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2022.
  6. Koch, Karl Emil (2 พฤศจิกายน 2020). "Architecture: The Cult Following Of Liminal Space". Musée Magazine. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2022.
  7. Yalcinkaya, Günseli (14 เมษายน 2021). "Inside the uncanny world of #liminalspaces TikTok". Dazed. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2022.
  8. Phil (2 กุมภาพันธ์ 2022). "Cool Short Film Series: The Backrooms". Live for Films. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]