เกรตเรซิกเนชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกรตเรซิกเนชัน (อังกฤษ: Great Resignation; การลาออกครั้งใหญ่) หรือ บิกควิต (Big Quit; การออกครั้งใหญ่)[2] เป็นแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ซึ่งผู้รับจ้างลาออกโดยสมัครใจเป็นหมู่มาก เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2021 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ แนวโน้มดังกล่าวเข้าใจกันว่าเป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19, การที่รัฐบาลสหรัฐปฏิเสธการรับรองการคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม และ ค่าจ้างที่ไม่ปรับตัวขึ้นตามค่าใช้จ่ายยังชีพที่สูงขึ้นมาก นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนอธิบายว่าเกรตเรซิกเนชันเป็นรูปแบบหนึ่งของการนัดประท้วงหยุดงาน ในบริบทของชุดการนัดประท้วงหยุดงานในเดือนตุลาคม 2021 ที่รู้จักในชื่อสไตรก์ทอเบอร์

คำนี้คิดขึ้นโดยแอนธอนี คลอทซ์ (Anthony Klotz) ศาสตราจารย์และนักจิตวิทยาประจำสถาบันธุรกิจเมย์ส มหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม ผู้ซึ่งทำนายการลาออกครั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม 2021[3][4][5]

สาเหตุ[แก้]

การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้แรงงานมีโอกาสได้พิจารณาอาชีพ, สภาพที่ทำงาน และเป้าหมายระยาวของตนใหม่[6] ในขณะที่ที่ทำงานหลายที่พยายามจะนำพนักงานกลับมาทำงานด้วยตนเอง (in-person) แรงงานกลับมีความปรารถนาจะทำงานจากที่บ้าน โดยเฉพาะจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระบบการสื่อสารทางไกลยังช่วยให้เกิดการจัดตารางที่ยืดหยุ่นได้ อันเป็นสาเหตุหลักให้สามารถค้นหางานใหม่ ๆ ได้ ดังที่รายงานในผลการศึกษาของแบงก์เรตในเดือนสิงหาคม 2021[7] นอกจากนี้ แรงงานจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ยังอายุไม่มากกำลังเสาะหาความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต (work–life balance) ที่ดีกว่า[8]

ภัตตาคาร โรงแรม และอุตสาหกรรมที่แรงงานต้องโต้ตอบกับลูกค้าด้วยตนเอง (in-person interaction) ได้รับผลกระทบหนักสุดจากคลื่นการลาออกครั้งใหญ่นี้[9] เงินอุดหนุนกระตุ้นเศรษฐกิจจากโควิด-19 (COVID-19 stimulus payment) และเงินอุดหนุนสำหรับผู้ว่างงานยังช่วยให้ผู้ที่ต้องประกอบอาชีพรายได้ต่ำเพื่อประทังชีวิตสามารถลาออกจากงานด้วย[9][6][10]

จากการศึกษาของอะโดบีพบว่าคลื่นการลาออกครั้งใหญ่นี้ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นมิลเลนเนียลและเจเนอเรชันเซด ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะไม่พึงพอใจกับงานที่ทำ และพบว่าคนในเจเนอเรชันเซดมากกว่าครึ่งหนึ่งระบุว่ากำลังเสาะหางานใหม่ภายในปีหน้า[11]

อีกทฤษฎีหนึ่งระบุว่าการลาออกครั้งใหญ่เป็นผลจากภาวะทุพพลภาพซึ่งเกิดจากโควิดระยะยาว ส่งผลต่อความสามารถหรือความต้องการที่จะทำงาน[12]

ผลกระทบ[แก้]

สหรัฐ[แก้]

หลักฐานบ่งบอกว่าเกรตเรซิกเนชันเริ่มมีในสหรัฐในเดือนเมษายน 2021 ซึ่งมีรายงานชาวอเมริกัน 4.0 ล้านคนลาออกจากงานภายในหนึ่งเดือน[13][14] ตามด้วย 3.9 ล้านคนในเดือนมิถุนายน 2021[15] การลาออกมีมากเป็นพิเศษในภาคใต้ ซึ่งแรงงาน 2.9% ลาออกจากงานโดยสมัครใจในเดือนมิถุนายน 2021 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการลาออกต่ำสุด อยู่ที่ 2.0% ของแรงงาน[16]

