เดนิส ไมเคิล โรแฮน
เดนิส ไมเคิล โรแฮน | |
---|---|
โรแฮนขณะถูกสอบสวนในประเทศอิสราเอล, 7 ตุลาคม ค.ศ. 1969 | |
เกิด | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 เกรนเฟลล์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย |
สัญชาติ | ออสเตรเลีย |
มีชื่อเสียงจาก | เหตุลอบวางเพลิงมัสยิดอัลอักศอใน ค.ศ. 1969 |
เดนิส ไมเคิล โรแฮน (อังกฤษ: Denis Michael Rohan; เกิด 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1941, เสียชีวิต 2009–2019) เป็นนักวางเพลิงชาวออสเตรเลียที่มีส่วนในการวางเพลิงมัสยิดอัลอักศอ ซึ่งเกิดขึ้นในเยรูซาเลมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1969
การโจมตีมัสยิดอัลอักศอของเขาที่เริ่มขึ้นหลังจุดไฟที่มินบัรเศาะลาฮุดดีน[1] เหตุการณ์นี้จุดไฟความตึงเครียดทั่วโลกมุสลิมและทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขั้นสูงสุดในตะวันออกกลางนับตั้งแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1967[2][3]
โรแฮมถูกเจ้าหน้าที่อิสราเอลจับกุมตัวในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1969; เขาได้รับการตรวจสอบพบว่าเป็นวิกลจริตในประเทศอิสราเอล และถูกนำเข้าไปรักษาที่สถาบันจิตเวช จากนั้นในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 โรแฮนถูกเนรเทศกลับไปออสเตรเลีย "ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม เพื่อรับการรักษาทางจิตเวชเพิ่มเติมใกล้รอบครัวของเขา" และส่งตัวไปที่ Callan Park Hospital for the Insane ที่ชานเมืองซิดนีย์ ข้อมูลบางส่วนอ้างว่าเขาเสียชีวิตในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995[4][5] แต่จากการสิบสวนใน ค.ศ. 2009 โดยออสเตรเลียนบรอดแคสติงคอร์ปอเรชัน (เอบีซี) พบว่าเขายังมีชีวิตอยู่ โรแฮนยังได้สัมภาษณ์กับนักข่าวช่องเอบีซีไม่กี่ปีหลังจากการค้นพบนี้ แต่เสียชีวิตในไม่กี่ปีต่อมา[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Amayreh, Khalid (13 November 2013). "Jews and Muslims to share al-Aqsa Mosque?". Al Jazeera English.
- ↑ "Rohan Trial Ends". The Australian Jewish News. 9 January 1970. สืบค้นเมื่อ 25 December 2021.
- ↑ Stan Correy (23 August 2009). "Rohan and the Road to the Apocalypse". Background Briefing. Australian Broadcasting Corporation. 04:52 นาที. Radio National. สืบค้นเมื่อ 25 December 2021.
In 1969 there was an Islamic political consciousness but it wasn't well organised. None of the Muslim countries could even agree on getting together, to talk about anything. That changed forever after August the 21st 1969, and the fire lit by Rohan.
- ↑ Druckman, Yaron (23 August 2015). "The 'king of Jerusalem' who almost burnt down Al Aqsa". Ynetnews. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
- ↑ Rabinovich, Abraham (23 August 2019). "How an Australian sheepshearer's al-Aqsa arson nearly torched Middle East peace". The Times of Israel.
- ↑ Stan Correy (23 August 2009). "Rohan and the Road to the Apocalypse". Background Briefing. Australian Broadcasting Corporation. Radio National. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ "Apocalypse Now: The political legacy of Denis Michael Rohan". Australian Broadcasting Corporation. 21 August 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ambassador Report article (page 16) on Armstrong's response
- Rohan and the road to the apocalypse - Audio and transcript of a Background Briefing program broadcast on ABC Radio National about Rohan (23 August 2009)
- Official Israeli Policy toward the Temple Mount เก็บถาวร 27 กันยายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน