อุชชยันตปราสาท

พิกัด: 23°30′04″N 91°09′57″E / 23.5010°N 91.1657°E / 23.5010; 91.1657
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุชชยันตปราสาท
Nuyungma[1]
ฟาซาดของพระราชวังอุชชยันตะ
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1901 (1901)
ที่ตั้งอัครตละ รัฐตริปุระ ประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์23°30′04″N 91°09′57″E / 23.5010°N 91.1657°E / 23.5010; 91.1657
ประเภทพิพิธภัณฑ์ประจำรัฐ
ผู้ก่อตั้งมหาราชา ราธา กฤษัร มณิกยะ
สถาปนิกเซอร์อาเล็กซันเดอร์ มาร์ติน (Martin and Burn Co.)

อุชชยันตปราสาท (เบงกอล: উজ্জয়ন্ত প্রাসাদ; แม่แบบ:IPA-bn) หรือ พระราชวังหลวงอุชชยันตะ (อังกฤษ: Ujjayanta Palace)[2] เป็นอดีตพระราชวังหลวงของอาณาจักรตริปุระ สร้างขึ้นโดยมหาราชา ราธา กฤษัร มณิกยะ ในปี 1901 และมีรวินนทรนาถ ฐากุร เป็นผู้ตั้งชื่อให้[3] อาคารถูกใช้งานเป็นสภานิติบัญญัติรัฐจนถึงปี 2011 ในปัจจุบันอาคารใช้งานเป็นพิพิธภัณฑ์รัฐตริปุระ[4]

อาคารก่อสร้างขึ้นในระหว่างปี 1899 ถึง 1901[3] บนชายฝั่งของทะเลสาบสองแห่ง ล้อมรอบด้วยสวนที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบอย่างยุโรป เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของตระกูลมณิกยะซึ่งเป็นผู้ปกครองแห่งตริปุระ กระทั่งตริปุระรวมเข้ากับอินเดียในปี 1949 รัฐบาลรัฐตริปุระซื้ออาคารนี้จากตระกูลมณิกยะในปี 1972–73 ด้วยราคา 2.5 ล้านรูปี ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์รัฐตริปุระตั้งอยู่ในตัวอาคาร และมีจัดแสดงวิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม หัตถกรรมของชุมชนในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ[5][4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

พระราชวังอุชชยันตะสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1862 ห่างไปจากเมืองอัครตละ 10 km (6 mi) โดยมหาราชาอิศาน จันทระ มณิกยะ (Ishan Chandra Manikya, 1849–1862) อาคารพังทลายลงหลังเกิดแผ่นดิไหวเมื่อ 12 มิถุนายน 1897 ในรัฐอัสสัม[6] ต่อมา มหาราชาราธา กฤษัร มณิกยะ ได้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ในปี 1899–1901 ในเมืองอัครตละ ด้วยราคามากกว่า 1 ล้านรูปี โดยว่าจ้างให้มาร์ตินแอนด์เบิรน์ โค เป็นผู้ก่อสร้าง[7]

ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านเป็นพิพิธภัณฑ์ พรรคชาตินิยมชนพื้นถิ่นตวิประ (INPT) ได้เขียนจดหมายร้องเรียนไปยังรองประธานาธิบดี ฮามิด อันซารี เรียกร้องให้รัฐบาลถอนข้อเสนอในการเปลี่ยนชื่อจากอุชชยันตปราสาท เป็นพิพิธภัณฑ์รัฐตริปุระ โดยระบุว่าชื่อของพิพิธภัณฑ์ควรสะท้อนถึงวัฒนธรรมของภูมิภาค[8][9] ปราทยุต วิกรม กฤษัร เทพพรม (Pradyut Bikram Kishore Debbarma) ผู้สืบเชื้อสายจากมหาราชาแต่งตริปุระระบุว่า "วังนี้เป็นโบราณสถาน ไม่ได้เป็นของราชวงศ์แห่งตริปุระแต่เพียงผู้เดียว และก็ไม่ได้เป็นของรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียวเช่นกัน" ดังนั้น "ใครบางคนรัฐบาลมิอาจตัดสินใจเปลี่ยนชื่อของวังนี้ได้ตามใจ"[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Nuyungma". Tripura Tourism.
  2. Nath, Abhijit (November 23, 2022). "Tripura: Ujjayanta Palace To Get Major Facelift In Next Year Under Agartala Smart City Project". Northeast Today. Website. สืบค้นเมื่อ 17 December 2022.
  3. 3.0 3.1 "Incredible India | Ujjayanta Palace". www.incredibleindia.org. สืบค้นเมื่อ 2023-01-06.
  4. 4.0 4.1 "Tripura Royal Palace Nuyungma".[ลิงก์เสีย]
  5. "Historical sites to explore in northeast India | Times of India Travel". timesofindia.indiatimes.com. สืบค้นเมื่อ 2023-01-06.
  6. "Historic Earthquakes". Earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.
  7. Sujit Chakraborty (24 September 2013). "Tripura's royal mansion to house northeast's biggest museum". Newindianexpress.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-25. สืบค้นเมื่อ 1 August 2016.
  8. Sekhar Datta (20 September 2013). "History finds royal quarters". Telegraphindia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.
  9. Press Trust of India (17 September 2013). "Tribals protest renaming of Tripura palace". business-standard.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2016.
  10. K Anurag (23 September 2013). "Tripura govt relents to mass protests against renaming of palace". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.