เดวิด ซี. เอช. ออสติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุหลาบอังกฤษเดวิดออสติน 'แมรี่โรส' 1983 (ตั้งชื่อตามเรือ แมรี่โรส) ในสวนโบทานิคที่ อัลเบอรี่, นิว เซ้าธ์ เวลส์
โรซา 'โอเธลโล' (ตั้งชื่อตาม โศกนาฏกรรม โอเธลโล) ที่โฟล์คสกาเท็น (เวียนนา)

เดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน (ชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ OBE) (16 กุมภาพันธ์ 1926 – 18 ธันวาคม 2018[1]) นักผสมพันธุ์กุหลาบ และนักเขียน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ชรอปเชอร์ ประเทศอังกฤษ[2] เขาผสมพันธุ์กุหลาบโดยนำเอาความหอมและทรงดอกเฉพาะตามแบบกุหลาบโบราณ (กัลลิคาส, ดามัสก์, อัลบา โรสส์, และอื่นๆ) มาผสมกับกุหลายสมัยใหม่ที่แข็งแรง ออกดอกดกตลอดทั้งปี สีสันสวยงาม เช่น ไฮบริด ที และ ฟลอริบันดา

อาชีพ[แก้]

กุหลาบพันธุ์แรกของเขาที่คิดค้นในปี 1963 คือ 'คอนสแตน สปราย' ในปี 1967 และ 1968 เขาเปิดตัวพันธุ์ 'เชียนติ' และ 'ชรอปเชอร์ แลส' ตามลำดับ ซึ่งกุหลาบสายพันธุ์เหล่านี้จะออกดอกเพียงปีละครั้งในฤดูใบไม้ผลิหรือช่วงต้นของฤดูร้อนเท่านั้น และในปี 1969 มีสายพันธุ์รีมอนแมน (ออกดอกดกทั้งปี), รวมถึง 'ไวฟ์ ออฟ บาธ' และ 'แคนเทอบิวรี' (ตั้งชื่อสายพันธุ์ตามหนังสือของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ นักเขียนชาวอังกฤษ) ซึ่งกุหลาบของออสตินกลายมาเป็นกุหลาบสายพันธุ์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปีศตวรรษที่ 20

ถึงแม้ว่า จะไม่มีการจัดให้กุหลาบออสตินเป็นหมวดหมู่หนึ่งในชั้นของกุหลาบอย่างเป็นทางการจากราชสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ หรือ สมาคมกุหลาบอเมริกัน[3] แต่ก็เป็นสายพันธุ์ที่เป็นที่ยอมรับจากนักปลูกกุหลาบโดยทั่วกัน เรียกกันว่า 'กุหลาบอังกฤษ (อิงลิช โรสส์) ' (ชื่อที่เขาตั้งขึ้น) หรือ 'ออสติน โรสส์'

ตั้งแต่เริ่มต้นเพาะพันธุ์ในปี 1969 บริษัทเดวิดออสตินโรสที่ ออลไบรตัน, ในละแวกเดียวกับวุลเวอร์แฮมป์ตัน มีกุหลาบมากมายกว่า 190 พันธุ์ แต่ละพันธุ์ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ครอบครัวของเขา มีการตั้งชื่อตามนักปลูกกุหลาบชื่อดัง สถานที่สำคัญในอังกฤษ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ และนักเขียนชาวอังกฤษ โดยเฉพาะเชกสเปียร์และชอเซอร์ รวมไปถึงผลงานหรือตัวละครของพวกเขาด้วย อย่างเช่น กุหลาบ เกรแฮม โธมัส ตั้งตามชื่อศิลปินผู้ซึ่งเป็นนักปลูกกุหลาบด้วย และกุหลาบแมรี่โรส ตามชื่อเรือธงของพระเจ้าเฮนรีที่ 8

ในศตวรรษที่ 21 ออสตินได้จำแนกประเภทกุหลาบของเขาเองออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้ง่ายในการพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป ดังนี้

