อุโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุโลก (ส้มกบ)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Rubiaceae
สกุล: Hymenodictyon
สปีชีส์: H.  orixense
ชื่อทวินาม
Hymenodictyon orixense
(Roxb.) Mabb.
ชื่อพ้อง[1]
ชื่อพ้อง
  • Benteca rheedei Roem. & Schult.
  • Cinchona excelsa Roxb.
  • Cinchona orixensis Roxb.
  • Exostema philippicum Schult.
  • Hymenodictyon excelsum (Roxb.) Wall.
  • Hymenodictyon excelsum (Roxb.) DC.
  • Hymenodictyon excelsum var. canescens Pierre ex Pit.
  • Hymenodictyon excelsum var. subglabrum Pierre ex Pit.
  • Hymenodictyon excelsum var. velutinum Pierre ex Pit.
  • Hymenodictyon rheedei (Roem. & Schult.) M.R.Almeida & S.M.Almeida
  • Hymenodictyon thyrsiflorum Wall.
  • Hymenodictyon utile Wight

อุโลก หรือ ส้มกบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hymenodictyon orixense) เป็นพืชในวงศ์เข็ม มีถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีน ถึงฟิลิปปินส์[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

อุโลกเป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 9–30 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่กว้าง ขนาด 15–22 × 12–30 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลมและหยักเว้า 3–5 แฉก ก้านใบยาว 12–23 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเพศเมียหรือสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ปลายยอดสีส้มแดง ยาว 5–15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบรองดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดขนาด 2 เซนติเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้ 15 อัน อยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน ผลเป็นฝักกลวงขนาด 5–8 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกภายในมี 2 เมล็ด[3]

แหล่งที่พบ[แก้]

อุโลกเป็นพืชที่พบในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายกลางแสงแดดจัด และยังพบตามภูเขาหินปูน อุโลกที่เกิดตามร่องหินปูนจะมีลักษณะลำต้นบิดเบี้ยว ไม่เป็นรูปทรง

การใช้ประโยชน์[แก้]

ราก แก่น และเปลือกต้นใช้แก้ไข้และกระหายน้ำ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือนและไม้อัด[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb. - The Plant List
  2. "Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb". Plants of the World Online - Kew Science. สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.
  3. "เรื่องน่ารู้: อุโลก". เดลินิวส์. February 28, 2019. สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.
  4. "ส้มกบ (Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb.)". ฐานข้อมูล - กรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.[ลิงก์เสีย]
  5. "อุโลก - Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb". อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อุโลก
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hymenodictyon orixense ที่วิกิสปีชีส์