เจ้หุง
เจ้หุง[1] เริ่มต้นเป็นราชธานีของอาณาจักรอาหม ในรัชสมัยของเจ้าเสือกลืนเมืองฟ้า
การแบ่งพื้นที่
[แก้]รอบเมือง
[แก้]เมืองครหคาออนมีประตู 4 ประตู ประตูแต่ละประตูจะห่างจากวังของกษัตริย์ 3 โก (Kos) มีถนนพอกดินสูง กว้าง และมั่นคงรอบเมือง สะดวกแก่การสัญจร เครื่องป้องกันเมือง คือป่าไผ่กว้างประมาณ 2 โก โดยรอบตัวเมือง แต่เมืองนี้ไม่เหมือนเมืองอื่นๆ กระท่อมของชาวบ้านอยู่เข้ามาภายในป่าไผ่ใกล้ถนนพูนดิน แต่ละครอบครัวจะมีทุ่งนา และสวนอยู่หน้ากระท่อมจรดถนนพูนดิน ใกล้ๆวังของกษัตริย์ริมแม่น้ำทิขุ มีอาคารบ้านเรือนใหญ่โต ถนนที่เข้าไปในตลาดแคบ และมีแต่พ่อค้าขายกระทะเท่านั้น ไม่มีการขายของกินเช่นตลาดของเรา เพราะแต่ละบ้านไว้พอกินตลอดปี จึงไม่มีการซื้อขายกัน ตัวเมืองดูแออัดไปด้วยบ้านเรือนหลายหลัง
เขตพระราชวัง
[แก้]รอบ ๆ วังมีเขื่อนดิน รายรอบด้วยรั้วไม้ไผ่ใช้แทนกำแพง และมีคูน้ำลึกท่วมหัวคนยืนซึ่งน้ำเต็มอยู่เสมอ เขตพระราชวังกว้างกว่า 2 ไมล์ มีอาคารสูงโอ่โถงหลายหลัง ท้องพระโรงของกษัตริย์เรืยกว่า โสลัง (Solang) ยาว 120 ศอก กว้าง 30 ศอก มีเสา 66 ต้น เสาแม้จะใหญ่แต่ก็เกลี้ยงเกลา เมื่อมองจะรู้สึกว่าราบแบน เครื่องตกแต่งวิจิตรตระการตา เครื่องไม้ในท้องพระโรงเกินคำบรรยายใดๆทั้งสิ้น ไม่มีอาคารใดๆในโลกจะเปรียบได้ ข้างๆพระราชวังมีไม้ระแนงลวดลายประหลาด ภายในติดกระจกบานใหญ่ ขัดอย่างเงางาม หากต้องแสงอาทิตย์ ก็จะฉายแสงเป็นประกาย กล่าวกันว่าใช้คนงาน ๒ หมื่นคน และสร้างเสร็จในหนึ่งปี ปลายสุดด้านหนึ่งของท้องพระโรง มีวงแหวนติดอยู่ แต่ละเสามีวงแหวนเก้าวง เมื่อกษัตริย์ออกว่าราชการ ก็ประทับบนบัลลังก์ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกลางเสาสี่ต้นนี้มีผ้าคาดเป็นปะรำ นอกจากนี้ก็มีแถบผ้าอีกเก้าผืน โยงติดกับวงแหวน เมื่อกษัตริย์ประทับอยู่ใต้ปะรำนี้ เจ้าหน้าที่ก็ประโคมฆ้อง กลอง กระทั่งแตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม, หน้า 81
- Gait, Edward(1905) A History of Assam
- ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์, 2552 ISBN 978-974-9936-15-3