เจเนอรัลเคออส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจเนอรัลเคออส
เจเนอรัลเคออส
ผู้พัฒนาเกมเรฟิวจ์ อิงค์.
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์
ออกแบบไบรอัน โคลิน, เจฟฟ์ เนาแมน
โปรแกรมเมอร์เจฟฟ์ เนาแมน
ศิลปินไบรอัน โคลิน
แต่งเพลงไมเคิล บาร์ตโลว์
เครื่องเล่นเซกา เมกาไดรฟ์
วางจำหน่ายค.ศ. 1993
แนวกลยุทธ์เรียลไทม์
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

เจเนอรัลเคออส (อังกฤษ: General Chaos) เป็นวิดีโอเกม ค.ศ. 1993 ที่พัฒนาโดยเกมเรฟิวจ์ อิงค์. และเผยแพร่โดยอิเล็กทรอนิก อาตส์ สำหรับเซกา เมกาไดรฟ์ ซึ่งเจเนอรัลเคออสเป็นเกมอาร์เคด/กลยุทธ์เชิงเสียดสี

โครงเรื่อง[แก้]

นับตั้งแต่พวกเขายังเป็นทารก พี่น้องเคออสและฮาวอคได้สนุกกับการเล่นเกมสงครามซึ่งกันและกัน รวมถึงเพื่อนร่วมชั้นเรียน และเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีทางทหารของพวกเขา อยู่มาวันหนึ่ง เคออสค้นพบหนังสือการ์ตูนหายากที่มีค่ามากกว่าหนังสือเล่มใดในห้องสมุดที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และแสดงให้ฮาวอคดู น่าเสียดาย ที่สิ่งนี้พิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดพลาด เพียงการมองเห็นของมันทำให้เขาเกิดด้านที่ละโมบและทรยศออกมา ฮาวอคพยายามที่จะเอาหนังสือเล่มนี้ไปเป็นของตัวเอง แต่มันกลับต้องฉีกขาดจากการชักเย่อ หลังจากนี้ สองพี่น้องก็ต่อว่าต่อขานกันและกัน แล้วแยกทางกัน ซึ่งหลายปีต่อมา ทั้งคู่กลายเป็นเผด็จการทหารของประเทศโมโรนิกา (เคออส) และวิเซเรีย (ฮาวอค) โดยที่นายพลทั้งสองทำสงครามกันเป็นเวลาหลายสิบปี แต่สำหรับการยุทธ์ที่เดือดดาลทั่วทั้งแผ่นดิน พวกเขาไม่สามารถบรรลุชัยชนะได้ หลังจากผ่านการพิจารณามาหลายวัน พวกเขาก็ตัดสินใจใช้กองทัพที่เล็กกว่า และเร็วกว่าของทหารที่เชี่ยวชาญในอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อตัดสินแพ้ชนะอย่างถาวร

รูปแบบการเล่น[แก้]

เกมดังกล่าวเป็นการต่อสู้ที่รวดเร็วและสกปรก (หรือโหมดการทัพที่ยาวกว่า ซึ่งเป็นชุดลำดับที่ต่อสู้กันบนแผนที่เชิงกลยุทธ์แบบพลวัต) ระหว่างสองนายพล ได้แก่ "นายพลเคออส" และ "นายพลฮาวอค" โดยมีวัตถุประสงค์ของเกมคือการเข้ายึดเมืองหลวงของศัตรู

ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องเลือกหนึ่งใน 4 ทีมโดย 3 ในนั้นมีทหาร 5 คน (มีอาวุธให้เลือกต่างกัน) ในขณะที่ทีมหนึ่งมี "คอมมานโด" 2 ตัว และใช้ระบบควบคุมที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถควบคุมได้มากขึ้น

ผู้เล่นมองปฏิบัติการจากมุมมองไอโซเมตริก รวมถึงดูการ์ตูนทหารยุกยิกในสนามรบ โดยเกมดังกล่าวมีความสมดุลระหว่างปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เมื่อใดก็ตามที่ทหารสองคนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเข้ามาใกล้เพียงพอ การต่อสู้ระยะประชิดก็จะตามมา ทหารสามารถต่อย, เตะ หรือบล็อกการโจมตีได้ หากชายคนหนึ่งของผู้เล่นเสียแต้มพลังทั้งหมด เขาจะล้มลงกับพื้น เพื่อช่วยทหารที่ล้มลง ผู้เล่นต้องเลื่อนเคอร์เซอร์ หรือทหารคนอื่นในกรณีของหน่วยคอมมานโด ใกล้กับทหารที่บาดเจ็บและเรียกเมดิค (เสนารักษ์) ให้ชุบชีวิตเขา อย่างไรก็ตาม มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเรียกเมดิค นอกจากนี้ยังมีไอเทมจำนวนมากที่ให้แต้มในสนามรบซึ่งให้หยิบขึ้นมา

เกมนี้สามารถเล่นปะทะกับคอมพิวเตอร์ในโหมดการทัพด้วยอะแดปเตอร์หลายผู้เล่นพร้อมกันสูงสุดสี่คน นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถต่อสู้กับผู้เล่นที่เป็นมนุษย์คนอื่นโดยไม่ต้องร่วมมือกัน ส่วนคุณสมบัติอื่นของเกม คือโหมดการสอนที่เรียกว่า “ค่ายฝึก”

จำพวก[แก้]

กันเนอร์: ใช้ปืนกลมือเป็นอาวุธ หน่วยซึ่งมีความสามารถหลายด้านที่มีการโจมตีระยะกลางและอัตราการยิงสูงแม้ว่าปืนของเขาอาจขัดลำกล้อง พลประเภทนี้ใช้สำหรับโจมตีเป็นหลัก และตัวละครนี้มีทรงผมแบบบัซคัต

