เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี
(ขำ บุนนาค)
ปลัดกรมพระตำรวจ
ผู้ช่วยปลัดกรมท่า
ผู้สำเร็จราชการในกิจการต่างประเทศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2356
เสียชีวิต12 มิถุนายน พ.ศ. 2413 (56 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงหนู ทิพากรวงศ์

เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี นามเดิม ขำ ตระกูลบุนนาค (1 ตุลาคม พ.ศ. 2356 — 12 มิถุนายน พ.ศ. 2413) เป็นขุนนางและนักเขียนชาวไทย

ประวัติ[แก้]

เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีเกิดเมื่อปี 2356 ในตระกูลบุนนาค ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางไทยที่ทรงอิทธิพลและมีเชื้อสายเปอร์เซีย[1] บิดาของท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพี่ชายของท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ว่าสมุหพระกลาโหมต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชีวิตราชการ[แก้]

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เข้ารับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในตำแหน่งขุนนางในกรมท่า หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 2394 ตระกูลบุนนาคก็มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกผู้สืบราชบัลลังก์ การสนับสนุนพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ทำให้ท่านได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมท่าในปี 2396 เสนาบดีพระคลังในปี 2398 และตำแหน่งเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีในปี 2408 (ก่อนจะเปลี่ยนเป็นทิพากรวงศ์)[1]

ผลงาน[แก้]

หลังจากสุขภาพไม่ดีจนต้องเกษียณอายุราชการในปี 2410 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ก็ใช้เวลาที่เหลือของชีวิตเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศาสนา[1] ในปี 2410 ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ หนังสือแสดงกิจจานุกิจ[2] เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้รับพระบัญชาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เขียนพระราชพงศาวดารของกษัตริย์สี่รัชกาลแรกในราชวงศ์จักรีชื่อ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านเขียนเสร็จก่อนอสัญกรรมในปี 2413 แม้ว่าพระราชพงศาวดารทั้ง 4 เล่มจะแล้วเสร็จภายในปี 2413 แต่ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ก็ไม่ได้รับการตีพิมพ์จนถึงปี 2477 ผลงานทางประวัติศาสตร์ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ชุดนี้ได้รับการชำระเนื้อหาโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สำหรับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 นิพนธ์โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

ครอบครัว[แก้]

ภรรยาของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีคือท่านผู้หญิงหนู บุตรีของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์ ณ นคร) บิดานำถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้เป็นละครหลวง ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เป็นเจ้าจอมอยู่งาน และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นภรรยาเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านป่วยเป็นวัณโรค และถึงแก่กรรมในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2413 เวลาเช้า 4 โมงเศษ สิริอายุ 78 ปี พระราชทานหีบทองตามเกียรติยศ[3]

อ้างอิง[แก้]

  • วิมล พงศ์พิพัฒน์ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 14 พ.ศ. 2527 -2528 หน้า 8681
  1. 1.0 1.1 1.2 Bentiage, Bjorn, Eggert, Marion, Kramer, Hans-Martin, and Reichmuth, Stefan "Religious Dynamics Under the Impacts of Imperialism and Colonialism: A Sourcebook" pp.63-4
  2. Bentiage pp. 67-69
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม 7, ตอน 35, 30 พฤศจิกายน 2433, หน้า 311-312

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]