ข้ามไปเนื้อหา

เกมเล่นตามบทบาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกมอาร์พีจี)

เกมเล่นตามบทบาท หรือ เกมอาร์พีจี (อังกฤษ: role-playing game: RPG) คือเกมประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฎกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้

ในยุคแรกๆเกมเล่นตามบทบาทจะเป็นลักษณะของเกมกระดาน ที่ผู้เล่นจะแบ่งฝ่ายเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้นำในเกม ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านกระดานในเกม ขณะที่ผู้เล่นอีกฝ่ายจะเป็นผู้เล่นต้องสร้างตัวละครและทอยเต๋ากำหนดค่าต่างๆ รวมถึงกระทำตามกฎต่างๆ เช่น การพูดคุยหาข้อมูล, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, การเก็บวัตถุและอาวุธ, เก็บสะสมค่าประสบการณ์และเลื่อนระดับ (เลเวล) จุดเด่นที่ทำให้เกมเล่นตามบทบาทได้รับความนิยม เพราะเกมเล่นตามบทบาทจะมีอิสระในกฎกติกา ทำให้การเล่นในแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับที่ผู้นำเกมเลือก เกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมีมาก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์

เมื่อถึงยุคที่เครื่องเกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เกมเล่นตามบทบาทหลายๆเกมก็พัฒนากลายมาเป็นวิดีโอ

เกมแนวเล่นตามบทบาท โดยยังคงลักษณะเดิมของตัวเกมไว้ เช่น การให้ผู้เล่นสร้างตัวละครขึ้นเอง การต่อสู้ที่อ้างอิงหลักการทอยลูกเต๋า และอิสรภาพในเกม แต่เมื่อความนิยมเกมเล่นตามบทบาทได้เข้าในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดเกมเล่นตามบทบาทแบบญี่ปุ่นขึ้น หรือที่เรียกว่า คอนโซล-โรลเพลย์อิงเกม (Console-Roleplaying Game) ซึ่งจะตัดทอนเสรีภาพในการเล่นลง แต่จะเสริมเนื้อหาที่เรื่องราวและตัวละครให้มากขึ้น ส่วนเกมของฝั่งอเมริกาจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์-โรลเพลย์อิงเกม (Computer-Roleplaying Game) และฝ่ายเกมกระดานก็ถูกเรียกว่า เทเบิ้ลทอป-โรลเพลย์อิงเกม (Tabletop-Roleplaying Game)

ในปัจจุบันคำจัดการความของคำว่า เกมเล่นตามบทบาท หรือ RPG นั้น ในฝั่งประเทศแถบเอเชียจะหมายถึง เกมที่มีการเก็บค่าประสบการณ์, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, ฉากต่อสู้แบบตัดฉากจากฉากสนาม และเนื้อเรื่องที่สวยงามและสนุกสนาน แต่ในเกมฝั่งอเมริกาจะหมายถึง เกมที่มีเสริภาพในการเล่น, การสรรค์สร้างตัวละครได้ตามต้องการ

ในประเทศไทย นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์บางส่วนเรียกเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลว่า เกมภาษา เนื่องจาก ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมเล่นตามบทบาทมีใช้การเลือกคำสั่ง ผ่านบทสนทนาของตัวละคร (ในช่วงแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการดำเนินเกม

ในปัจจุบันถึงแม้ว่าเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลยังเป็นที่นิยม แต่ก็ยังมีการจำหน่ายเกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานอยู่

เกมเล่นตามบทบาทแบบเกมกระดานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ เดียอาโบล และ ดิเอลเดอร์สครอลส์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมโซลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี และ ดราก้อนเควสต์

การดำเนินเรื่อง

[แก้]

เกมเล่นตามบทบาท ส่วนใหญ่จะมีการโต้ตอบระหว่างผู้เล่นเกมกับเกมมาสเตอร์ ให้ผู้เล่นมีการตัดสินใจในการดำเนินเรื่องโดยจะประเมินจาก กฎและแนวทางของเกมนั้น

เนื่องจากเนื้อเรื่องในเกมไม่ใช่ชีวิตจริง จินตนาการจึงมีบทบาทสูงในแนวทางการวางเนื้อเรื่อง ซึ่งจินตนาการนี้เป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมต่อตัวละครในเกมกับผู้เล่นเข้าด้วยกัน ถ้าผู้เล่นไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่อง หรือ ไม่มีจินตนาการในเนื้อเรื่องนั้นๆ อาจทำให้ความรู้สึกในการดำเนินเนื้อเรื่องไม่ราบรื่น หรือทำให้ความสนุกในการเล่นเกมลดลง