อุมัร ชะรีฟ จูเนียร์
อุมัร ชะรีฟ จูเนียร์ | |
---|---|
ชะรีฟในปีค.ศ. 2014 | |
เกิด | มอนทรีออล รัฐเกแบ็ก แคนาดา | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983
สัญชาติ |
|
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 2000–ปัจจุบัน |
ญาติ | อุมัร อัชชะรีฟ (ปู่) |
อุมัร ชะรีฟ จูเนียร์ (อังกฤษ: Omar Sharif Jr.; 28 พฤศจิกายน ค.ศ.1983) เป็นนักแสดง นายแบบ นักเขียน และ นักเคลื่อนไหวสิทธิเพศทางเลือกชาวแคนาดาและอียิปต์ ที่ขณะนี้อาศัยอยู่ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
ชีวิตเริ่มแรกและการศึกษา
[แก้]ชะรีฟเกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983 ที่เมืองมอนทรีออล รัฐเกแบ็ก ประเทศแคนาดา เขาเป็นหลานชายโดยสายเลือดของ อุมัร อัชชะรีฟ นักแสดงชาวอียิปต์ซึ่งเป็นชาวยิวที่รอดชีวิตจากการฮอโลคอสต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในวัยเด็กเขาต้องใช้ชีวิตแบบโยกย้ายระหว่างเมืองมอนทรีออล, ปารีส และ ไคโร[1] เขาจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยควีนส์, ระดับปริญญาโทสาขาการเมืองเปรียบเทียบจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน และปริญญาสาขาการแสดงจากสถาบัน Lee Strasberg Theatre and Film Institute[2]
การทำงาน
[แก้]ชะรีฟได้เข้าสู่วงการบันเทิงจากการแสดงซีรีย์อียิปต์เรื่อง Wagh el qamar ในปีค.ศ. 2000 ก่อนที่เขาจะได้ไปแสดงซีรีย์แคนาดาภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Virginie ในปีค.ศ. 2005 ถึง 2006 ต่อมาในปีค.ศ. 2008 เขาก็ได้แสดงภาพยนตร์อียิปต์เรื่อง Hassan wa Morcus ก่อนที่ในปีค.ศ. 2016 เขาได้แสดงภาพยนตร์ของไอร์แลนด์เรื่อง The Secret Scripture และในปี ค.ศ. 2017 เขาได้แสดงภาพยนตร์สั้นเรื่อง 11th Hour ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับเลือกให้ฉากในงานเทศกาลภาพยนตร์ TriBeCa Film Festival.[3]
โดยเมื่อเขาได้เริ่มทำอาชีพนักแสดงนั้น อุมัร อัชชะรีฟ ได้กล่าวกับเขาไว้ว่า “ปู่ให้ชื่อของปู่ ปู่ให้ใบหน้าของปู่ ปู่ไม่สามารถให้ทุกอย่างกับหลานได้แล้ว หลานต้องทำมันในแบบของหลานเอง”[4]
ในปี ค.ศ. 2011 เขาได้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรในงานประกาศผลรางวัลรางวัลออสการ์ และได้มีโอกาสขึ้นแสดงบนเวทีร่วมกับเคิร์ก ดักลาส
สำหรับสายอาชีพนายแบบเขาเคยได้รับเลือกให้เป็นพรีเซนเตอร์ของโคคา-โคล่าในประเทศแถบอาหรับทั้งหมด และเคยเป็นนายแบบให้กับคาลวิน ไคลน์ในประเทศอียิปต์ [5]
การเคลื่อนไหว
[แก้]ในปีค.ศ. 2012 ชะรีฟได้ออกมาเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ The Advocate ว่าเขาเป็นเกย์ หลังจากที่คณะรัฐสภาของประเทศอียิปต์ได้อนุมัติให้สามารถจัดการกับบุคคลที่มีความคิดเห็นว่าศาสนาไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเมืองได้โดยทันที ซึ่งเขาได้ออกมาแสดงจุดยืนถึงคำวิสัยทัศน์ที่ว่า “อิสระ ความเท่าเทียมมากกว่านี้ อียิปต์” ซึ่งคำวิสัยทัศน์ดังกล่าวเป็นคำวิสัยทัศน์ที่คนรุ่นใหม่ในอียิปต์บางส่วนยึดถือและออกมาประท้วงในเหตุการณ์การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554 ที่จัตุรัสทาห์รีร์ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวมีคนที่ถูกสังหารและถูกจับกุม[1][6][7] จากคำกล่าวของเขาในการที่เขาเป็นบุคคลสาธารณะคนแรกของแถบประเทศอาหรับที่กล้าออกมาเปิดเผยว่าเป็นเกย์ ทำให้เขาได้ถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และทำให้เขาได้รับคำขู่ต่างๆมากมาย[1]
ในปีค.ศ. 2013-2015 เขาได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของประเทศในการออกมาพูดเกี่ยวกับเพศทางเลือกเพศให้กับงาน Gay and Lesbian Alliance Against Defamation (GLAAD) ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 เขาได้รับการรับเลือกให้ไปเป็นนักจัดการกิจการชุมชน โดย Ian Reisner นักพัฒนาชาวนิวยอร์ก[8] และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันเขาได้ออกมาเปิดเผยว่าอุมัร อัชชะรีฟ คุณปู่ของเขาได้รับรู้เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศของเขาและท่านไม่ได้มีปัญหากับมัน ชะรีฟยังหวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะสามารถเปลี่ยนมุมมองของคนอียิปต์ต่อเพศทางเลือกได้โดยเขาได้กล่าวว่า “ผมเป็นลูกชาย ผมเป็นพี่ชาย/น้องชาย ผมเป็นเพื่อนร่วมงาน ผมเป็นเพื่อน ผมไม่ใช่ความจริง ไม่ใช่รูปปั้น ไม่ใช่ตัวเลขสถิติอะไร ผมก็ไม่ใช่คำคม หรือประเด็นที่เอาไว้โต้เถียงในทางจริยธรรมและความเหมาะสมด้วย”[9]
