เดอะชาร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 51°30′16″N 0°5′12″W / 51.50444°N 0.08667°W / 51.50444; -0.08667

The Shard
เดอะชาร์ด
เดอะชาร์ดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนลอนดอนบริดจ์ เขตซัทเธิร์ค ลอนดอน สหราชอาณาจักร
ก่อสร้างมีนาคม พ.ศ. 2552
เปิดตัวกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การใช้งานการประชุม โรงแรม ห้องสมุด สังเกต สำนักงาน ที่อยู่อาศัย รันอาหาร เป็นต้น[1]
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด309.6 เมตร (1,016 ฟุต)
หลังคา304.1 เมตร (998 ฟุต)
รายละเอียด
จำนวนชั้น95 ชั้น (รวมชั้นห้องเครื่อง)
72 ชั้น (ที่อยู่อาศัย)
พื้นที่ชั้น1,200,000 ตารางฟุต
(110,000 ตารางเมตร)
มูลค่า428 ล้านปอนด์[1]
บริษัท
สถาปนิกเรนโซ เปียโน
วิศวกรTurner & Townsend
(ผู้จัดการโครงการ)
WSP Cantor Seinuk
(วิศวกรรมโครงสร้าง)
Robert Bird Group
(งานชั่วคราวคอนกรีต)
Ischebeck Titan (งานคอนกรีตสำหรับชั้น 40 ขึ้นไป)
อารัป (วิศวกรรมระบบ)
อ้างอิง: [2]

เดอะชาร์ด (อังกฤษ: The Shard) หรือมีชื่อก่อนหน้านี้ว่า Shard London Bridge, London Bridge Tower[3][4] และ Shard of Glass[5][6] เป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มีความสูงเหนือพื้นดิน 309.6 เมตร จำนวนชั้นทั้งหมด 72 ชั้น เดอะชาร์ดเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 และเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักร รองจากหอโทรคมนาคมเอ็มเลย์มัวร์ที่มีความสูง 330 เมตร พื้นที่ของเดอะชาร์ดเดิมเป็นที่ตั้งของอาคารซัทเธิร์ค (Southwark Towers) ที่มีความสูง 24 ชั้น ก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ก่อนจะถูกรื้อถอนเมื่อปี ค.ศ. 2008[7] เพื่อสร้างเดอะชาร์ดขึ้นแทน

ตึกระฟ้าแห่งนี้มีความสูง 72 ชั้น โดยชั้นที่ 72 ทำเป็นระเบียงตากอากาศใช้สำหรับชมทัศนียภาพของกรุงลอนดอน ที่ความสูง 245 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณชมทิวทัศน์ที่อยู่สูงที่สุดของสหราชอาณาจักร[8] เดอะชาร์ดถูกออกแบบให้มีรูปทรงเป็นทรงพีระมิดไม่สม่ำเสมอ (irregular pyramidal) ที่ติดกระจกทั้งหลัง

เดอะชาร์ดเริ่มเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และมีกำหนดการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[9][10]

ประวัติ[แก้]

ตึกระฟ้าแห่งนี้ออกแบบในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) โดยเรนโซ เปียโน สถาปนิกชาวอิตาลี ที่รู้จักกันในฐานะเป็นผู้ออกแบบปองปิดูเซ็นเตอร์ในปารีส ร่วมกับริชาร์ด โรเจอร์ส สถาปนิกชาวอังกฤษ เบื้องหลังคือ ในปีนั้น เออร์ไวน์ เซลลาร์ ผู้ประกอบการที่มีฐานอยู่ในลอนดอน ตัดสินใจรื้อถอนอาคารสำนักงานซัทเธิร์กเพื่อพัฒนาพื้นที่ใหม่ อาคารแห่งนี้สร้างเมื่อคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และตั้งอยู่ถัดจากสถานีรถไฟลอนดอนบริดจ์ ต่อมาเขาได้ไปกรุงเบอร์ลินเพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับเรนโซ เปียโน พร้อมกับปรึกษาหารือในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ เซลลาร์อ้างว่า ระหว่างรับประทานอาหาร เรนโซ เปียโนได้กล่าวตำหนิดูถูกในเรื่องอาคารสูงทั้งหลาย จากนั้นเขาก็วาดแบบร่างประติมากรรมรูปร่างคล้ายภูเขาน้ำแข็งยอดแหลม โผล่พ้นแม่น้ำเทมส์ลงบนรายการอาหาร[11] และบอกอีกว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจจากเส้นทางรถไฟใกล้กับงานก่อสร้าง รวมไปถึง ยอดแหลมแห่งลอนดอน ที่พรรณนาโดยกานาเลตโต จิตรกรชาวเวนิสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และจากเสากระโดงเรือสำเภาอีกด้วย[12]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) จอห์น เพรสคอตต์ รองนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสั่งการให้ตรวจสอบแผนงานก่อสร้างอาคารเดอะชาร์ด หลังถูกคัดค้านโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและฝ่ายอนุรักษ์ เป็นต้นว่ามูลนิธิรอยัลพาร์ค และองค์การอนุรักษ์แห่งอังกฤษ[13][14] การตรวจสอบดำเนินไปในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)[15][16] หลังจากนั้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สำนักรองนายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเดอะชาร์ดต่อไปได้[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 The Shard จากเว็บไซต์ Mace, บริษัทรับเหมาก่อสร้างหลักของเดอะชาร์ด, สืบค้นวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  2. The Shard จากเว็บไซต์เอ็มโพริส (Emporis)
  3. "London Bridge Tower, London". Designbuild-network.com. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  4. "Shard funding crisis: Tower finances cast shadow over project". World Architecture News. 10 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  5. Bar-Hillel, Mira (24 February 2009). "£28bn Shard of Glass to start its ascent". London Evening Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  6. "Work starts on Shard of Glass". New Civil Engineer. 2 April 2009. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  7. Southwark Towers, London จากเว็บไซต์ Skyscraperpage, สืบค้นวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  8. "Shard observation deck to be Europe's highest" เก็บถาวร 2012-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CNPlus.co.uk, 20 May 2009. Retrieved 2 February 2012.
  9. "Prince Andrew and Qatari prime minister to open Shard on 5 July"
  10. "Qatar's Shard the tallest building in Europe now"
  11. Bourke, Chris (20 January 2010). Shard Developer Sellar to Seek Highest Office Rents Since 1980s. Bloomberg (New York). Retrieved 7 July 2010.
  12. "Why do tall buildings have such silly names?". BBC News. 26 November 2010. สืบค้นเมื่อ 27 November 2010.
  13. Milmo, Cahal (25 July 2002). "London's 'Shard of Glass' must face public inquiry". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  14. "'The Shard' set to change the London skyline". Londonoffices.com. 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  15. Weaver, Matt (15 April 2003). "Battle begins for London Bridge Tower". The Guardian. London.
  16. Sudjic, Deyan (18 May 2003). "Sold down the river". The Observer. London.
  17. Weaver, Matt (19 November 2003). "'Shard of glass' set to join London skyline". The Guardian. London.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]