เครื่องตกราง
เครื่องตกราง (อังกฤษ: derail, คำย่อ: ตร.) หมายถึงอุปกรณ์ซึ่งทำให้รถไฟที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านทางที่ติดตั้งอยู่ตกราง เป็นการป้องกันมิให้รถไฟที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปหรือออกจากทางตอนที่กำหนดไว้[1] เป็นการทำให้รถไฟอื่นและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอื่นได้รับความปลอดภัย
เครื่องตกรางอาจติดตั้งในบริเวณดังต่อไปนี้
- บริเวณที่ทางหลีก ทางโท หรือทางตันเข้าบรรจบกับทางประธาน[2]
- บริเวณประแจหรือทางผ่าน เพื่อป้องกันระบบสัญญาณบังคับสัมพันธ์ (interlocking) ไม่ให้อนุญาตรถไฟขบวนอื่นซึ่งจะก่ออันตรายแก่ขบวนที่ได้รับอนุญาตแล้ว[2][3]
- ติดตั้งชั่วคราวบริเวณที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน[4]
- ติดตั้งไว้ก่อนถึงสะพานหันข้าง สะพานยกได้ ทางตัน หรือบริเวณอันตราย[3]
ลักษณะ
[แก้]เครื่องตกรางมีด้วยกันสองชนิดดังนี้
ชนิดครอบราง
[แก้]เครื่องตกรางชนิดครอบรางมีลักษณะเป็นครอบเหล็กควบคุมด้วยไฟฟ้า สายลวด ก้านเหล็ก หรือกลไกอื่นให้ปิดเปิดได้ ติดตั้งไว้ที่ราวข้างหนึ่งของรางรถไฟ[5] หากต้องการให้รถไฟผ่านก็ให้ครอบเหล็กยกขึ้น เมื่อรถไฟที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่าน จะถูกครอบรางยกบังใบล้อ (หรือครีบล้อ) ขึ้น ทำให้พลิกคว่ำตกจากรางไป[6] นอกจากนี้ เครื่องตกรางชนิดครอบรางอาจเป็นชนิดทำงานด้วยมือ มีลักษณะเป็นแท่งครอบไว้ที่ราวข้างหนึ่งของรางรถไฟ และมีป้ายสัญญาณกำกับ
ชนิดรางแยก
[แก้]เครื่องตกรางชนิดนี้มีลักษณะไม่ต่างจากประแจแยก หากแต่ทางที่แยกออกไปขาดออก ทำให้ขบวนรถที่ไม่ได้รับอนุญาตหลุดออกจากรางโดยไม่พลิกคว่ำ นิยมใช้ในสหราชอาณาจักร[5]
-
เครื่องตกรางชนิดรางแยก ที่สถานีบริสตอลพาร์กเวย์
-
เครื่องตกรางชนิดรางแยก ที่สถานีคาสเซิลแครี
-
ทางตันสำหรับดักขบวนรถ
-
เครื่องตกรางชนิดครอบราง
ดูเพิ่ม
[แก้]- แป้นปะทะ (buffer stop)
- ทางดักขบวนรถ (catch point)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kellenberger 1919, p. 208.
- ↑ 2.0 2.1 Kellenberger 1919, p. 203.
- ↑ 3.0 3.1 Adams & Hitt 1912, pp. 195–197.
- ↑ Meyer, J. Joe (March 9, 1978). "Portable derail". US Patent & Trademark Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-22. สืบค้นเมื่อ September 25, 2006.
- ↑ 5.0 5.1 Kellenberger 1919, p. 206.
- ↑ Hayes Track Appliance Co. (1921). "Derails". ใน Howson, E.T.; Lewis, E.R.; Kellenberger, K.E. (บ.ก.). Maintenance of Way Cyclopedia. New York: Simmons-Boardman Publishing Co. p. 704 – โดยทาง Google Books.
- Adams, Braman B.; Hitt, Rodney (1912) [1908]. Railway Signal Dictionary. New York: Simmons-Boardman Publishing Co. – โดยทาง google Books.
- Kellenberger, K.E., บ.ก. (June 1919). "Use of Derails Varies Greatly on Railroads". Railway Signal Engineer. New York: Simmons-Boardman Publishing Co. 12 (6): 203–209 – โดยทาง Google Books.
- Office of the Federal Register, National Archives and Records Administration (October 1, 2002). Code of Federal Regulations: Transportation. Washington, D.C.: Government Printing Office – โดยทาง Google Books.