  • กลุ่มสายพันธุ์กุหลาบโบราณ, กุหลาบที่รูปทรงตามแบบกุหลาบโบราณ แต่ออกดอกทั้งปี แข็งแรง มีสีสันหลากหลาย
  • กลุ่มลีนเดอร์, มักจะมีโรซา วิชูรานา อยู่ในสายพันธุ์ด้วย, พุ่มจะใหญ่ สามารถจับโค้งหรือทำให้เลื้อยได้ ไม่สูงมากนัก
  • กลุ่มมัสก์โรสส์, สายพันธุ์หลักคือ 'ไอซ์เบิร์ก' และกุหลาบ นอยเซตส์, สีเขียวซีด, ต้นเรียวยาว และโปร่ง
  • กลุ่มสายพันธุ์อัลบา, ต้นจะสูง, พุ่มออกไปทางสีฟ้าคล้ายกุหลาบอัลบาโบราณ[4]

ในปี 2003, เดวิด ออสติน ได้รับรางวัลวิคตอเรียเหรียญแห่งเกียรติยศ โดย ราชสมาคมพืชสวนแห่งอังกฤษ สำหรับผลงานพืชสวนของเขา[5] และ เหรียญดีน โดย ราชสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษ เขาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ MSc จาก มหาวิทยาลัยอีสต์ ลอนดอน สำหรับผลงานการผสมสายพันธุ์กุหลาบ[6] และเมื่อปี 2004 เขาได้รับรางวัลผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตจาก สมาคมการ์เด้นเซ็นเตอร์ และรับชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ OBE เมื่อปี 2007.[2] ในปี 2010, เขาได้รับฉายาว่า "นักปลูกกุหลาบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก"[7]

หนังสือ[แก้]

  • Austin, David (1990). The heritage of the rose (rev. ed., repr. ed.). Woodbridge: Antique Collector's Club. ISBN 1851490205.
  • Austin, David (1992). Old roses and English roses (repr. ed.). Woodbridge: Antique Collector's Club. ISBN 1851491503.
  • Austin, David (1993). Shrub roses and climbing roses : with hybrid tea and floribunda roses (repr. ed.). Woodbridge: Antique Collectors' Club. ISBN 185149166X.
  • Martin, Clair G. (1997). 100 English roses for the American garden. New York: Workman. ISBN 0761101853.
  • Austin, David (2010). David Austin's English roses. Woodbridge: Garden Art. ISBN 1870673700.
  • Lawson, Andrew; David Austin (2011). The English roses (rev. ed.). London: Conran Octopus. ISBN 1840915544.
  • เดวิด ออสติน David Austin wrote the foreword for Beales, Peter (1998). Botanica's roses : encyclopedia of roses. Random House. ISBN 0091835925.
  • His annual free catalogue David Austin Handbook of Roses, mainly devoted to Austin Roses but also listing many other varieties (often in the Austin roses pedigree) on sale, contains information on roses and their care in general, as well as many rose photographs.

อ้างอิง[แก้]

  1. "David C. H. Austin OBE VMH (1926-2018)". www.prnewswire.co.uk. สืบค้นเมื่อ 19 December 2018.
  2. 2.0 2.1 "David C.H. Austin OBE". Davidaustinroses.com. 2007-06-16. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  3. "American Rose Society". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-18. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  4. Austin, David; Lawson, Andrew (2005). The English roses. London: Conran Octopus. pp. 70, 132, 172, 206. ISBN 1840914475.
  5. ""David Austin English Roses" ICONS a Portrait of England". Icons.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  6. "A Plant Hunters, Plant People, Garden Designers, Landscape Architects of Note from". PlantsGalore.Com. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  7. "David Austin 2010 "Great Rosarian"". Gardennewsbreak.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-14. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Austin, David}
ชื่ออื่น
รายละเอียดโดยย่อ
วันเกิด 16 February 1926
สถานที่เกิด
วันตาย
สถานที่ตาย