เวิร์กเทรนด์อินเด็กซ์ 2021 (Work Trend Index 2021; ดัชนีแนวโน้มงาน) ของไมโครซอฟต์ระบุว่าแรงงานมากกว่า 40% ทั่วโลกพิจารณาลาออกจากงานในปี 2021[17] ผลการสำรวจของพีดับเบิลยูซีในต้นเดือนสิงหาคม 2021 พบว่า 65% ของพนักงานระบุว่ากำลังหางานใหม่ และ 88% ของผู้บริหารระบุว่าบริษัทของตนกำลังประสบกับการเข้า-ออกงาน (turnover) ที่สูงกว่าปกติ[18]

ยุโรป[แก้]

ผลการสำรวจประชากร 5,000 คนในเบลเยียม ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี โดยบริษัทเอสดี เวิกซ์ พบว่าแรงงานในเยอรมนีมีการลาออกที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด-19 มากที่สุด และมีแรงงาน 6.0% ลาออกจากงาน มากสุดในบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจ[19]

จีน[แก้]

ปรากฏการณ์แบบเดียวกันนี้พบในประเทศจีน รู้จักกันในชื่อ ถั่งปิ๋ง (Tang ping) เริ่มต้นในเดือนเมษายน 2021[20] ประมาณช่วงเดียวกับเกรตเรซิกเนชันในสหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. "JOLTS". Economic Policy Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-12. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  2. Curtis, Lisa. "Why The Big Quit Is Happening And Why Every Boss Should Embrace It". Forbes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.
  3. Cohen, Arianne (May 10, 2021). "How to Quit Your Job in the Great Post-Pandemic Resignation Boom". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2021. สืบค้นเมื่อ July 8, 2021. Ready to say adios to your job? You're not alone. "The great resignation is coming," says Anthony Klotz, an associate professor of management at Texas A&M University who's studied the exits of hundreds of workers.
  4. "Transcript: The Great Resignation with Molly M. Anderson, Anthony C. Klotz, PhD & Elaine Welteroth". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-10-25.
  5. Kaplan, Juliana. "The psychologist who coined the phrase 'Great Resignation' reveals how he saw it coming and where he sees it going. 'Who we are as an employee and as a worker is very central to who we are.'". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-25.
  6. 6.0 6.1 "As The Pandemic Recedes, Millions Of Workers Are Saying 'I Quit'". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27.
  7. Reinicke, Carmen (2021-08-25). "The 'Great Resignation' is likely to continue, as 55% of Americans anticipate looking for a new job". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27.
  8. "What's fueling 'The Great Resignation' among younger generations?". Fortune (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27.
  9. 9.0 9.1 "Hotels And Restaurants That Survived Pandemic Face New Challenge: Staffing Shortages". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27.
  10. "Millions Lose Jobless Benefits Today. It Doesn't Mean They'll Be Rushing Back To Work". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
  11. Smart, Tim (August 26, 2021). "Study: Gen Z, Millennials Driving 'The Great Resignation'". USNews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2021. สืบค้นเมื่อ August 26, 2021.
  12. Beilfuss, Lisa. "Where Are the Workers? Millions Are Sick With 'Long Covid.'". Barrons. Barrons. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.
  13. Liu, Jennifer (2021-06-09). "4 million people quit their jobs in April, sparked by confidence that they can find better work". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
  14. "U.S. job openings, quits hit record highs in April". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  15. Pressman, Aaron; Gardizy, Anissa (2021-06-27). "'A giant game of musical chairs': Waves of workers are changing jobs as the pandemic wanes". The Boston Globe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
  16. "Table 4. Quits levels and rates by industry and region, seasonally adjusted". www.bls.gov (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-10. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  17. "The Work Trend Index: The Next Great Disruption Is Hybrid Work—Are We Ready?". Microsoft.com. Microsoft Corporation. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2021. สืบค้นเมื่อ July 8, 2021. 41% of employees are considering leaving their current employer this year and 46% say they're likely to move because they can now work remotely.
  18. "PwC US Pulse Survey: Next in work". PricewaterhouseCoopers. PwC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
  19. LLB Staff, Reporter (2021-08-11). "Pandemic fuels 'Great Resignation' in UK job market as workforce rethinks career priorities". LondonLovesBusiness. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  20. * Kaplan, Juliana (3 November 2021). "The labor shortage is reshaping the economy and how people talk about work. Here's a glossary of all the new phrases that sum up workers' frustration with their deal, from 'lying flat' to 'antiwork.'". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2021. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.