ในปีค.ศ. 2016 เขาได้มีโอกาสไปกล่าวสุนทรพจน์ในงาน Oslo Freedom Forum โดยเขาได้ออกมาพูดเกี่ยวกับประเด็นการที่เขาออกมาเปิดเผยรสนิยมทางเพศในช่วงของเหตุการณ์อาหรับสปริง และการที่เขาเคยคิดจะอัตวินิบาตกรรมตนเอง[7][10]
ในปีค.ศ.2019 หลังจากที่สุลต่านแห่งบรูไนได้ออกร่างผ่านกฎหมายปาก้อนหินกำลังบุคคลเพศทางเลือกในเดือนเมษายน[11] ชะรีฟได้ออกมาท้าทายกับสุลต่านว่าหากท่านได้สังหารบุตรชายของท่านที่เป็นเพศทางเลือกด้วย ผมก็จะทำการอัตวินิบาตกรรมตนเองเหมือนกัน[12]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เขาได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ไคโร ประเทศอียิปต์ จนกระทั่งในปีค.ศ. 2012[1] แต่หลังจากสถานการณ์อียิปต์ใหม่ในประเทศ[1] ทำให้เขาตัดสินใจย้ายประเทศ โดยปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงานการแสดง
[แก้]โทรทัศน์
[แก้]ปี | ชื่อเรื่อง | บทบาท | ช่อง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2020 | Beauty and the Baker | George - Hollywood Agent | Keshet Studios | (20 ตอน) |
2018 | Mélange | Zayn Hadid | Pilot | (1 ตอน) |
2017 | The Naked Truth | Himself - Narrator | Fusion TV | China Queer (1 ตอน) |
2015 | Cocktails & Classics | Himself | Logo TV | Funny Girl (1 ตอน) |
2011 | Pânico na TV | Himself | RedeTV! | (1 ตอน) |
2011 | 83rd Academy Awards | Himself - Trophy Presenter | ABC | (ตอนพิเศษ) |
2005-06 | Virginie | Oliver Briscbois | Télévision de Radio-Canada | (30 ตอน) |
2000 | Wajh al-Qamar | Amun | Multiple Arabic TV-Channels | (16 ตอน) |
ภาพยนตร์
[แก้]ปี | ชื่อเรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2016 | The Secret Scripture | Daniel O'Brien | [13] |
2016 | The Traveller | [14] |
ผลงานการเขียน
[แก้]- A Tale of Two Omars: A Memoir of Family, Revolution, and Coming Out During the Arab Spring (5 ตุลาคม, 2021), ISBN 978-1-640-09498-7
รางวัลและการยอมรับ
[แก้]ในปีค.ศ. 2012 เขาได้ถูกการยอมรับให้เป็นหนึ่งใน “Out 100”[5] นอกจากนี้เขายังได้เป็นหนึ่งใน "40 Under 40" ในปีค.ศ. 2014 และ 2015 ซึ่งจัดอันดับโดยหนังสือพิมพ์ The Advocate และในปี ค.ศ. 2016 เขาได้รับรางวัลจากนิตยสาร Attitude ในสาขา 'Inspiration Award'[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Chambers, Levi; Reynolds, Daniel (2016-05-17). "Coming Out Story: We're Not in Cairo Anymore". The Advocate. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
- ↑ Farrell, Paul. "Omar Sharif Junior: 5 Fast Facts You Need to Know". Heavy. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
- ↑ Rothe, Nina. "Uniting Humanity". Huffpost. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
- ↑ Kilday, Greg (2015). "Omar Sharif Jr. on His Grandfather: Trips to the Oscars and Pies in the Face". the Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 17 May 2016.
- ↑ 5.0 5.1 "Out100: Omar Sharif Jr". Out Magazine. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
- ↑ Fisher, Gabe. "Omar Sharif Jr: I'm gay and Jewish". Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 17 May 2016.
- ↑ 7.0 7.1 Steinbach, Jesse (2016-06-16). "Omar Sharif Jr. on Coming Out: 'I Had Suicidal Thoughts…Then Something Wonderful Happened'". Out. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
- ↑ Johnson, Richard. "Gay hotelier hires Omar Sharif Jr. to save him". Page Six. สืบค้นเมื่อ 17 May 2016.
- ↑ McCormick, Joseph. "Omar Sharif Jr: My grandfather didn't care that I'm gay". Pink News. สืบค้นเมื่อ 17 May 2016.
- ↑ "Coming out in the middle of a Revolution 2016". Oslo Freedom Forum. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017.
- ↑ "Brunei implements stoning to death under anti-LGBT laws". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
- ↑ Browning, Bil (2019-04-09). "Omar Sharif Jr. challenges Sultan of Brunei to execute his son if gays should be stoned to death". LGBTQ Nation. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
- ↑ IMDb. "The Secret Scripture". IMDb. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ IMDb. "The Traveller". IMDb. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ "Attitude's Inspiration Award winner: Omar Sharif Jr". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.