ข้ามไปเนื้อหา

เซลล์จังก์ชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Cell junction
ตัวอย่างของเซลล์จังก์ชันบางส่วน
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินjunctiones cellulares
THH1.00.01.0.00012
FMA67394
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เซลล์จังก์ชัน (อังกฤษ: Cell junction), รอยต่อระหว่างเซลล์ หรือ สะพานระหว่างเซลล์ (อังกฤษ: intercellular bridge)[1] เป็นชั้น (class) หนึ่งของโครงสร้างในเซลล์ที่ประกอบด้วยมัลติโปรตีนคอมเพล็กซ์ซึ่งทำให้เกิดการสัมผัสกันหรือเกิดการยึดเหนี่ยวกันระหว่างเซลล์ข้างเคียง (neighbouring cells) หรือระหว่างเซลล์กับเมทริกซ์นอกเซลล์ในสัตว์ นอกจากนี้ยังช่วยคงที่กั้นของเซลล์ข้างกัน (paracellular barrier) ในเนื้อเยื่อบุผิว (epithelia) และควบคุมการขนส่งสารระหว่างเซลล์ข้างกัน (paracellular transport) เซลล์จังก์ชันนั้นพบมากเป็นพิเศษในเนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissues) นอกจากนี้เมื่อร่วมกับโมเลกุลหนืดเซลล์ (cell adhesion molecule) และเมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) ช่วยกันยึดให้เซลล์สัตว์อยู่ติดกันได้

ในพืช ช่องทางสื่อสารที่คล้ายกันนั้นมีชื่อเรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata) และในฟังไจ เรียกว่า รูเซปตัม (septal pores)[2]

ชนิด

[แก้]

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีเซลล์จังก์ชันอยู่สามชนิด ได้แก่:

ในขณะที่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีฟังก์ชันเฉพาะอีกหลายชนิด เช่น septate junctions และ C. elegans apical junction

ส่วนในพีชหลายเซลล์ การทำงานเชิงโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันนั้นเป็นของผนังเซลล์ ส่วนสิ่งอุปมาเทียบกับจังก์ชันสื่อสารคือพลาสโมเดสมาตา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mitchell, Richard Sheppard; Kumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson (2007). "Ch. 13: Box on morphology of squamous cell carcinoma". Robbins Basic Pathology (8th ed.). Philadelphia: Saunders. ISBN 978-1-4160-2973-1.
  2. Bloemendal, S; Kück, U (January 2013). "Cell-to-cell communication in plants, animals, and fungi: a comparative review". Die Naturwissenschaften. 100 (1): 3–19. Bibcode:2013NW....100....3B. doi:10.1007/s00114-012-0988-z. PMID 23128987.
  3. Andrew L Harris; Darren Locke (2009). Connexins, A Guide. New York: Springer. p. 574. ISBN 978-1-934115-46-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]