ลอนเชอร์: ใช้เครื่องยิงจรวดแบบพกพาเป็นอาวุธ ในขณะที่เกมนี้ไม่มีตัวละคร "พลซุ่มยิง" พลยิงเครื่องยิงจรวดจึงมีจุดประสงค์ในส่วนเดียวกับอาวุธที่ทรงพลัง, ยิงช้า และพิสัยไกล การโจมตีของพลยิงเครื่องยิงจรวดสามารถหยุดได้โดยกำบัง แต่อาจส่งผลให้พลรบฝ่ายตรงข้าม "เสียชีวิตทันที" แบบสุ่ม (เหลือโครงกระดูกและไม่สามารถเรียกเมดิคได้) พลประเภทนี้สามารถทำลายเป้าหมายโบนัสได้ และตัวละครนี้สวมหมวกเหล็ก

ชัคเกอร์: ระเบิดมือเป็นอาวุธของประเภทนี้ การโจมตีของพวกเขามีอัตราการปาที่ต่ำ และสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย แต่ระเบิดมือครอบคลุม สามารถสร้างความเสียหายหลายหน่วย และมีระยะที่ดี สามารถทำลายเป้าหมายโบนัสได้ ชื่อและรูปลักษณ์ของยูนิตนี้ (ชายผมบลอนด์ ที่มีหนวดเครา และมีที่คาดผมสไตล์แรมโบ้) เป็นการอ้างอิงที่ชัดเจนสำหรับชัค นอร์ริส

สคอเชอร์: อาจเป็นหน่วยที่อันตรายที่สุดในเกม ทหารเหล่านี้ใช้เครื่องพ่นไฟเพื่อสร้างความเสียหาย ซึ่งถึงแม้จะมีระยะที่สั้นที่สุด แต่ก็สามารถโจมตีทหารได้หลายคนและเป็นอาวุธที่เร็วที่สุด เมื่อผู้ทำให้ไหม้เกรียมอยู่เหนือยูนิตอื่นแล้ว ก็ยากที่จะเอาชีวิตรอด ด้วยความสามารถนี้ พวกเขาจึงสร้างหน่วยขนาบข้างและคุ้มกันที่ยอดเยี่ยม การโจมตีแบบสุ่มอาจส่งผลให้พลรบฝ่ายตรงข้าม "เสียชีวิตทันที" (เหลือกองขี้เถ้าและไม่สามารถเรียกเมดิคได้) หากสคอเชอร์ลงไปในน้ำ อาวุธของเขาจะไร้ความสามารถชั่วคราว (ทำให้รู้ด้วยฟองอากาศที่ถูกยิงออกไปแทนการพ่นไฟ) ทั้งนี้ เขาสวมแว่นดำ

บลาสเตอร์: ถือเป็นหน่วยที่อ่อนแอที่สุดในเกมและจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง บลาสเตอร์นั้นคล้ายกับชัคเกอร์ แทนที่จะใช้ระเบิด พวกเขาโยนแท่งไดนาไมต์จำนวนหนึ่งซึ่งทะลุที่กำบังและสร้างความเสียหายอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม พวกเขามีอัตราการโยนที่ช้ามากและระยะการโจมตีที่สั้นที่สุดเป็นอันดับสอง ดังนั้น พวกเขาจึงเหมือนกับไม่มีประโยชน์ การโจมตีแบบสุ่มอาจส่งผลให้พลรบฝ่ายตรงข้าม "เสียชีวิตทันที" (เหลือโครงกระดูกและไม่สามารถเรียกเมดิคได้) สามารถทำลายเป้าหมายโบนัสได้ ตัวละครนี้สวมผ้าปิดตา มีหนวดเครา และรอยยิ้มของเขาขาดฟันบางซี่

แคมเปญคิกสตาร์เตอร์[แก้]

เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2013 ไบรอัน เอฟ. โคลิน ได้เริ่มแคมเปญคิกสตาร์เตอร์เพื่อหาทุนสร้างภาคต่อ ทว่าแคมเปญดังกล่าวสะดุดล้มมากกว่า 100,000 ดอลลาร์ ซึ่งไม่ถึงเป้าหมาย[1]

การตอบรับ[แก้]

เจเนอรัลเคออสได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกโดยทั่วไป ซึ่งนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีให้คะแนน 8 เต็ม 10 โดยเรียกได้ว่าเป็น "สุดยอดเกม "ต่อสู้" แบบตัวต่อตัว!" พวกเขายกย่องความตลกขบขัน, ตัวเลือกจำนวนมาก และโหมดผู้เล่นสี่คน[2] ส่วนนิตยสารเกมโปรยังยกย่องความตลกขบขัน และโหมดผู้เล่นสี่คน เช่นเดียวกับปัญญาประดิษฐ์ของศัตรู และสรุปได้ว่า "เจเนอรัลเคออสผสมผสานกลยุทธ์ในสนามรบที่บีบสมอง, กลยุทธ์ของทีมที่ท้าทาย และการรบแบบกดปุ่มเรียลไทม์พร้อมกราฟิกการ์ตูนตลกขบขัน"[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "General Chaos II: Sons of Chaos". Kickstarter. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  2. "Review Crew: General Chaos". Electronic Gaming Monthly. No. 51. EGM Media, LLC. October 1993. p. 42.
  3. "Genesis ProReview: General Chaos". GamePro. No. 50. IDG. September 1993. p. 34.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]